Home > Education > Universities > International > ชวนคิดไปกับ 8 เทรนด์ ใหม่สำหรับการเรียน มหาวิทยาลัยในอนาคต 

8 เทรนด์ การเรียนใน มหาวิทยาลัย ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาการเรียนมหาวิทยาลัยในยุคโควิด-19 นี้ ก็เพราะสถานการณ์โควิด-19 จึงทำให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว และพยายามคิดหา เทรนด์ นวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Virtual Reality การปรับเปลี่ยนการวัดผลความรู้จากเดิมที่เน้นการทำข้อสอบ มาเป็นการวัดผลแบบใหม่ที่มีความเฉพาะตัวมากขึ้น 

สถาบันระดับโลกอย่าง World Economic Forum จึงสรุป 8 เทรนด์ ใหม่ในการเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่ง HELLO! Education ได้นำมาสรุปไว้ตรงนี้แล้ว   

1.เรียนรู้ได้จากทุกที่

8 เทรนด์ การเรียน มหาวิทยาลัย เทรนด์แรก เนื่องจากโควิด-19 ทำให้การเรียนในและมหาวิทยาลัยทั่วโลก ต้องหันมาเรียนออนไลน์ ซึ่งมีข้อดีคือ นักเรียนสามารถเรียนตามจังหวะพอดีของตัวเอง ไม่เร็ว ไม่ช้าจนเกินไป และยังสามารถทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในครัวท่ีบ้านก้ได้ 

และ เทรนด์ การเรียนแบบไฮบริดก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการผสมผสานระหว่างห้องเรียนจริงกับห้องเรียนเสมือนจริง เพื่อให้นักเรียนสามารถนำแนวคิดที่ได้จากการเรียนในห้องเรียนมาปรับใช้ในโลกจริง 

เทรนด์ มหาวิทยาลัย
Photo: Unsplash

ดังนั้นแนวคิด ‘การเรียนที่ไหนก็ได้’ ควรเปลี่ยนเป็น ‘เรียนได้จากทุกที่’ Esade โรงเรียนธุรกิจในยุโรป เปิดหลักสูตรใหม่เมื่อปี 2021 เป็นการผสมการเรียนในแคมปัสที่บาร์เซโลนา ขณะเดียวกันยังสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานที่เบอร์ลินและเซี่ยงไฮ้ได้ด้วย 

2.เรียนรู้อย่างกระตือรือร้น แทนที่จะนั่งเฉยฟังคำบรรยาย 

เทรนด์ การเรียน มหาวิทยาลัย เทรนด์ ต่อมา เป็นเพราะปัจจุบันมีข้อมูลดิจิทัลจำนวนมากมายมหาศาล อีกทั้งยังหาได้ฟรีอีกด้วย ฉะนั้นการจ่ายค่าเทอมเป็นล้าน เพื่อฟังใครสักคนมาพูดถึงเรื่องที่คุณสามารถหาได้ในอินเทอร์เน็ต ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ามาก

แต่ความจริงแล้ว สมองคนเราไม่สามารถเรียนรู้จากการนั่งฟัง เพราะมักจะเป็นการฟังแบบเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา เพราะฟังแล้วก็ลืม แต่การเรียนรู้ที่แท้จริงขึ้นอยู่กับหลักการสองสามอย่าง เช่นการเรียนรู้ทีละนิด การเรียนรู้ทางอารมณ์ และการนำความรู้มาปรับใช้ 

ทั้งหมดนี้เรียกว่า Fully Active Learning ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดว่า ไม่เพียงหลักการนี้จะช่วยปรับปรุงผลการเรียนรู้แล้ว ยังช่วยลดช่องว่างทางการศึกษา ซึ่งส่งผลดีต่อนักเรียนที่ด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

3.ทักษะการสอนที่ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก 

ทักษะการสอนและเทคโนโลยีที่ใช้ในการสอน กำลังจะล้าสมัยตกยุคไปแล้ว เทรนด์ การเรียนมหาวิทยาลัย เทรนด์ นี้ คือส่ิงที่เด็กยุคใหม่ต้องการ นั่นคือ ทักษะการเรียนแบบใหม่ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และอยู่ในบริบทที่ไม่เป็นที่รู้จัก 

Minerva University ที่ซานฟรานซิสโก ได้เปิดโครงการ Minerva Project ขึ้นมา โดยสอนแนวคิดพื้นฐาน และสร้างนิสัยใหม่ให้กับสมอง แทนที่การคิดแบบวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 

4.ใช้การวัดผลอย่างเป็นระบบ แทนที่การทำข้อสอบแบบเก่า

เทรนด์ การเรียน มหาวิทยาลัย นี้มาจาก การสอบไม่สามารถวัดความรู้ได้ มหาวิทยาลัยจำนวนมากในอเมริกาที่มี Harvard University เป็นหัวหอก เริ่มยกเลิกการสอบเพื่อนำผลคะแนนมายื่นพร้อมใบสมัครเข้าเรียน โดยใช้การวัดผลประเภทอื่น ที่ไม่เพียงวัดผลความรู้ แต่สามารถใช้วัดผลได้จริง

