การแสดงงานภาพวาดในไทยครั้งแรกของ คุณมอร่า มอยนิฮาน ศิลปินที่มีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมและดนตรี จากสหรัฐอเมริกา ถูกจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2559 หนึ่งสัปดาห์ก่อนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จสวรรคต เหตุการณ์การสุญเสียครั้งใหญ่ของคนไทย เน้นย้ำความสำคัญที่เธอได้รับแรงบันดาลใจในการวาดภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นมา จากพระบรมฉายาลักษณ์ที่ ประดับอยู่อย่างโดดเด่นทั้งในวัดวาอาราม ตลาด และในทุกครัวเรือนในประเทศไทยมานานหลายทศวรรษ ในพระอิริยาบถที่คุ้นตาชาวไทยตลอด 70 ปี ของการครองราชย์ พระองค์ท่านทรงเป็นที่เคารพยกย่องทั้งในฐานะรัฐบุรุษ ภิกษุ ทหาร นักดนตรี นักวาดภาพ นักถ่ายภาพ นักประดิษฐ์ และนักกีฬา จนกระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” อย่างแท้จริง
เมื่อซึมซับความรู้สึกเสียใจ ความรัก และศรัทธาของคนไทยที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 มาได้ระยะหนึ่ง นิทรรศการภาพเขียนครั้งที่ 2 ในไทยของคุณมอร่า ที่มีชื่อว่า“คิง ออฟ คิงส์” ได้ถูกจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใน 23 บาร์ แอนด์ แกลเลอรี่ โดยคุณมอร่าชื่นชอบภาพเหตุการณ์ขณะที่ทรงออกเยี่ยมราษฎร และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ทั่วประเทศรวมถึงในพื้นที่ทุรกันดารที่ห่างไกล เช่น ทรงพระดำเนินผ่านทุ่งนา และผืนป่า โดยทรงมีดินสอ แผนที่ และกล้องถ่ายรูป เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทรงงาน โดยพระองค์ได้ต่อสู้กับความทุกข์ยาก เพื่อเพิ่มพูนความสุขแก่พสกนิกรทั้งประเทศ
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ฉันรู้สึกรักและเลื่อมใสใน “พระราชาของปวงชน” ในประเทศไทย ผู้ทรงนำพาประเทศชาติไปข้างหน้า ผ่านการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยพระวิสัยทัศน์และพระปรีชาสามารถของพระองค์จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพและเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อครั้งที่ฉันได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีกับประชาชนคนไทยนับแสนที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ภายใต้การอำนวยเพลงโดยอาจารย์ สมเถา สุจริตกุล ฉันรู้สึกซาบซึ้งใจในความรักและความเคารพที่คนไทยมีต่อพระองค์ท่าน”คุณมอร่า กล่าว
ในปีแห่งการไว้ทุกข์นี้ นางมอร่าได้เยี่ยมชมนิทรรศการจำนวนมากที่เล่าถึงพระปรีชาสามารถและพระอัจริยภาพตลอดพระชนพรรษาของพระองค์ ขณะที่คนไทยให้ความเคารพต่อพระอัจริยภาพทางด้านศิลปะ วรรณกรรมและดนตรี
“มีชาวทิเบตท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าผู้นำท่านนี้เป็นดวงดาวที่หายากมากที่ส่องแสงยามกลางวัน ขอน้อมเกล้าฯ อาลัยพระธรรมราชา ซึ่งเราจะไม่ได้เห็นผู้ทรงธรรมเช่นนี้อีก”
……………………………………………………………………………………………………………..
เกี่ยวกับคุณมอร่า มอยนิฮาน

คุณมอร่า มอยนิฮาน ย้ายมาอยู่ที่กรุงนิวเดลี ในปี พ.ศ. 2516 ตอนที่พ่อของเธอ นายแดเนียล แพทริค มอยนิฮาน วุฒิสมาชิกนิวยอร์ค เดินทางมาพำนักที่ประเทศอินเดียในฐานะเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศอินเดีย ความสนใจที่เธอมีต่อประชาชนและวัฒนธรรมของเอเชียได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้นจวบจนวันนี้ คุณมอร่าสำเร็จการศึกษาจากอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล สคูล กรุงนิวเดลี ซึ่งรู้จักกันดีว่า “ฮินดี ไฮ” และเรียนรู้ภาษาฮินดี อูรดู ลทิเบตันท
ตลอดหลายปีที่เธอท่องเที่ยวทั้งในประเทศอินเดีย แคชเมียร์ ภูฏาน ศรีลังกา ปากีสถาน อัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน บังคลาเทศ ไทย จีน และญี่ปุ่น เธอได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การดนตรีและศิลปะของประเทศเหล่านี้ ซึ่งให้แรงบันดาลใจแก่เธอในการแต่งเพลง จนเป็นที่มาของการสร้างสรรค์อัลบั้มเพลงถึงสามอัลบั้ม คือ โยคะ โฮเต็ล (Yoga Hotel) บางกอก แท็กซี่ (Bangkok Taxi) และล่าสุดคือ บอมเบย์ ซูเปอร์สตาร์ (Bombay Superstar)
ตอนอายุยี่สิบสามปี คุณมอร่า ในฐานะบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนักดนตรี ได้ปรากฏบนหน้าปกของนิตยสารชื่ออินเตอร์วิว (Interview) ของนายแอนดี้ วอร์ฮอล โดยเธอได้ทำงานร่วมกับแอนดี้เป็นเวลาห้าปีที่นิตยสารอินเตอร์วิว รวมทั้งได้เป็นพิธีกรร่วมในรายการโทรทัศน์ของแอนดี้ วอร์ฮอล นอกจากนี้ เธอยังเป็นนักแต่งนวนิยายที่ขายดีที่สุดสองเรื่องคือ โยคะ โอเต็ล (Yoga Hotel) และคัพเวอร์เกิร์ล(Covergirl) และงานบทกวีชื่อ กาลิยูกา (kaliyuga)
…………………………………………………..