Home > Education > 4 เทคนิคช่วยปรับนิสัย เมื่อลูกกลายเป็นคนนอนดึก ตื่นสาย จนเคยชิน

ในช่วงที่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน เด็กๆหลายคนอาจมีพฤติกรรมในการนอนดึก ตื่นสาย เพราะไม่ต้องตื่นเช้ามาเตรียมตัวเดินทางไปโรงเรียนเหมือนแต่ก่อน หากผู้ปกครองไม่ควบคุมเวลาการนอนของลูก ก็อาจทำให้เลยเถิดและกลายเป็นการนอนดึกตื่นสายในที่สุด โดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นจะสังเกตว่า ลูกจะนอนดึกและตื่นสายกว่าปกติ นั่นเป็นเพราะอิทธิพลจากฮอร์โมนเมลาโตนิน ซึ่งในช่วงวัยรุ่นการหลั่งเมลาโตนินจะเกิดขึ้นช้ากว่าปกติในช่วงกลางคืน และลดลงยาวนานกว่าปกติในช่วงเช้า เป็นผลให้วัยรุ่นนอนดึกขึ้นและตื่นสายขึ้นนั่นเอง

วันนี้ HELLO! Education จึงมี 4 เทคนิคแก้นิสัยเมื่อลูกนอนตื่นสายจนชิน มาฝากกัน เพราะการนอนดึกนำมาสู่ปัญหาของการพักผ่อนไม่เพียงพอ ที่นอกจากจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กๆแล้ว ยังมีผลต่อความจำและการเรียนรู้อีกด้วย

Image : Hans Isaacson from Unsplash

1. ปรับสภาพแวดล้อมห้องนอน 

ทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่เงียบ ไม่มีโทรทัศน์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพราะอาจทำให้ลูกนอนดึกจากการเล่นหรือให้ความสนใจได้และควรปรับห้องให้อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และควรเป็นห้องที่มืด มีม่านบังแสงในเวลากลางคืน และเปิดให้รับแสงแดดเป็นการปลุกในตอนเช้า

2. ปรับเวลาการเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ควรปรับเวลาการเล่นให้ลูกเล่นได้จนถึงก่อนเวลาเข้านอน 2 ชั่วโมง เพราะแสงสีฟ้าจากแล็ปท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตจะทำให้เกิดภาวะตื่นตัวได้ง่ายและทำให้ลูกนอนดึกและตื่นสายได้

3. ปรับตารางกิจกรรมก่อนเข้านอน 

กิจกรรมก่อนเข้านอนควรไม่เกิน 30-45 นาที และควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกสบายเช่น การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น นอกจากนั้นก่อนนอนยังไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำมากเกินไป โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม ช็อคโกแลต หรือ ชา 

4. เข้าและตื่นนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ 

เวลาที่เหมาะสมของการนอนสำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี คือเข้านอน 2 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้า ดังนั้นหากเราฝึกให้ลูกคุ้นชินกับช่วงเวลาตื่น-นอนประมาณนี้ในทุก ๆ วัน จะส่งผลในระยะยาวที่จะช่วยแก้ปัญหาลูกนอนดึกได้เป็นอย่างดี

การนอนหลับไม่เพียงพอ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ในวันต่อมาลดลง มีการศึกษาว่าการนอนน้อยกว่า 8 ชม. ต่อวันในเด็กและวัยรุ่นสัมพันธ์กับการเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษาที่ลดลง ทำให้สมาธิลดลงความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียมากขึ้น และยังสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าด้วย นอกจากนี้การนอนหลับยังสัมพันธ์กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย

Source : www.sikarin.com

Image : Unsplash (Mathilde Langevin / Annie Spratt )

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.