ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจยาวนานกว่า 6 ทศวรรษในการพัฒนาส่งเสริมเรื่อง ‘ผ้าไทย’ สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สสธวท) นำโดย คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานสสธวท เตรียมจัดงาน ‘สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565’ ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ ถนนราชดำริ พร้อมคัดเลือก 90 ต้นแบบสยามพัสตรา ภูษาศิลป์

สำหรับการคัดเลือกบุคคลเพื่อเชิดชูเกียรติ ยกย่อง และให้เป็นผู้สืบสานภารกิจด้านผ้าไทยให้คงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของผ้าไทยที่งดงาม ทรงคุณค่า เป็นมรดกทางภูมิปัญญาของไทยสืบไป จำนวน 90 ท่านเพื่อเป็น 90 ต้นแบบสยามพัสตรา ภูษาศิลป์ มีการกำหนดแนวทางให้ครอบคลุม กลุ่มต่าง ๆ 9 ประเภท ดังนี้
- นฤมิตภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบแห่งการถักทอผ้าไทย
- จินตภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบแห่งการออกแบบลวดลายผ้าไทย
- เชิดชูภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบแห่งการเชิดชู สนับสนุนและต่อยอดผ้าไทย
- วิวัฒน์ภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบแห่งการพัฒนาผ้าไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- บูรณาภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบแห่งการดีไซน์ผ้าไทย (ดีไซเนอร์)
- เอกวลัญชน์ภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบผู้นำในการสืบสานและอนุรักษ์ผ้าไทย
- สสธวท สานธำรงภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบสมาชิก สสธวท ผู้สืบสานการสวมใส่ผ้าไทย
- สตรีรักษ์ภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบสตรีแห่งความภาคภูมิในผ้าไทย (ผู้หญิงซึ่งสวมใส่ผ้าไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี)
- บุรุษรักษ์ภูษาสง่าศิลป์… ต้นแบบบุรุษแห่งความภาคภูมิใจในผ้าไทย (ผู้ชายซึ่งสวมใส่ผ้าไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี)
ผู้ได้รับรางวัล 90 ต้นแบบสยามพัสตรา ภูษาศิลป์ มีเหล่าคนดังร่วมรับราวัล อาทิ

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย ผู้เห็นคุณค่าของการนำผ้าไทยมาใช้ในชีวิตประจำวัน ละสวมใส่ชุดผ้าไทยเป็นประจำ

ธีระ ฉันทสวัสดิ์ ดีไซเนอร์ผู้ผันตัวมาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบ และต่อยอดให้เกิดการส่งเสริมผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง

ประภากาศ อังศุสิงห์ ดีไซเนอรืแบรนด์ประภากาศ ชื่นชอบและถนัดในการนำผ้าไทยมาตัดต่อ ผสมผสานกับผ้าไทยและผเาชนิดต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ดูร่วมสมัย และอนุรักษ์การใช้ผ้าไทย

เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวด้านประวัติศาสตร์ผ้าไทย

ผศ.ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข ภริยาพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ชื่นชอบและภาคภูมิใจยามสวมใส่ชุดที่ตัดเย็บด้วยผ้าไทย

พลพัฒน์ อัศวะประภา ดีไซเนอร์แบรนด์อาซาว่า ใช้ผ้าไทยเป็นองค์ประกอบในการสร้างสรรค์ผลงานมาโดยตลอด และปัจจุบันยังมีส่วนในการพัฒนาผ้าไทยตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตั้งแต่คนทอผ้า การย้อมสี ไปจนถึงกระบวนการสร้างสรรค์

พิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ ดีไซเนอร์แบรนด์พิจิตรา นำองค์ประกอบความเป็นไทย เช่นการดึงลายปักจากผ้าสไบโบราณมาใช้ในการแต่งเสื้อให้ดูวิจิตรงดงาม

มีชัย แต้สุจริยา นครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2559 ผ้ากาบบัว จ.อุบลราชธานี ผู้เป็นส่วนสำคัญในการออกแบบผ้าที่สร้างาน สร้างอาชีพให้ชุมชนทอผ้าทั้งในอุบลราชธานี และทั่วอีสาน จนกระทั่งผ้าคอลเลกชั่น ‘กาบบัวแสงแรก’ ไปอยู่ในพระหัตถ์ ‘เจ้าชายวิลเลี่ยมและแคเธอรีน’ ดยุคและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์

วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข นักออกแบบแบรนด์ Wisharawish ที่มุ่งเน้นการใช้ผ้าไทยและวัตถุดิบจากภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์แบรนด์เธียเตอร์ (Theatre) นำผ้าไทยต่าง ๆ ออกแบบ ตัดเย็บแนวสากลร่วมสมัย ชาย-หญิงมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน

ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ทำงานอนุรักษ์ผ้าไทย และร่วมฟื้นฟูการแสดงโขน

อมตา จิตตะเสนีย์ ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและผ้าไทยในจังหวัดต่าง ๆ สร้างเทรนด์การแต่งกายด้วยผ้าไทย ลงพื้นที่เรียนรู้กับชุมชนอย่างจริงจัง เปลี่ยนโซเชียลมีเดียเป็นห้องสมุดออนไลน์เรียนรู้การสกัดสีท้องถิ่นจากธรรมชาติ กระบวการและวิธีการทอผ้าตั้งแต่ต้นน้ำ เรื่องราวและที่มาของลายผ้า ทำหน้าที่ในฐานะอินฟลูเอนเซอร์ในการผลักดันผ้าไทย ไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทย แต่ยังรวมถึงแฟชั่นโชว์ระดับโลกที่กรุงปารีส ปะเทศฝรั่งเศส จนได้ชื่อว่าเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และการอนุรักษ์ผ้าไทย

ม.ล.อรดิศ สนิทวงศ์ ประยุกต์นำผ้าไทยมาสวมใส่ให้เหมาะสมตามกาละของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

เอก ทองประเสริฐ นักออกแบบที่ทั้งตีความและตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างผ้าและวิถีชีวิตร่วมสมัย

Mr. Rolf Von Bueren ผู้ก่อตั้ง Lotus Arts de Vivre ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์งานฝีมือไทย โดยเฉพาะผ้าไทย เพื่อให้มรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ส่งต่อไปให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม และระลึกถึง ก่อนที่สิ่งมีค่าเหล่านี้จะสูญหายไป

ละออ ตั้งคารวะคุณ ผู้นิยมการสวมใส่ชุดผ้าไทยและชุดไทย โดยเฉพาะทุกครั้งที่ไปทำบุญ ประกอบพิธีทางศาสนา หรือเข้าร่วมงานพิธีต่าง ๆ เป็นต้นแบบให้สุภาพสตรีในสมาคมต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และสืบสานเอกลักษณ์ประจำชาติไทย
นอกจากนี้ภายในงานฯ ซึ่งจะจัดขึ้นรูปแบบกาล่าดินเนอร์ นอกจากมีการถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติ โดยคณะกรรมการสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยฯ และการแสดงผลงานแบบเสื้อชุดผ้าไทยชุด ‘สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ ผ้าไทยร่วมสมัย ไทยนิยม’ ให้เป็นเวทีแห่งโอกาสในการนำเสนอแนวคิด ‘ไทยนิยม’ โดยได้รับเกียรติจากผู้เป็นต้นแบบผ้าไทยกิตติมศักดิ์จากแวดวงต่าง ๆ เป็นผู้แสดงแบบเสื้อกว่า 70 คน.
ติดตามรายละเอียดการจัดงาน ‘สยามพัสตรา ภูษาสง่าศิลป์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565’ ได้ที่ HELLO!