Home > Education > Schools > ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนเยอรมัน ไอคิวลดลง ในช่วงการระบาดของโควิด-19 

จากการวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า นักเรียนเยอรมัน ชั้นมัธยม มีไอคิวลดต่ำลง ในข่วงที่ทั้งประเทศมีการล็อดดาวน์

หลังจากการให้ นักเรียนเยอรมัน ชั้น Grade 7-9 ทำข้อสอบ Berlin Structure of Intelligence Test เมื่อปี 2002, 2012 และ 2020 ซึ่งสามารถประเมิน ความเร็วในการประมวลผลของสมอง ความจำ การคิดคำนวณ และการสื่อสาร จัดทำโดยมหาวิทยาลัย 2 แห่งใน เยอรมัน และเผยแพร่โดยห้องสมุดวิทยาศาสตร์สาธารณะ 

พบว่า นักเรียนเยอรมัน ที่ได้รับการทดสอบ ในข่วงการระบาดของโควิด-19 มีไอคิวลดลงจากปี 2002 ราว 7.62 คะแนน 

การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นใน รัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนตของเยอรมัน ทำให้เห็นผลพวงของการใช้มาตรการสำหรับโรงเรียน ในช่วงการระบาดระลอกแรก และระลอกที่สอง อีกทั้งยังตอบคำถามเกี่ยวกับ ผลกระทบของการใช้มาตรการทั้งหลายแหล่ในช่วงการแพร่ระบาด ที่มีต่ออารมณ์ความรู้สึก และความแน่นของวิชาการของบรรดา นักเรียนเยอรมัน

นักวิจัยที่ทำการทดสอบนี้ กล่าวว่า “การดิสรัปต์การเรียนด้วยมาตรการล็อคดาวน์ประเทศ  และผลข้างเคียงอื่นๆจากโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น ความวิตกกังวล และการเว้นระยะห่างทางสังคม อาจส่งผลให้ไอคิวลดลง อีกทั้งระดับความฉลาดที่ทดสอบในปี 2020 ยังลดน้อยลงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดเมื่อปี 2002 และ 2012 เสียอีก 

นักเรียนเยอรมัน
Photo : Getty Images

“ความแตกต่างของผลการทดสอบมีมากทีเดียว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนได้รับผลกระทบโดยตรง จากการระบาดอย่างหนัก เพราะไหนจะต้องรับมือกับ การที่โรงเรียนถูกดิสรัปต์ ไหนจะต้องเผชิญกับผลข้างเคียง อย่างเช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย”

เป็นที่ทราบดีว่าโควิด-19 ก่อให้เกิดการดิสรัปต์วงการศึกษาทั่วโลก มีการปิดโรงเรียนนานเป็นสัปดาห์ และเป็นเดือน ห้องเรียนถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียนออนไลน์ หรือไม่ก็มีเพียงนักเรียนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่จะได้เรียนด้วยกัน ไม่ใช่ห้องเรียนใหญ่อย่างที่คุ้นเคย 

ผลกระทบจากโควิด-19 ยังส่งผลต่อความฉลาด ซึ่งมีความหมายในเชิงปฏิบัติมากเหมือนกัน อาทิเช่น ความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการการเรียนชดเชย และการพิจารณาผลพวงของโควิด หลังจากการทดสอบความฉลาดในยุคหลังโควิด-19 

การวัดความฉลาดครั้งนี้ ทำให้เกิดความเป็นห่วงนักเรียนที่ได้รับผลกระทบ จากการเลื่อนกำหนดเปิดภาคเรียนไปเรื่อยๆ และการเรียนที่ไม่ปะติดปะต่อเป็นเวลาล่ำเวลา รวมทั้งความกลัวว่าจะมีนักเรียนมัธยม ลาออกจากการเรียนกลางครัน ทำให้จำนวนนักเรียนที่จบการศึกษาลดน้อยลง

นักเรียนเยอรมัน
Photo : Getty Images

แม้ว่าเป็นการยากที่จะนับจำนวนผลกระทบที่มีผลต่อการวัดความฉลาดก็ตาม แต่คุณภาพการสอนที่ลดลง เนื่องจากเป็นการเรียนออนไลน์ และการลดเวลาเรียนลงเป็นเวลาหลายเดือน ก็อาจต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม 

