Quiet Quitting คือ สภาวะทิ้งใจ แต่ไม่ได้ทิ้งตัว คนทำงานไม่อยากทุ่มเทเกินกว่าหน้าที่ได้รับมอบหมาย
Quiet Quitting คือ อะไร?
คนทำงานในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาทั้งเรื่องโรคโควิด-19 หรือแม้แต่ Great Resignation การลาออกครั้งใหญ่หลังสภาวะโรคระบาด ทำให้คนทำงานเจอสภาวะต่างๆ มากมายทั้ง หมดไฟการทำงาน มีคนทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่ปัญหาจากเพื่อนร่วมงาน และ คนที่เป็นหัวหน้างาน ซึ่ง Quiet Quitting อาจจะเป็นเฟสต่อไปของ Great Resignation ก็เป็นไปได้ ซึ่ง HELLO! อยากให้ทุกคนได้รู้จักแนวคิดนี้กัน

Quiet Quitting (ไควเอต ควิตติง) คือ อะไร เราอาจจะให้คำนิยามสั้น ๆ ไม่ได้ แต่น่าจะเข้าข่ายคำที่ว่า “ทำตามหน้าที่” เป็นการทำตามหน้าที่ในรายละเอียดของงานจริง ๆ จะไม่มีการทุ่มเททำงานเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ใครทั้งนั้น ไม่ว่าจะเจ้านาย หรือ เพื่อนร่วมงาน รวมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจที่ปฏิเสธที่จะทำ เช่น การตอบอีเมลยามเย็น หรือเวลาสุดสัปดาห์ และ งานพิเศษที่เกินจากหน้าที่หลัก ซึ่งแน่นอน Gen Z หรือเด็กรุ่นใหม่กำลังถูกจับตาเรื่องนี้เป็นพิเศษ
เพราะนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ หลายคนเกิดความรู้สึกเบื่อ เหนื่อยหน่าย ท้อใจ จากการทำงานที่เกินหน้าที่ และ เกินเวลา แต่กลับไม่ได้รับคุณค่าจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาในองค์กรที่ตัวเองได้สังกัดอยู่

ถ้าจะเทียบกับเคสคนทำงานหมดไฟจากการหนักมากเกินไป หรือเรารู้จักกันในนาม “Burnout Syndrome” ภาวะหมดไฟที่เป็นความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน และ ไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางก่อนจะรุนแรง และ คุกคามการใช้ชีวิต
ส่วน Quiet Quitting กลายเป็นเทรนด์ฮิตขึ้นในติ๊กต็อกจากผู้ใช้คนนึงที่ ซาอิด ข่าน (Zaid Khan) วิศวกรจากนิวยอร์ก ที่เขาพูดเรื่องนี้ในคลิปไว้ว่า
@zaidleppelin On quiet quitting #workreform
♬ original sound – ruby
“คุณยังคงทำตามหน้าที่ต่อไป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีวัฒนธรรมการทำงานที่เร่งรีบที่ส่งผลต่อจิตใจ ชีวิตเป็นของเรา ส่วนความเป็นจริงคือ ไม่สามารถทำได้ คุณค่าของคนไม่ได้นิยามโดยผู้ใช้แรงงาน”
มีการตั้งข้อสังเกตว่า แนวคิดแบบอาจจะมาจากประเทศจีน ที่มีกระแสติด #tangping (ถ่างผิง) ที่มีความหมายว่า “นอนราบ” ซึ่งแฮชแท็กนี้ในดินแดนมังกรก็ถูกปิดกั้นไปเรียบร้อย เป็นเหมือนการต่อต้านของผู้คนในประเทศจีน ที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่หนัก แต่ไม่สามารถได้รับค่าตอบแทนที่ทำให้รู้สึกได้ว่าคุ้มค่า นั้นเป็นสาเหตุให้คนรุ่นใหม่ไม่เอากับการทุ่มเทที่ไร้ค่า

