Home > Events > สร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางเพศผ่านงานศิลป์กับ นิทรรศการ #LGBTQ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย
art1
Art & Design

สร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางเพศผ่านงานศิลป์กับ นิทรรศการ #LGBTQ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย

Nov 25, 2019

เป็นงานที่ต้องบอกว่าเปิดกว้างในการแสดงออกด้านความหลากหลายทางเพศ ที่รวบรวมเหล่าอาร์ติสคนสำคัญ ให้มาร่วมรังสรรค์ผลงานศิลปะที่มีความร่วมสมัย และส่งต่อความหมาย รวมทั้งยังเป็นการแสดงจุดยืนว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมรณรงค์ให้เปิดกว้างสำหรับกลุ่ม LGBTQ – Lesbian Gay Bisexual Transsexual and Queer หรือผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง สำหรับงานนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ (SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia)

คณะผู้บริหาร ผู้จัดงานถ่ายภาพร่วมกับเหล่าศิลปินที่ร่วมนำผลงานมาจัดแสดงในงานนิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ (SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia)

ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวจะเป็นแหล่งรวมศิลปะร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดซึ่งสะท้อนประเด็นเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ – Lesbian Gay Bisexual Transsexual and Queer) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียง ประกอบด้วยผลงานจากศิลปิน 59 ท่านจาก 15 ประเทศและเขตบริหารพิเศษ ซึ่งในวันเปิดงานเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้รับเกียรติจากเหล่าศิลปิน และเซเลบริตี้เข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการกันอย่างคับคั่ง

สำหรับผลงานไฮไลต์ในงาน ได้แก่ ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อนิทรรศการนี้ โดยศิลปินชื่อดังอย่าง Balbir Krishan, อริญชย์ รุ่งแจ้ง, Anne Samat, จักกาย ศิริบุตร รวมถึงงานชิ้นสำคัญโดย Dinh Q. Lê, David Medalla, Ren Hang, Danh Vō และอีกหลายศิลปิน

 

ผลงาน Opal’s World,2019 โดย คุณกฤษฎางค์ อินทะสอน

ผลงาน Opal’s World,2019 โดย คุณกฤษฎางค์ อินทะสอน

เริ่มกันที่ผลงาน Opal’s World,2019 โดย คุณกฤษฎางค์ อินทะสอน ที่นำเสนองานภาพเขียนที่จัดวางเป็นปราการวงกต สะท้อนทั้งภายใน และภายนอกของตัวเอง ภาพภายนอกสะท้อนถึงสิ่งที่เป็นดั่งเปลือกที่ต้องการให้คนภายนอกรับรู้ แต่ภายในนั้นกลับสะท้อนภาพของเด็กผู้ชายตัวเล็กๆคนหนึ่งที่ซุกซ่อนความเป็นเด็กไร้เดียงสาอยู่ภายใน สิ่งที่ไม่อาจแสดงออกมาให้คนอื่นได้รับรู้

 

ผลงาน Ignorant Bond,2017 โดยคุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์

ห้องจัดแสดงผลงานภาพถ่ายของ คุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์
ผลงาน Cushing Out My Confession,2015 โดย คุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์
ผลงาน Ignorant Bond,2017 โดยคุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์

มาถึงห้องจัดแสดงผลงานภาพถ่ายของ คุณนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของชาว LGBTQ สื่อสารผ่านดอกไม้ ความแตกสลาย ความสวยงาม ความเปราะบาง โดยเป็นเรื่องราวจากประสบการณ์ความยากในการผ่านเรื่องราว หรือจุดที่ตัวเองต้องเผชิญกับคำถามที่ว่า “ฉันเป็นเพศอะไร?” โดยการกลับไปหาบุคคลที่เคยให้คำปรึกษา และถ่ายภาพเพื่อเล่าเรื่องราว ความสวยงามที่ถูกเยียวยาจากบุคคลเหล่านั้น รวมถึงการนำดอกชบา สายพันธฺา์ต่างๆที่มีกว่า 50 ชนิดมาเป็นตัวกลางในการอธิบายความสัมพันธ์และความหลากหลายทางเพศ

 

ผลงานภาพถ่าย Thoamada,2011 โดย คุณลีโน วุธ

ผลงานภาพถ่าย Thoamada,2011 โดย คุณลีโน วุธ

หลายประเทศยังไม่เข้าใจถึง LGBT อย่างชัดเจน ทำให้ผลงานภาพถ่าย Thoamada,2011 โดย คุณลีโน วุธ ศิลปินชาวกัมพูชาเลือกให้ผลงานชิ้นนี้เป็นอีกหนึ่งสื่อในการสร้างความเข้าใจ โดยทำกิจกรรมเวิณืคช้อปร่วมกับชาวเกย์ ชาวไบเซ็กชวลในกัมพูชาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเพศ หลังจากนั้นให้ทุกคนร่วมกันแสดงออกผ่านการเขียนสีลงบนใบหน้าของตนเอง จัดเรียงออกมาเป็นวงกลมที่ผู้ชมสามารถชมได้แบบ 360 องศาทั้งจากภายใน และภายนอก เพื่อต้องการให้ทุกท่านได้สลับบทบาท และทำความเข้าใจทั้งในสถานะของผู้เฝ้ามอง และผู้ถูกมอง

