กรดไหลย้อน อาการ แสบร้อนทรวงอก โรคยอดฮิต ของคนวัยทำงาน ที่หลายคนเคยเจอ หรือกำลังเผชิญอยู๋ ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิต และวิถีชีวิตที่เร่งรีบ จนทำให้เรา เกิดความเครียด ไม่มีเวลารับประทานอาหาร หรือจำเป็นต้องรับประทานอาหาร ไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดโรคร้าย กวนใจตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคือ “กรดไหลย้อน” นั่นเอง

อาการที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน อาการ ที่ควรสังเกต เพื่อดูว่าเรากำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ ได้แก่
- รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก และคอ มักเกิดหลังจากเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จ หรือโน้มตัวไปข้างหน้า ยกของหนัก และนอนหงาย
- รู้สึกเปรี้ยว หรือขมในปากและคอ
- มีอาหารไหลย้อนขึ้นมา ในปากและคอ มีอาการเรอ
- รู้สึกจุกเสียด แน่นบริเวณลิ้นปี่
- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
- รู้สึกเจ็บหน้าอก (ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใ)จ
- เสียงแหบเรื้อรัง หรือเสียงเปลี่ยน เนื่องจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา บริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง
- ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุ
- กลืนอาหารไม่สะดวก เหมือนมีก้อนจุกในคอ
- มีอาการผิดปกติทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก
สาเหตุที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น นอนทันที หลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารมากเกินไป การรับประทานอาหารไขมันสูง การดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ความเครียด
- การสูบบุหรี่
- โรคอ้วน หรือภาวะอ้วน จะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร และทำให้กรดไหลย้อนกลับ
- การตั้งครรภ์ ทำให้ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจนทำให้หูรูด หลอดอาหารอ่อนแอลง และมดลูกขยายตัว เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
- หูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร มีความดันของหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าปกติ
- การบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติ ทำให้อาหารไหลลงช้า หรือไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหาร
- กระเพาะอาหารบีบตัวผิดปกติ ทำให้อาหารค้าง อยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ กรดในกระเพาะอาหาร จึงอาจไหลย้อนของสู่หลอดอาหาร
วิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน
ปรับพฤติกรรม การรับประทานอาหาร เปลี่ยนจากการรับประทานอาหารมื้อเย็น ปริมาณมาก เป็นการรับประทานอาหารปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้ง ไม่ควรนอนทันที หลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงค่อยเข้านอน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ พยายามคลายเครียด ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูป หรือรัดเข็มขัด แน่นจนเกินไป และควรควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป
วิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน
ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานยาเคลือบ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดการหลั่งกรด ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร รวมไปถึงการผ่าตัดตามดุลยพินิจของแพทย์
อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น สุขภาพ และความงามได้ที่ Hello!