Home > Beauty & Health > Health & Wellness > 7 ขั้นตอนสร้างชีวิตใหม่ด้วยเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้ว โดย ‘แพทย์หญิงจริยา หล่อวัฒนศิริกุล’

เพราะปัญหาการมีบุตรยากถือเป็นปัญหาต้นๆ ของคู่สมรสในยุคปัจจุบัน ทำให้ทุกวันนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์จึงได้คิดค้นการรักษามาหลากหลายรูปแบบเพื่อมาตอบโจทย์ปัญหานี้ และหนึ่งในนั้นคือ ‘การทำเด็กหลอดแก้ว’ หรือ IVF Laboratory ที่เชื่อว่าหลายคนต่างคุ้นหูกับชื่อนี้ นั่นก็คือการสร้างชีวิตใหม่ในขั้นตอนง่ายๆ เพียง 7 ขั้นตอนเท่านั้น 

‘แพทย์หญิงจริยา หล่อวัฒนศิริกุล’ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ประจำคอนราดี เอ.อาร์.ที. คลินิก

‘แพทย์หญิงจริยา หล่อวัฒนศิริกุล’ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดและเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ประจำคอนราดี เอ.อาร์.ที. คลินิก (Conrady A.R.T. Clinic)  จึงขอมาเป็นผู้เล่าถึงผลลัพธ์ความสำเร็จและความสมหวังแก่คู่สมรสจากเทคโนโลยีเด็กหลอดแก้วใน 7 ขั้นตอนด้วยตัวเอง

“เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นการเอาเซลล์สืบพันธุ์ของผู้หญิงนั่นก็คือเซลล์ไข่ ส่วนของผู้ชายคือเซลล์อสุจิหรือสเปิร์ม มาช่วยทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ซึ่งก็คือในห้องแล็บโดยนักวิทยาศาสตร์ เลยทำให้ถูกเรียกว่า ‘เด็กหลอดแก้ว’ นั่นเอง

 

1.พูดคุยให้คำปรึกษา 

“เริ่มต้นจากการพูดคุยกับคนไข้ก่อนว่า ปัญหาการมีบุตรยากนั้นเกิดจากอะไร หลังจากพูดคุยและหาสาเหตุได้แล้วก็จะมาวางแผนการรักษากัน เป็นการซัพพอร์ตตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุ ดูความต้องการของคู่สมรสคู่นั้นๆ หาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ไลฟ์สไตล์ที่ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งบางรายต้องเตรียมตัวล่วงหน้า 1-2 เดือนเพื่อให้คุณภาพของไข่กับอสุจิดีขึ้น แต่บางรายก็เริ่มต้นได้เลย และในขั้นตอนนี้จะมีการคุยเรื่องค่าใช้จ่าย ภาวะแทรกซ้อน โอกาสของความสำเร็จด้วย” 

 

2. การกระตุ้นไข่ 

“สำหรับในคนไข้ที่ต้องทำเด็กหลอดแก้วเราจะต้องฉีดยาเพื่อกระตุ้นไข่เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมากพอสมควร เป็นขั้นตอนการวางแผนโปรแกรมฉีดยาค่ะ หลังการฉีดก็จะมีการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่ด้วยการเจาะเลือด วัดระดับฮอร์โมน อัลตร้าซาวน์วัดขนาดฟองไข่ กระทั่งเมื่อไข่โตสมบูรณ์ดีก็ทำการฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตกสำหรับเก็บไข่ คนไข้ก็จะได้รับการนัดหมายมาทำการเก็บไข่”

การดูดฟองอากาศ ในขั้นตอนของการเก็บไข่
ขั้นตอนการเก็บไข่

3. การเก็บไข่ 

“จะเป็นการใช้เข็มเล็กๆ แทงเข้าไปในฟองไข่แล้วดูดน้ำออกมาค่ะ โดยหมอก็ส่งน้ำดูดจากฟองไข่นี้ให้กับทางห้องแล็บเพื่อไปตรวจต่อไป” คุณหมอบอกว่าในขั้นตอนนี้จะต้องดมยาสลบที่เป็นลักษณะเหมือนหลับลึกโดยมีวิสัญญีแพทย์ดูแลเพื่อความปลอดภัย ขั้นตอนนี้ใช้เวลาราว 10-15 นาที 

