Home > Celebrity > Celebrity News > ตระกูลดังหวั่งหลี อัญเชิญ ‘เจ้าแม่หม่าโจ้ว’ ประทับ ณ ล้ง1919

ด้วยหัวใจรักและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกที่บรรพบุรุษสร้างไว้ในอดีตจนเจริญมั่นคงในปัจจุบัน อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่ถือเป็นมรดกของชาติ และของตระกูล “หวั่งหลี” ในฐานะผู้ถือครอง จึงริเริ่มโครงการ “ล้ง 1919” (LHONG 1919) แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำพระยา ปลุกท่าเรื่อกลไฟที่หลับใหลมาเป็นเวลายาวนาน 167 ปี ให้ตื่นขึ้นมามีชีวิตอีกครั้ง

เจ้าแม่หม่าโจ้ว

ครอบครัวหวั่งหลี

พื้นที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน เจ้าแม่หม่าโจ้ว” (คลองสาน) หรือ MAZU ที่ประดิษฐานอยู่คู่ท่าเรือ ฮวย จุ่ง ล้ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2393 (ค.ศ.1850) สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน การทำความเคารพเทพเจ้าอันเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตระกูลดังหวั่งหลี และคนในพื้นที่ก่อนที่จะเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ จึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ โดยในช่วงเช้าของวันที่ 2 ต.ค. 2560 คุณรุจิราภรณ์ หวั่งหลี ผู้บริหารโครงการ “ล้ง 1919” (LHONG 1919) พร้อมด้วยสมาชิกครอบครัว

ขบวนแห่ในพิธีเบิกเนตรองค์เจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) ในช่วงเช้าเริ่มต้นด้วย ขบวนมังกรทองยาว 35 เมตร เคลื่อนไปรอบๆ พื้นที่ล้ง 1919 เพื่อถวายแด่เจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตระกูลดัง มังกร สัญลักษณ์แห่งพลัง อำนาจ ความยิ่งใหญ่ สัตว์มงคลสูงสุดตามความเชื่อตามประเพณีจีน เพราะเป็นการรวมของสัตว์มงคลทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ กงเล็บของนกอินทรีย์หมายถึง การแม่นยำในการล่าเหยื่อ และหลบลี้หนีภัยได้ทันท่วงที ตาของวัวหมายถึง ดวงตาสุกใสของวัว ที่เปรียบเสมือนกับความซื่อสัตย์ แผงคอและเสียงคำรามของสิงโต หมายถึง อำนาจและบารมีเขาของกวาง หมายถึง ความอ่อนโยน การระแวดระวังภัย ลำตัวของงูหมายถึง ความลื่นไหล ราบรื่น เกล็ดของปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ หนวดของเสือหมายถึง ความน่าเกรงขาม หัวของอูฐหมายถึง ความอดทน หางของม้า หมายถึง การมีพลัง และ การเดินทางปลอดภัย

ส่วนจำนวน 35 เมตร มีความหมายดังนี้ เลข 3 หมายถึง “ซำปอหกโจ้ว” คือ พระพุทธรูป 3 องค์ เลข 5 หมายถึง ธาตุทั้ง 5 ของโลก ได้แก่ ไม้ น้ำ ไฟ ดิน และ ทอง เลข 3 และเลข 5 รวมกันเป็น 8 หมายถึง ความร่ำรวย มั่งมีไม่มีที่สิ้นสุด ตามด้วยขบวนสิงโต 9 ตัว 9 สีเพื่อถวายแด่เจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) เป็นดังตัวแทนดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 เปรียบเหมือนเป็นการอัญเชิญ “กิ่วฮ้วงหกโจ้ว” คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 พระองค์ และ พระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ เสด็จลงมาจากสวรรค์ เพื่อประทานพร

สิงโตมาพร้อมบริวาร คือ เอ็งกอ 30 คน เป็นการแสดงตำนานนักสู้แห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งก็คือพระอรหันต์โดยผู้แสดงแต่งหน้าอำพรางคน แสดงความเข้มแข็งตามดนตรี ต่างมีความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ไม้พลอง มีด การดำน้ำ การเดินป่าทางไฟ การรักษาโรค ฯลฯ จำนวน30 หมายถึงการปกป้องคุ้มครองโดยเหล่าเทพผู้กล้าที่จะคุ้มครองตลอดเดือน ตลอด 30 วัน ยังมีขบวนหลอโกว้ ดนตรีโบราณของจีน 30 คน ป้ายมงคลขนาบซ้ายขวา ด้านละ 4 ป้าย รวม 8 ป้าย ประธานอัญเชิญเจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) 3 องค์ 3 ปาง ประทับเกี้ยว 3 หลัง ร่มฉัตร 3 คัน โคมไฟ 2 อัน ขบวนพระชัยมงคล พร้อมเครื่องสักการะ และกระถางธูป ขบวนเจ้าแม่กวนอิม พร้อมกระถางธูป ตามด้วยแถวทายาทตระกูลดัง และธงมงคล 8 ธง

