โรคออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดเมื่อย อันเนื่องมากจาก การใช้งานกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ทำท่าทางในลักษณะเดิมต่อเนื่อง เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี- ก็อาจเกิดอาการเรื้อรัง ลุกลามมากยิ่งขึ้นในภายหลังได้ โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่พบได้มาในกลุ่มคนวัยทำงาน โดยฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทุกวัน เป็นเวลานานตลอดทั้งวัน การป้องกัน และบรรเทาอาการ จึงเริ่มต้นได้จากการปรับเปลี่ยนท่านั่ง ให้เหมาะสมกับสรีระของเรานั่นเอง

ท่านั่งที่เหมาะสม
- นั่งตัวตรง หลังตรง ไม่ค่อม ไม่ห่อไหล่ คอตั้งตรง ไม่ยื่นหน้า
- เลือกเก้าอี้ ที่มีการซัพพอร์ทหลัง และคอ เพื่อช่วยพยุง ไม่ให้กล้ามเนื้อ ทำงานหนักจนเกินไป
- ควรสลับมาพักผ่อน ยืดเส้นยืดสายบ้าง ทุก 30 นาที
- วางแขนบนที่วางแขน ในระดับที่สามารถพิมพ์งานได้ โดยที่ไหล่ไม่ยกขึ้น ข้อศอกงออยู่ในระดับประมาณ 90-120 องศา เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีแรงกดน้ำหนักเกิดขึ้นกับไหล่ ข้อมือ และข้อนิ้ว
- แป้นพิมพ์ อยู่ในระดับต่ำเล็กน้อย เพื่อไม่ต้องยกแขนขึ้นไปพิมพ์
- ตั้งจอคอมพิวเตอร์ ให้ขอบด้านบน อยู่ในระดับสายตา เพื่อป้องกัน ไม่ให้ก้มหน้า มองจอคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ต่ำจนเกินไป
- หากใช้โน้ตบุ๊กเป็นประจำ ควรใช้คีย์บอร์ดแยก และยกจอโน้ตบุ๊คให้อยู่ในระดับสายตา
- ปรับความสูงของเก้าอี้ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้หัวเข่า อยู่ในระดับเดียวกับสะโพก เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก
- ข้อเท้า ควรวางอยู่บนพื้นในระดับ 90 องศา ไม่ควรจะงอ หรือลอย ถ้านั่งแล้วข้อเท้าลอย ควรหาเก้าอี้ขนาดเล็กมารองเท้าเอาไว้ เพื่อไม่ให้รู้สึกตึง หรือเกร็งที่บริเวณน่อง
- สิ่งของบนโต๊ะ ควรอยู่ในระยะที่หยิบถึง โดยไม่ต้องโน้มตัว หรือเอื้อมมือออกไปหยิบ
หากปรับเปลี่ยนท่านั่ง และพฤติกรรมแล้ว ยังมีอาการ หรืออาการที่มีอยู่เดิมยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ เพื่อประเมินอาการ และรับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการ และป้องกัน ไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง จนยากที่จะรักษา
อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพและความงามได้ที่ Hello!