Home > Beauty & Health > Health & Wellness > เช็คตัวเองหน่อยดีไหมว่าเราเป็น Atelophobia โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ หรือเปล่า

กำลังรู้สึกว่ าตัวเองดีไม่พอ ทำอะไรก็ไม่สุด สักอย่าง กลัวทำนู่นผิดนี่พลาด กังวลสารพัดสิ่ง จนจิตตก พาลให้หมดแรงหมดไฟ กันอยู่รึเปล่า ไม่แน่ว่าเราอาจเป็นโรค Atelophobia หรือ โรคกลัวตัวเองดีไม่พอ อยู่ก็ได้นะ

ในโลกที่ การแข่งขัน สูงลิ่ว อย่างทุกวันนี้ ไม่แปลกหรอก ถ้าเราจะตั้งความหวังกับตัวเองไว้สูง แล้วพยายามไปให้ถึงจุดหมายนั้น แม้ว่าหนทางจะยากลำบากแค่ไหน ก็ต้องฟันฝ่าไปให้ได้ แต่ยิ่งคาดหวังสูง ก็ยิ่งกดดันตัวเอง พาลให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะไปถึงจุดนั้นได้จริงเหรอ ทำไมคนอื่นเขาไปถึงได้ง่ายจัง เราจะทำได้ไหม ถ้าทำแล้วล้มเหลวจะทำยังไง สิ่งที่ทำอยู่มันดีแล้ว จริงใช่ไหม หรือ เราควรทำให้ดีกว่านี้ ? สารพัดคำถามที่ประเดประดังเข้าใส่ตัวเองเหล่านี้ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ จนทำให้สภาพจิตใจเราย่ำแย่ อาจส่งผลให้เราเป็น โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอ หรือ โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ ได้เลย

ในบทความนี้ HELLO! จึงอยากพาทุกคนไป ทำความรู้จัก กับโรคนี้กัน จะได้ลองสำรวจตัวเองว่า มีเกณฑ์เข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ไหม และ เราจะ รักษาโรคนี้ ให้หายได้อย่างไร

Atelophobia
ภาพโดย Zhu Liang/unsplash

โรค Atelophobia คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

โรคกลัวตัวเองดีไม่พอ หรือ โรคกลัวความไม่สมบูรณ์แบบ นี้ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่ม โรคกลัว ชนิดเฉพาะเจาะจง มักเกิดจาก ความกลัว ที่ฝังใจใน วัยเด็ก รวมไปถึง การเลี้ยงดูของครอบครัว ที่เด็กรู้สึก ด้อยค่า ตัวเอง ไม่ได้รับการส่งเสริมที่ดีพอ วัยเด็กเต็มไปด้วย การแข่งขัน รวมไปถึง พ่อแม่ คาดหวัง ในตัวลูกสูงเกินไป

เมื่อเด็กเกิดความกลัว เขาจะ ตั้งคำถาม กับตัวเองเสมอว่า สิ่งที่ทำอยู่ดีแล้วหรือไม่ ต้องทำอย่างไร ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด มองว่าความผิดพลาดล้มเหลว คือ สิ่งที่ให้อภัยไม่ได้ เขาจะรู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา ว่าจะทำอะไรผิดพลาดไป กลัวจะทำได้ไม่ตรงตามที่พ่อแม่ คาดหวัง ไว้ หากเด็กไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสม ความรู้สึกนี้ก็จะติดตัวไปจนโต กลายเป็น ผู้ใหญ่ ที่เคร่งเครียด วิตกกังวลง่าย กลัวความผิดพลาด ไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ ติดอยู่ในเซฟโซน มักมองว่าตัวเองยังทำได้ไม่ดีพอ คอยแต่จะหา จุดบกพร่อง ในสิ่งที่ทำ และ ไม่เคยพอใจในความสำเร็จของตัวเอง

Atelophobia
ภาพโดย Patrick Schneider/unsplash

ลองสำรวจตัวเองดู ว่าอยู่ในเกณฑ์เป็นโรคนี้หรือไม่

1. รู้สึกหมดไฟ เหนื่อย ไม่มีแรงทำอะไร

2. ไม่ภูมิใจในคำชม ตั้งข้อสงสัยตลอดว่าตัวเองดีพอที่จะได้รับคำชมนั้นหรือยัง

3. กลัวความผิดพลาด จนหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด

4. วิตกกังวลอย่างรุนแรง

5. ไม่มั่นใจในสิ่งที่ทำ หมกมุ่นว่าตัวเองต้องทำพลาดแน่ ๆ

6. มองหาข้อผิดพลาดในสิ่งที่ทำเสมอ

7. มองโลกในแง่ร้าย

8. ไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ หลีกเลี่ยงงานอาสาทุกอย่าง

9. เลือกที่จะไม่ทำเลย มากกว่าการลองผิดลองถูก

10. มักกังวลล่วงหน้าในสิ่งที่ยังไม่เกิด

Atelophobia
ภาพโดย Yasmina H/unsplash

วิธีการรักษา

ถึงแม้โรคนี้ จะไม่มีเกณฑ์วัดที่ชัดเจนว่า ถึงจุดไหนควรได้รับการรักษา แต่สิ่งที่เราสามารถสังเกตตัวเองได้ หรือ ให้คนรอบข้างช่วยสังเกตด้วย คือ หากความวิตกกังวลเหล่านั้น เริ่มกระทบกับชีวิตประจำวันมากขึ้น คุณเริ่มไม่มีความสุข มองอะไรก็เป็นแง่ลบไปหมด ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างแย่ลง หน้าที่การงานแย่ลง นั่นแหละ คือ สัญญาณที่กำลังส่งเสียงเตือนว่า คุณควรได้รับการรักษาแล้ว แนะนำให้ไปพบ นักจิตบำบัด หรือ จิตแพทย์ เพื่อหาต้นตอของปัญหานี้ และ เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หากคุณได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ตัวตนที่สดใส และ แข็งแรง จะกลับมาอีกครั้งในไม่ช้าแน่นอน

อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น สุขภาพ และความงามได้ที่ HELLO!

Feature Image by Zhu Liang/unsplash

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.