เมื่อชีวิตประจำวัน ทุก ๆ วันของเรา ถูกผูกไว้กับ การทำงาน เพื่อ หาเลี้ยงชีพ จนสิ่งนี่ กลายเป็น ส่วนนึงของ ภาระหน้าที่ ที่ต้องแบกรับ ในแต่ละวัน ความสำเร็จ และคุณค่า ของหลาย ๆ คน จึงมัก ถูกนำมาผูกติด กับ การทำงานอย่างหนัก เพื่อพิสูจน์ ความสามารถ ศักยภาพ ในการ ทำเป้าหมายต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ แน่นอนว่า บางครั้ง การทำงานหนัก มากเกินไป ก็นำมาซึ่ง อาการเจ็บป่วย โรคภัยต่าง ๆ มาทำความรู้จัก ภาวะ Karoshi Syndrome ภาวะที่ เกิดจาก การทำงานหนักมากไป กัน

Karoshi Syndrome คืออะไร
มีคำกล่าว ที่บอกว่า งานหนักไม่เคยฆ่าใคร แต่เราทุกคน ต่างก็รู้ดี ว่าอะไรที่มากเกินไป ย่อมไม่เป็น ผลดีทั้งนั้น คาโรชิ ซินโดรม เป็นภาวะที่เกิดจาก การทำงานอย่างหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ จนเกิดอาการป่วย อ่อนเพลีย มีปัญหา ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต โดย มีต้นกำเนิด มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง เกิดกรณี ที่มีผู้เสียชีวิต จากการทำงานหนักเกินไป จนหัวใจล้มเหลว จริง ๆ ซึ่ง เป็นที่รู้จักกัน ครั้งแรก จากประเทศญี่ปุ่น ที่มีพนักงาน ของสถานีโทรทัศน์ เสียชีวิตจากการทำงานหนัก จนเริ่มมีการตื่นตัว และให้ความสนใจ ในเรื่องนี้มากขึ้น

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเราทำงานหนักไปหรือเปล่า
หากลองเช็กแล้ว พบว่า ตัวเองเข้าข่าย สิ่งเหล่านี้ เป็นไปได้ว่า คุณอาจจะมีความเสี่ยง กับถาวะที่ ทำงานหนักเกินไปก็ได้
- รู้สึกเครียด มีความกดดัน เวลาทำงาน บ่อยครั้ง
- ในหัวคิดแต่เรื่องงาน จนรู้สึกหมกมุ่น
- พักผ่อนไม่พอ นอนน้อย หลับไม่สนิท ร่างกายอ่อนเพลีย
- ต้องทำงานล่วงเวลา หรือนอกเวลา ติดต่อกันมานาน
- ไม่สามารถหาวันลาได้ ไม่มีช่องว่างให้พักผ่อน
- ไม่มีเวลาให้ ทั้งคนอื่น และตัวเอง
- เริ่มมีปัญหาสุขภาพกาย และ สุขภาพจิต
- รู้สึกหมดไฟ burn out ไม่อยากตื่นมาทำงาน
ปัญหา การทำงานหนัก มากเกินไป สามารถ ทำให้เกิด ผลเสีย ตามมาได้มากมาย ทั้งความเครียด ที่ก่อให้เกิด โรคความดัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ความอ่อนล้าสะสม ทำให้เกิด อาการป่วย อื่น ๆ ตามมา และ ปัญหาสุขภาพจิต ที่ค่อนข้าง สำคัญเช่นกัน

วิธีเลี่ยง ลดความเสี่ยง Karoshi Syndrome
- แบ่งเวลา ให้เหมาะสม จัดเวลาพัก ให้ตัวเอง ไม่โหมงาน หนักเกินไป
- หากิจกรรมอื่น งานอดิเรก สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ผ่อนคลาย ความเครียด ให้ตัวเอง
- แบ่งเวลา มาปฎิสัมพันธ์ กับผู้คนรอบข้าง ให้เวลากับ ครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง
- ออกไปข้างนอก ท่องเที่ยว ชมนกชมไม้ หาร้านอร่อยชิม ให้เวลากับตัวเอง ได้พักผ่อนบ้าง
- พยายาม หมั่นสำรวจตัวเอง เฝ้าระวัง สัญญาณความเครียด จากการทำงานหนักเกินไป
- หัดขอความช่วยเหลือ จากคนรอบข้าง ที่ทำงาน เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เมื่อพบปัญหา
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ
- จัดสรร แบ่งโซน การทำงาน ไม่นำงาน กลับมาทำที่บ้าน หรือ ในเวลาพักผ่อน
- เติมพลังบวก ให้ตัวเองอยู่เสมอ จัดสรรสภาพแวดล้อม ที่ดี
- ไปพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา เมื่อพบว่า ตนอาจรับมือ กับอาการที่เกิดขึ้น ไม่ไหว
อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น สุขภาพ และความงามได้ที่ Hello!