ประโยชน์จาก ‘ชาเขียว’ กับเคล็ดลับดื่มชาอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลภาวะอัลไซเมอร์!!!
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาผิวแห้ง หยาบกร้าน ริ้วรอย และความเหี่ยว หย่อนคล้อยตามวัยก็เริ่มถามหา นวัตกรรมความงามมีส่วนช่วยในการดูแลปัญหาเรื่องความสวยความงามให้กลับมาดูสวยเนียน เด้ง อ่อนกว่าวัยได้ไม่ยาก แต่….ปัญฆาสุขภาพนี่ล่ะสิคะที่น่าเป็นหัว เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อีกหนึ่งภาวะที่ใครต่อใครต่างเป็นกังวลนั้นก็คือการป่วยเป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์ วันนี้ HELLO! ขอเอาใจคอชา ดื่มชาอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลภาวะอัลไซเมอร์
(อ่านเพิ่มเติม : เจ้าหญิงเสวยอะไร? เผยอาหารโปรดส่วนพระองค์ ของ เจ้าหญิงยูจีนี)
สำหรับใครที่ชอบดื่มชาก็คงต้องยิ้มแก้มปริเลยล่ะค่ะ เพราะชาเขียวที่เราดื่มๆกันอย่างชื่นใจนั่นมีผลวิจัยออกมาแล้วว่าช่วยยับยั้ง ให้เราห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่นั้นไม่ได้หมายความรวมถึงชานมไข่มุกนะคะ
เพราะ ‘ชาเขียว’ มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยปรับปรุงสุขภาพและการทำงานของสมอง ต้านอนุมูลอิสระลดการอักเสบในสมองการยับยั้งการรวมตัวของอะไมลอยด์ – เบต้าและเป็นการบำรุงหลอดเลือดให้แข็งแรง อย่างไรก็ตามการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์นั้น ควรดื่มชาเพียวๆ ล้วนๆ ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งด้วยนมทุกชนิดเพิ่ม ไม่ว่าจะนมสด นมผงหรือนมข้นก็ตาม เพราะโปรตีนจากนมจะเข้าไปจับสารสำคัญในน้ำชาและขัดขวางประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเอาไว้ ทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถรับสารสำคัญจากน้ำชาได้อย่างเต็มที่
(อ่านเพิ่มเติม : ดูแลพระวรกายดีเสมอ! สูตร Perricone Diet ใน สมเด็จพระราชินีเลติเซีย)
5 สาเหตุหลักของการเกิดภาวะอัลไซเมอร์
1. อายุ และ เพศ : เพศหญิงมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการวิจัยว่าเพศหญิงเป็นเพศที่มีอายุยืนกว่าเพศชาย และยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
2. ประวัติครอบครัวและพันธุกรรม
3. ดาวน์ซินโดรม หรือ อ่อนด้อยทางปัญญา : เป็นที่น่าสังเกตุว่าผู้ป่วยที่มีภาวะดาวน์ซิโดรม มีความเสี่ยงที่จะพบอาการของโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงคนที่มีปัญหาเรื่องความจำ ทักษะการคิด วิเคราะห์ต่างๆ บกพร่อง ก็ทำให้มีความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์เช่นกัน
4. การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะ
5. ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ และสุขภาพหัวใจ : การขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วน การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูงล้วนเป็นปัจจัยการดำเนินชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์