คุณวุฒิชัย-คุณสุจินต์-คุณสุกิจ-คุณธรรมนูญ หวั่งหลี

จากนั้น คุณสุกิจ หวั่งหลี จุดธูปเทียน กราบสักการะเจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) คณะสงฆ์สวดเอียงเกีย เจริญพระพุทธมนต์ คุณชลันต์ หวั่งหลี คุกเข่ายกเครื่องสักการะถวายบูชา บริเวณศาลด้านล่าง รองประธานทั้ง 2 ท่าน คุณสุชาติ และ คุณทำนุ หวั่งหลี อัญเชิญพระชัยมงคล และเจ้าแม่กวนอิมประทับที่ศาลด้านล่าง จุดธูปเทียนถวายของสักการะพร้อมกันกับศาลด้านบน เมื่อคณะสงฆ์สวดมนต์เสร็จสิ้น ประธานพิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรมเจ้าหน้าที่จุดประทัด / เผาเครื่องกระดาษ

ในเวลาต่อมาหลังจบขบวนอัญเชิญ เหล่าสมาชิกทายาทตระกูลดังผู้เป็นประธานในพิธีทั้ง คุณสุกิจ ,คุณสุจินต์, คุณสุชาติ, คุณวุฒิชัย, คุณธรรมนูญ,คุณสุเทพ, คุณชลันต์ หวั่งหลี ลงมาด้านล่าง รับการคาราวะจาก มังกร, สิงโต และแจกอั่งเปา พร้อมชมการแสดงงิ้ว 8 เซียน ถวายเจ้าแม่หม่าโจ้ว (คลองสาน) ก่อนเจ้าหน้าที่นำเครื่องสักการะต่างๆมอบให้กับผู้เข้าร่วมพิธีเบิกเนตร เพื่อความเป็นสิริมงคล

ย้อนไปในอดีต นายตันฉื่อฮ้วง ต้นตระกูลหวั่งหลีมีความผูกพันกับศาลนี้มาก เวลาขึ้นจากเรือก็จะมากราบไหว้นำของบูชามาถวาย เมื่อจะออกเรือก็มากราบลาเพื่อขอความคุ้มครองและความสำเร็จในการเดินทาง นอกจากนี้ยังเป็นที่เคารพของคนเรือชาวจีนที่เดินเรือผ่านจุดนี้ในสมัยที่แม่น้ำเจ้าพระยายังคลาคล่ำไปด้วยสำเภาจีนและเรือกลไฟจะมีคนแต้จิ๋วขึ้นท่ามาไหว้เจ้าแม่องค์นี้อย่างไม่ขาดสาย

เจ้าแม่หม่าโจ้วมีทั้งหมด 3 ปาง เป็นองค์ที่ชาวจีนนำขึ้นเรือเดินทางมาจากเมืองจีน เมื่อมาถึงเมืองไทยจึงอัญเชิญประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ ยามที่คนจีนเดินทางจากโพ้นทะเลมาถึงฝั่งประเทศไทย ก็จะมากราบสักการะเพื่อเป็นการขอบคุณที่ช่วยทำให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ และเมื่อจะเดินทางกลับไปประเทศจีนก็จะมากราบลาเจ้าแม่ที่นี่เช่นกัน “เจ้าแม่หม่าโจ้ว” (คลองสาน) จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนจีนในแผ่นดินไทย ที่ทำการค้าในไทยจนเจริญร่ำรวยเป็นเศรษฐีก็ล้วนก่อร่างสร้างตัวมาจากที่นี่ รวมถึงบรรพบุรุษจากตระกูลหวั่งหลี

ในสมัยแรกๆที่คนจีนเดินสำเภามาค้ากับไทยนั้น ชาวไหหลำจะเป็นกลุ่มที่มาถึงก่อนในแต่ละปี เพราะที่ตั้งของเกาะไหหลำอยู่ใกล้ไทยกว่ากวางตุ้ง และฮกเกี้ยนมาก เวลาที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัด สำเภาชาวไหหลำจะมาถึงเมืองไทยราวเดือนมกราคม ในขณะที่เรือของชาวแต้จิ๋วและชาวฮกเกี้ยนอาจจะมาถึงในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม เมื่อมาเมืองไทย ก็อัญเชิญและตั้งศาลเทพ จุ้ยบ๋วยเนี้ย อันเป็นที่เคารพของคนไหหลำ โดยตั้งฉายาเป็นภาษาไทยว่า เจ้าแม่ทับทิม เพราะเครื่องประดับประจำพระองค์เป็นพลอยสีแดง ฝ่ายคนแต้จิ๋วก็อัญเชิญเทพ เทียนโหวเซี่ยบ้อ หรือ หม่าโจ้ว ของตนมาตั้งศาลประดิษฐานในเมืองไทย อาจารย์พรชัย สันนิษฐานว่า เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานเข้าก็อาจมีการเรียกชื่อภาษาไทยตามเทพไหหลำว่าเจ้าแม่ทับทิม แม้กระทั่งเครื่องทรงคล้ายคลึงกันจนแยกแทบไม่ออก เพราะทำขึ้นโดยช่างที่เกิดในเมืองไทย

………………..

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.