ตัดกลับมาในสหรัฐอเมริกาแนวคิด Quiet Quitting เป็นเหมือนกับ “ยาแก้พิษ” ที่ถอนความเชื่อที่ต้องเร่งรีบในการทำงาน อ้างอิงจาก นาเดีย เด อลา (Nadia De Ala) ผู้ก่อตั้งองค์กร Real You Leadership องค์กรที่พัฒนาศักยภาพคนที่อยู่ในตลาดแรงงาน ที่เธอบอกว่า “ลาออกแบบเงียบ ๆ (quietly quit)” มาแล้ว 5 ปี ในงานก่อนหน้านั้นของเธอ (คือยังทำงาน แต่ก็ไม่ได้ทุ่มเทมาก)
“ค่อนข้างมีแรงต่อต้าน และ การทำลายโดยตรงของวัฒนธรรมที่เร่งรีบ และ ดิฉันก็คิดว่าตื่นเต้นที่ผู้คนเริ่มต่อต้านประเพณีบางอย่างที่ไม่สมเหตุสมผล” นาเดีย เด อลา กล่าว
มาดูฝั่งวิชาการเรื่องนี้จากทางฝั่งยุโรป โดย มาเรีย คอร์โดวิชซ์ (Maria Kordowicz) รองศาสตราจารย์ในการจัดการพฤติกรรมของ มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม และ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ได้กล่าวว่า แนวคิด Quiet Quitting มีเชื่อมโยงกับความพอใจในอาชีพอย่างเห็นได้ชัดเจน
รองศาสตราจารย์ คอร์โดวิชซ์ พูดถึงเรื่องนี้ว่า “นับตั้งแต่เหตุการณ์โรคระบาดเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของผู้คนในโลกแห่งการทำงานได้รับการศึกษามากมายหลากหลายหนทาง โดยพูดถึงทั่วไปในแง่อาชีพ ก็มีการถกเถียงมากมาย ใช่เลย ตอนนี้โลกแห่งการต่อสู้มันได้เปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ”
คอร์โดวิชซ์ กล่าวเสริมเพิ่มเติมอีกว่า “การวิจัยมีความหมายที่ชัดเจนไปมากกว่าความเป็นความตายในช่วงโรคระบาด ความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความคิดเป็นของตัวเองว่า การทำงานมันมีความหมายอะไรสำหรับฉัน แล้วฉันจะทำบทบาทที่มีอยู่ให้มีคุณค่ามากกว่านี้ได้อย่างไร”
ซึ่งรองศาสตราจารย์ มาเรีย คอร์โดวิชซ์ กล่าวสรุป คือผู้คนต้องการ สมดุลในชีวิตทั้งเรื่องงาน และ เรื่องส่วนตัว ถ้าเกิดความพอใจในแง่ตัวงานน้อยลง แรงกระตุ้นก็จะลดลงตาม
แต่ในเมื่อผู้เห็นความสำคัญจากเรื่องนี้ ก็ย่อมมีผู้ไม่เห็นด้วยเช่นกัน
แพตตี อาห์ไซ ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทในที่ทำงาน ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ที่โพสต์ไว้ทาง TikTok โดยชี้ว่า คุณไม่มีวันจะประสบความสำเร็จหากมีทัศนคติแบบนี้
“quiet quitting คือการทำงานให้น้อยที่สุดตามที่ตำแหน่งงานของคุณกำหนดไว้ และ พึงพอใจกับงานคุณภาพปานกลางนี้” เธอกล่าวต่อ BBC
“ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และ การได้ขึ้นค่าจ้างจะตกอยู่กับผู้ที่ทุ่มเททำงานมากพอที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า ซึ่งไม่ใช่คนที่ทำงานขั้นต่ำอย่างแน่นอน” เธอกล่าวเพิ่มเติม
Quiet Quitting คือ อะไรหลายคนคงทราบที่มาที่ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้อาจจะต้องหาตรงกลางให้ได้ระหว่างนายจ้าง และ ลูกจ้าง เพื่อความสุขในการทำงาน และ ผลงานก็ออกมาดีไปพร้อม ๆ กัน
HELLO! สนับสนุนให้ทุกคนดูแล รักษากายใจ ให้มีวันใหม่ที่สดใสในการทำงาน พร้อมรับมือกับทุกสภาวะ
อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพและความงามได้ที่ HELLO!
Featured images and images credit: Pexel
Reference: