ผลงานทางศิลปะถือว่ามีคุณค่าทางจิตใจอย่างยิ่งสำหรับศิลปิน โดยเฉพาะศิลปินผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานเหล่านั้น ตลอดเวลา 36 ปีของ ‘อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ’ ที่ค้นหาคุณค่าและความหมายของชีวิต ค้นพบตัวตนและสัจธรรมโดยใช้งานศิลปะเป็นเครื่องมือหลังจากมีโอกาสได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิที่นา ที่เปลี่ยนที่นาให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของงานศิลป์ รวมถึงโครงการนักสร้างสรรค์ในพำนัก และเวิร์คชอปทางการเกษตร และงานฝีมือ จากความสนใจในการทำงานศิลปะร่วมกับผู้อื่นนี้ทำให้เกิดความคิดก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จิตวิญญาณร่วมสมัยของทศวรรษที่ 31 ณ จังหวัดเชียงใหม่ท และได้ถูกปรับเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบตามแรงบันดาลใจที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมสัมนาทางศิลปะ
‘อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ’
ผลงานของอาจารย์คามินได้รับความสนใจจัดแสดงโชว์ผลงานเดี่ยวหลายครั้งทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับการคัดเลือกให้แสดงผลงานในระดับนานาชาติอีกหลายครั้ง เช่น ซิดนีย์ เบียนนาเล่ เอเชีย แปซิฟิก ไทรเอ็นเนียล ครั้งที่ 2 ณ หอศิลป์ควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย , Utopia Station ที่เวนิสเบียนนาเล่ , นิทรศการ Dump Postmodern Sculpture in the Dissolved Field ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบแห่งชาติ ณ เมื่องออสโล ประเทศนอร์เวย์ และนิทรรศการอื่นๆอีกมากมายทั้งในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้,ประเทศจีน,ประเทศสิงค์โปร,ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม นิทรรศการรวมผลงานแสดงเดี่ยว “ปัจจุบันขณะ ที่ไร้กาลเวลา” (Timeless Present Moment) โดยมีผลงานตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกตั้งแต่สมันเริ่มต้นศึกษาผลงานศิลปะช่วงที่ใช้ชีวิตในมหานครนิวยอร์ก โดยเป็นผลงานประเภทภาพถ่าย ภาพพิมพ์ จิตรกรรม หุ่นขี้ผึ้ง งานเครื่องปั่นดินเผา ด้วยจุดมุ่งหมายการค้นหาความหมาย และการตั้งคำถามของการมีชีวิตอยู่ เป็นผลงานที่ชื่อชุดว่า ‘วัฏสงสาร’ (Cicle of Life) คือสัญลักษณ์แทน วัฎจักรชีวิตของมนุษย์ที่มีการ เกิด แก่ เจ็บ และตาย หมุนเวียนกันไปในมือจะถือสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์แทนช่วงวัยต่างๆ อาทิ สัญลักษณ์ ‘เกิด’ แสดงออกผ่านประติมากรรมชายหญิง ในมือถือหัวใจ บ้าน ถัดมาคือ ‘แก่’ สื่อถึงการเจริญเติบโตของมนุษย์ที่ต้องพบเจอกับสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงมากมาย ในมือถือถุงเงิน ในส่วนของ ’เจ็บ’ เป็นเรื่องของการรักษา การดูแลร่างกาย และ ‘ตาย’ โครงกระดูกสีทอง แวดล้อมไปด้วยสัญลักษณ์ทางศาสนา

ผลงานชุด ‘วัฏสงสาร’ (Cicle of Life)
เสื้อสีน้ำเงินที่อยู่หน้าผลงานคือหุ่นลูกศิษย์ของอาจารย์คามิน สื่อถึงความเมตตา ที่มาคือ มีวันหนึ่งมีการเถียงกันเนื่องจากมีลูกหนูตัวหนึ่งอยู่ในห้อง ทุกคนถียงมันว่าจะทำยังไงดี จนน้องลูกศิษย์เสื้อสีน้ำเงินคนนี้ที่เพิ่งเดินเข้ามาในห้อง เห็นเข้าก็พูดด้วยความเป็นธรรมชาติว่า ‘ก็เลี้ยงมันสิ’

ผลงาน ‘จากชั่วขณะหนึ่ง สู่ชั่วขณะหนึ่ง’
เป็นลักษณะของ หัวกระโหลกสีทอง ด้านหลังภายในมีช่องให้ สามารถเข้าไปนั่งสมาธิเสียงระฆัง

ผลงาน ‘ไม่มีอะไรพิเศษ’
ผลงาน ‘ไม่มีอะไรพิเศษ’ งานปั้นถ้วยชามที่เกิดจากการทำสมาธิผ่านการปั้นถ้วยชามทุกวัน เรียกว่าถ้วยชาม รากุ จำนวน 364 ใบ หลังปั้นไป 200 กว่าใบ ทุกใบจะมีข้อความที่อาจารย์ระลึกขึ้นได้ตอนนั้นปรากฎอยู่ ผลงานชิ้นนี้ได้ไปจัดแสดงที่ประเทศฝรั่งเศส แต่ตอนนั้นแกไปนั่งนิ่งแทนรูปปั้นเอง รูปปั้นตัวแกชื่อว่า ‘ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต’

รูปไข่ขาวดำ ‘ธรรมชาติของความว่าง’
เซเลบริตี้ที่ชื่นชอบผลงานศิลปะต่างให้ความสนใจเข้าชมนิทรรศการของอาจารย์คามินอย่างมากมายอาทิ ‘คุณสุรางค์รัตน์ จิราธิวัฒน์’ และ ลูกสาว ‘คุณศุภาวิตา จิราธิวัฒน์’ ซึ่งผลงานที่สร้างความประทับใจให้กับ ‘คุณหมอแก็บ-สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ’ เป็นอย่างมากนั่นก็คือ ผลงานที่ชื่อชุดว่า ‘วัฏสงสาร’ (Cicle of Life) เพราะความเหมือนตั้งแต่แรกเห็นที่คุณหมอยังสงสัยคิดว่าเป็นคนหรือไม่ จนตอนแรกรู้สึกคิดว่าเป็นคนจริงๆมายืนบังผลงาน เพราะอยากถ่ายภาพโดยที่ไม่มีคน แต่พอได้มีโอกาสมาฟังอาจารย์คามินบรรยายความหมาย เรื่องของลูกศิษย์ก็ประทับใจ เพราะสอนเราในเรื่องของความเมตตาเป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่คนเราเห็นสัตว์เห็นอะไรแบบนี้ก็เมตตาอยากช่วย แต่เราไม่ลงมือทำ

‘คุณทีม ศุภาวิตา จิราธิวัตน์’ ,’คุณแอล สุรางค์รัตน์ จิราธิวัฒน์’ ‘อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ’ และ ‘คุณณิชา จิตะสมบัติ’
…………………………………………………
Cr. Photos : คุณสหัทยา ไพบูลย์วรชาติ , MAIIAM CONTEMPORARY Arts Museum