Home > Beauty & Health > Health & Wellness > Mindfulness > Impostor Syndrome พยายามเท่าไรก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองเก่งสักที

ในโลกปัจจุบัน ความก้าวไกลของเทคโนโลยี และวิทยาการต่าง ๆ ทำให้ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน ก็พบกับผู้คนมากมาย ที่ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ และต่างก็บอกเล่าเรื่องราวของตนเอง ผ่านแพลตฟอร์ม จึงเกิดเป็นภาพของความสำเร็จในรูปแบบต่าง ๆ จนชินตา บนโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และสังคมที่พร่ำบอกอยู่ตลอดเวลา ว่าเราต้องเป็นคนเก่ง ที่ก้าวไปข้างหน้า และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง การต้องอยู่กับแนวคิดที่ว่าต้องเป็นคนเก่ง และแข่งขันกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ก็เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่า นี่ตัวเราเก่งจริงหรือเปล่า ที่ทำอยู่นี้ดีพอหรือยัง หรือที่เรียกกันว่า Impostor Syndrome

Impostor Syndrome

Imposter Syndrome เป็นคำนิยาม ที่ใช้เรียกอาการทางจิต ของผู้ที่คอยตั้งคำถามกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีความคิดว่า ตัวเองนั้นไม่เก่ง ไม่ดีพอ ไม่มีค่า ขาดความมั่นใจ ความเชื่อมั่น หรือสงสัยว่า ความสามารถที่ตนมีอยู่นั้น เป็นของจริงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาตัวเอง หรือปัจจัยอื่นกันแน่ และคิดว่าตัวเอง อาจไม่คู่ควรจะได้รับความสำเร็จนี้
ซึ่งอาการนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำกัดอายุ หรือเพศ แต่มีปัจจัยมาจากหลายอย่าง ตั้งแต่ สภาพแวดล้อม ครอบครัว สถานะทางสังคม ฯลฯ และมักมีความเสี่ยงสูง กับกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จ หรือถูกเลี้ยงดูมาโดยได้รับการปกป้องมากเกินไป จนเกิดความสงสัย ในความสามารถของตนเอง แม้กระทั่ง ถูกคาดหวัง ให้มีมุมมองต่อความสำเร็จ สมบูรณ์แบบ ในรูปแบบหนึ่ง จนเกิดเป็นความยึดติด และกลายเป็นการกดดันตัวเองอย่างหนักไป

Impostor Syndrome

อาการของคนที่เป็น Imposter Syndrome

  • ไม่มีความมั่นใจในตนเอง มี Self-Esteem ต่ำ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
  • เป็น Perfectionist รักความสมบูรณ์แบบ มีความย้ำคิดย้ำทำ
  • ชอบเปรียบเทียบตัวเอง กับคนอื่น ๆ ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม
  • คิดว่ายังทำได้ไม่ดีพออยู่เสมอ
  • ไม่ว่าใครจะชื่นชมงานเท่าไร ก็ไม่รู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับสิ่งนั้น
  • คิดว่าสิ่งที่ตัวเองประสบความสำเร็จ มาจากปัจจัยอื่น ๆ มากกว่าความสามารถของตน
  • มีความสงสัยและกังขาในตัวเอง (Self-Doubt)

หากปล่อยให้อาการ Impostor Syndrome เกาะกินจิตใจของเราไป นานวันเข้า ความคิดแง่ลบ ที่ทำให้สงสัย และไม่มั่นใจในตัวเอง ก็จะครอบและกดทับตัวตนของเราลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวล หดหู่ passion ในการทำงานต่าง ๆ และการใช้ชีวิตลดลง รู้สึกอ่อนล้า และ burn out จากการทำงาน การใช้ชีวิตได้ง่าย เกิดความสงสัยต่อคนรอบข้าง เพราะรู้สึกว่าตัวเอง ‘ไม่ดีพอ’ หรือ ‘ไม่คู่ควร’ ที่จะอยู่ตรงนี้ จนหวาดระแวงผู้อื่นไปหมด และนานวันเข้า อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้

Impostor Syndrome

ปัจจัยของการเกิด Impostor Syndrome

  • การถูกคาดหวังจากสังคมและคนรอบข้าง ภาพของความสำเร็จ ที่สังคมแต่ละที่ให้คุณค่า นั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้น คำว่า ‘ความสำเร็จ’ ของแต่ละคน จึงมีการตั้งเป้าหมายไม่เท่ากัน จึงเกิดความสงสัยในตัวเองได้ง่าย หากทำตามบรรทัดฐานของคนอื่นไม่ได้ หรือคิดว่าทำได้ไม่ดีพอ
  • สภาพแวดล้อมครอบครัวที่ถูกเลี้ยงดูมา การปลูกฝังความคิด ความคาดหวัง ตั้งแต่เล็ก จนเติบโตมา มีผลเป็นอย่างมาก ต่อมุมมอง ค่านิยม และสิ่งต่าง ๆ ที่คนเรายึดถือยึดมั่น ยิ่งถูกเลี้ยงดูมาอย่างเข้มงวด ถูกควบคุมมากเกินไป หรือมีความคาดหวังสูง ยิ่งส่งผลต่อความมั่นใจในตัวบุคคล
  • การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่เป็นยุคแห่งโซเชียลมีเดีย ทำให้เราได้รับรู้ภาพความสำเร็จจากคนอื่นในสังคมได้ง่ายและมากมาย จนเผลอเอามาเทียบกับตัวเองในด้านต่าง ๆ และเกิดความรู้สึกว่าตัวเองยังทำได้ไม่ดีพอ หรือต้องทำให้ได้มากกว่านี้แบบใคร ๆ เขา

รับมือกับ Impostor Syndrome อย่างไรดี

  • นิยาม ‘ความสำเร็จ’ ของตัวเอง ที่ไม่ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของผู้อื่น
  • ตั้งเป้าหมายโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
  • มีสติ รู้เท่าทันตัวเอง สำรวจความคิดและความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ
  • ไม่กดดันตัวเอง หรือแบกรับความคาดหวังของคนอื่นไว้มากเกินไป
  • ลดการเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น
  • หัดที่จะรัก และมองเห็นคุณค่าของตัวเราเอง
  • อย่ากลัวที่จะยื่นมือออกไปขอความช่วยเหลือ หรือพึ่งพาคนอื่นบ้าง
  • หาวิธีผ่อนคลายตัวเองให้มากขึ้น รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ซัพพอร์ตจิตใจได้
  • หากรู้สึกว่ารับมือไม่ไหวแล้วจริง ๆ ให้ปรึกษาคนรอบตัว และไปพบกับแพทย์เฉพาะทาง

อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น สุขภาพ และความงามได้ที่ Hello!

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.