 

ผลงาน Installation : Visible Woman,2018 โดย คุณเจส ฟาน

ผลงาน Installation : Visible Woman,2018 โดย คุณเจส ฟาน

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทีบทบาทเปลี่ยนแปลงได้แม้กระที่งธรรมชาติ ทำให้ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากความเปลี่ยนแปลงในเนื้อแท้ของคน ซึ่ง คุณเจส ฟาน ศิลปินชาวฮ่องกงถ่ายทอดผ่านผลงาน Installation ที่ชื่อว่า Visible Woman,2018 โดยนำโมเดลกายวิภาคมาดัดแปลง โดยจัดวางให้เหนือธรรมชาติ เพื่อสื่อถึงความเหมือนกันของคน ที่ไม่ว่าจะมีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศใดก็ล้วนแต่มีธรรมชาติที่เหมือนกัน

 

ผลงาน Conundrum Ka Sorga โดยศิลปินชาวมาเลเซีย, คุณแอนน์ แซมัท

ผลงาน Conundrum Ka Sorga โดยศิลปินชาวมาเลเซีย, คุณแอนน์ แซมัท

การผสมผสานของงานศิลปะ ชายกระโปรงลากหางยาว ที่แต่ละเส้นสายเป็นตัวแทนแทบสีทั้ง 6 ของชาว LGBT อันเป็นสัญลักษณ์ของธง Gay Pride  ส่วนบนที่ชัดเจนด้วยสีสันที่ฉูดฉาด แต่ปลายกลับโดนย้อมเป็นสีขาว-ดำ ที่แสดงถึงความโศกเศร้าที่ซ่อนอยู่ของชาว LGBT ความเยอะของชุดที่ประดับตกแต่งด้วยลูกปัดและสิ่งต่างๆ ต้องการแสดงถึงความไม่เท่าเทียมของชนชั้น ซึ่งไม่ว่าจะแตกต่างเพียงใด สักวันกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศก็จะผงาดขึ้นเยี่ยงหงส์

ผลงาน Conundrum Ka Sorga โดยศิลปินชาวมาเลเซีย, คุณแอนน์ แซมัท

นอกจากนี้งานนี้นิทรรศการครั้งนี้ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นบทสนทนาในเรื่องความหลากหลายทางเพศ ที่ล้วนสัมพันธ์กับความแตกต่างด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ และการเมืองแล้ว สื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติได้ร่วมกิจกรรมนำชมโดยภัณฑารักษ์ พบปะศิลปิน และยังได้ร่วมตื่นตาตื่นใจไปกับการแสดง Land of a Thousand Rainbows จาก 6 ศิลปิน นำโดย Ming Wong, Amadiva, Bradd, Radha, Tamarra และ Josh Serafin และปิดท้ายด้วยการชักชวนเหล่าศิลปินและผู้ร่วมงานร่วมเย็บปักบนผลงาน A Stitch In Time ของศิลปิน David Medalla

ผลงานภาพถ่าย Thunderclap โดย Adam Hague
ผลงาน Celebrated Phenomenal of Colors,2010-2019 โดยคุณอังกฤษ อัจฉริยโสภณ
ผลงาน Snake Charmer โดย คุณราเมช มาริโอ นิธิเยนดรัน ศิลปินชาวศรีลังกา
ผลงาน Quilt Project,2019 โดย คุณจักกาย ศิริบุตร

 

ผลงาน Buck of Freedom,2015 โดย Hsi Shih-Pin ศิลปินชาวไตหวัน
ผลงาน Monstrous Monstrance,2018 โดยคุณเถกิง พัฒโนภาษ
ผลงาน Mi Vida Loca,1991. โดย Martin Wong

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงานนิทรรศการสนทนาสัปตสนธิ ๒ ไตร่ถาม: ความหลากหลายในอุษาคเนย์ SPECTROSYNTHESIS II– Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia  นิทรรศการ #LGBTQ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ได้ที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7- 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ***เข้าชมฟรี

จัดแสดง : 23 พฤศจิกายน 2562 –1 มีนาคม 2563 เวลาเปิดทำการ: 10:00– 21:00 (ยกเว้นวันจันทร์)

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.