การช่วยปฏิสนธิในห้องแล็บ

4. การช่วยปฏิสนธิในห้องแล็บ 

“ขั้นตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการเลี้ยงไข่ แล้วก็เตรียมอสุจิของฝ่ายชายให้พร้อมเพื่อไปทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ด้วยการช่วยคัดเลือกตัวที่แข็งแรงที่สุดมาทำการปฏิสนธิ โดยอาจทำ IVF ให้อสุจิผสมกับไข่เองเหมือนวิธีธรรมชาติ หรืออาจฉีดเข้าไปในไข่เลยหรือที่เรียกว่า ICSI (Intracytroplasmic Sperm Injection) จากนั้นเลี้ยงตัวอ่อนในตู้อบติดตามการเจริญเติบโตเป็นระยะๆ”

 

5. การเลี้ยงตัวอ่อน 

“นักวิทยาศาสตร์จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงระยะฝังตัวหรือที่เรียกว่า Blastocyst เป็นระยะตัวอ่อนพร้อมฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก (ระยะเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน) ซึ่งถือเป็นระยะที่ตัวอ่อนแข็งแรงที่สุดในการเข้าไปฝังตัวในมดลูกของว่าที่คุณแม่”

 

6. ขั้นตอนทางเลือกสำหรับคู่สมรส 

“สำหรับคู่สมรสบางรายอาจมีข้อบ่งชี้ในการตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เช่น ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ขึ้นไปมีโอกาสที่ลูกเกิดเป็นดาวน์ซินโดรมหรือโครโมโซมผิดปกติอื่นๆ หรือคู่เสี่ยงที่เป็นโรคทางพันธุกรรมก็สามารถถ่ายทอดไปให้ลูกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย ฯลฯ ในขั้นตอนจึงจะเป็นขั้นตอนทางเลือกว่าคู่สมรสนั้นต้องการตรวจภาวะเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวหรือไม่นั่นเอง เพราะในบางคนอาจไม่จำเป็นต้องทำการคัดเลือกโครโมโซมก็ได้” 

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก

7. การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก 

“จะเป็นขั้นตอนที่มีการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมกับการย้ายตัวอ่อนกลับไป ซึ่งจากวันที่สามารถย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกแล้ว ประมาณสัก 8 วันก็สามารถตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์ได้ว่าเกิดการฝังตัวของตัวอ่อนหรือไม่ ถ้าสำเร็จก็เข้าสู่การดูแลภาวะการตั้งครรภ์ของว่าที่คุณแม่ต่อไป” 

นี่คือ 7 ขั้นตอนของการทำหลอดแก้วที่แพทย์หญิงจริยาพูดถึงเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วว่า “อัตราความสำเร็จบอกเลยค่ะว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละคู่สมรส ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เพราะว่าอายุของคุณแม่ อายุของคุณพ่อ และสาเหตุการมีบุตรยากไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วการทำเด็กหลอดแก้วนั้นมีอัตราความเฉลี่ยสำเร็จอยู่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่ต้องระวังคือ การทำเด็กหลอดแก้วจะมีภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน คำแนะนำเบื้องต้นในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว หากมีอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยควรจะสอบถามคุณหมอที่ดูแลรักษา จะได้สามารถและแนะนำหรือแก้ไขได้ทันท่วงทีค่ะ 

“สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยากในทุกขั้นตอนของคอนราดี เอ.อาร์.ที. คลินิก เราพร้อมที่จะมีส่วนร่วมกับทุกคู่สามี-ภรรยาเพื่อเอาชนะอุปสรรคแก้ปัญหาการมีบุตรยากภายใต้บริการแบบ patient-centric care คือมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการรักษา ที่มีข้อดีตรงที่คนไข้ตัดสินใจเลือกวิธีหรือทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเขาจริงๆ ไม่ได้เลือกเพราะหมอบอกให้ทำ เกิดการมีส่วนร่วมที่ดีกว่า ทำให้ผลลัพธ์การรักษาเพิ่มความสำเร็จขึ้นได้ค่ะ” 

คอนราดี เอ.อาร์.ที. คลินิก Conrady A.R.T. Clinic152 อาคารเคี่ยนหงวนเฮ้าส์ 3 ชั้น 3 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Tel.  +66 2494 8320 WeChat / Line ID: conrady_art_clinic , E-Mail:  service@conrady.co.th

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.