การศึกษาที่ถูกดิสรัปต์ และความไม่แน่ไม่นอนของโรคระบาด มีผลต่อสุขภาพจิตของนักเรียนอย่างเห็นได้ชัดในงานวิจัยชิ้นนี้ นักจิตวิทยาและครูต่างก็ออกโรงเตือน ในเรื่องการขาดเรียนอย่างรุนแรง และการที่นักเรียนใช้เวลาเรียนเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเวลาเรียนปกติ รวมทั้งเวลาในการทำกิจกรรมการศึกษา 

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการศึกษากล่าวเสริมว่า ข่าวสารเกี่ยวกับโควิดที่หลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ช่วยเพิ่มดีกรีความเครียดขึ้นในบ้าน รวมทั้งการขาดการติดต่อกับเพื่อนเป็นเวลานาน ทำให้นักเรียนเป็นกังวล และใจลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำให้ความสามารถทางด้านการรู้คิดลดลง 

งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นว่า นักเรียนต้องการการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต และความรู้ทางวิชาการของพวกเขา 

ทั้งโควิดเองและมาตรการต่างๆ ที่ทางการใช้แก้ปัญหา นำไปสู่ความสำเร็จทางการศึกษาของนักเรียนทั่วโลกที่ลดลง มีการคาดการณ์ว่า การหยุดเรียนเป็นเวลานาน 1.1 ปีการศึกษา ทำให้มนุษยชาติสูญเงินไปมากถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

Photo: Getty Images

มีผู้แนะนำว่า สถาบันการศึกษาสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบระยะยาวที่โควิด-19 มีต่อพัฒนาการทางวิชาการ นอกจากนี้การวัดความฉลาด อาจต้องมีการแก้ไขให้ทันสมัย เพื่อให้สอดรับกับการที่โควิด-19 มีผลต่อการวัดไอคิว 

อย่างไรก็ดี ควรมีการวิจัยต่อไปอีก เพื่อยืนยันผลวิจัย และค้นหาความแตกต่างระหว่างช่วงก่อนการระบาด กับนักเรียนปัจจุบัน เพื่อปรับเปลี่ยนผลกระทบทางลบ 

จากบทความในวารสาร Nature Human Behavior ซึ่งรวบรวมข้อมูลจาก 15 ประเทศ นั่นคือออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล โคลัมเบีย เดนมาร์ก เยอรมัน อิตาลี เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่จัดทำโดย บาสเตียน เบ็ตฮอยส์เซฮร์ นักวิจัยจาก Sciences Po Centre for Research on Social Inequalites ในฝรั่งเศส และ University of Oxford ในอังกฤษ พบว่า

“นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ลดลงในช่วงการระบาดของโควิด-19 พวกเขาสูญเสียสิ่งที่ตัวเองจะได้เรียนรู้ราว 1 ใน 3 ของความรู้ที่พวกเขาจะสามารถเรียนในสถานการณ์ปกติภายในหนึ่งปีการศึกษา และเด็กด้อยโอกาสจะได้รับผลกระทบนี้มากกว่าเด็กที่มีฐานะดี”

เขายังบอกอีกว่า ประเทศที่เขาทำการวิจัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางจนถึงสูง มีประเทศรายได้ต่ำอยู่ไม่กี่ประเทศ เขาพบว่า การขาดเรียนในช่วงที่มีการปิดโรงเรียนและล็อคดาวน์ในช่วงต้นของการระบาด น่าจะเกิดกับเด็กยากจนเท่านั่น และความก้าวหน้าทางการเรียนรู้วิชาเลขจะช้ากว่าการเรียนรู้ทักษะการอ่าน

คำแนะนำที่นักวิจัยเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินการทำความเข้าใจ นอกเสียจากให้ทางโรงเรียนเร่งสอนชดเชยให้แก่นักเรียน เพื่อทดแทนเวลาเรียนที่สูญเสียไปในช่วงการแพร่ระบาด

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.