เทรนด์ มหาวิทยาลัย
Photo: Unsplash

5. อ้าแขนรับเทคโนโลยี

ด้วยสถานการณ์โควิด-19 เด็กรุ่นใหม่จะทัศนศึกษานอกสถานที่อย่างไร Imperial College จึงเลือกใช้การทัศนศึกษาแบบเสมือนจริง ยังสถานที่ที่โควิด-19 ไม่เอื้อให้สามารถไปเยือนได้ หรือการเรียนวิชาธรณีวิทยาจากการสำรวจดาวอังคารแบบเสมือนจริง 

6.ใช้การโต้ตอบระหว่างมนุษย์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด 

ช่วงเวลาที่ครูกับนักเรียนใช้ร่วมกันเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามาก และสามารถถามตอบเพื่อความกระจ่าง และเป็นบทสนทนาที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ได้เป็นฝ่ายที่ได้รับความรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว 

นักเรียนและคณาจารย์ของ Imperial College ได้ร่วมกันพัฒนาการทดลอง ‘Lab in a Box’ ขึ้นมา เพื่อใช้ในการเรียนที่บ้าน ซึ่งได้ผลมากทีเดียว 

7.ปรับเนื้อหาให้เหมาะกับความต้องการเป็นรายบุคคล

ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เพื่อปรับแปลงให้เข้ากับความต้องการแบบเฉพาะคน แอพสอนภาษาอย่าง Duolingo ซึ่งใช้ AI และ Machine Learning ในการพยากรณ์ความจำเป็นในการเรียนรู้คำศัพท์ และปรับปรุงบทเรียนเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม 

8.ต้องเข้าถึงได้มากกว่า 

ในช่วงต้นปี 2020 ไม่กี่สัปดาห์ให้หลังการพบเชื้อโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและโรคระบาด ที่ Jameel Institute ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งมีคนลงทะเบียนเรียนกว่า 1.4 แสนคน เพื่อทำความเข้าใจโควิด-19 และการการแพร่กระจายของโรค

การใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด การใช้ประโยชน์จากการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ และการปรับความรู้ให้ตรงกับความต้องการเป็นรายบุคคล จึงจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้เป็นอย่างดี 

แล้วการที่เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจ เพราะด้วยความก้าวหน้าของ AI และออโตเมชัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสาธารณสุข การเงิน การคมนาคม พลังงาน การผลิต และอื่นๆอีกมากมาย อนาคตทางด้านการงาน ทักษะต่างๆ และช่องว่างระหว่างการศึกษาที่ดีที่สุดและที่ดีน้อยที่สุดในสังคม ได้ถูกถ่างให้กว้างขึ้น

เทรนด์ มหาวิทยาลัย
Photo: Unsplash

จากผลการวิจัยที่ทำในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) แสดงให้เห็นว่า งานในกลุ่มประเทศเหล่านี้ราว 14% เป็นงานที่ใช้เครื่องจักรแทนที่มนุษย์ และ 32% ได้ถูกแปรเปลี่ยนโดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการท้าทายโครงสร้างของงานแบบเดิมๆมากขึ้น จากผลการศึกษาของ McKinsey Global Institute เผยให้เห็นว่า 20-30% ของพลเมืองวัยทำงานในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทำงานที่ใช้เทคโนโลยีตามความต้องการ มีความเป็นอิสระ และมีแต่จะทวีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

และด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดน่านน้ำใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ และงานใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งบางงานก็เป็นงานที่ตอนนี้ยังจินตนาการไปไม่ถึง เพราะฉะนั้นความต้องการจะอยู่รอดในน่านน้ำนี้ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด

  • พุ่งเป้าไปที่ทักษะแบบมนุษย์ ไม่ใช่ทักษะดิจิทัล

แล้วเราจะต้องปรับตัวอย่างไร ถึงจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

เด็กรุ่นใหม่สมควรได้รับการฝึกทักษะทางด้านดิจิทัลท่ีนับวันจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็ต้องฝึกทักษะทางด้านการดีไซน์ พัฒนา หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างมีความรับผิดชอบ ดังนั้นทักษะแบบมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้ และจะมีความพิเศษมากยิ่งขึ้น ขณะที่ออโตเมชันกลายเป็นกระแสหลัก

  • ความรู้แบบผสมผสาน

วิชาที่เคยเป็นวิชาปกติจะต้องถูกนำมาเพิ่มเติมทักษะบางอย่างเข้าไปเกิดเป็นวิชาใหม่ขึ้นมาเช่น เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ชีววิทยาคำนวณ และวิชาที่เชื่อมระหว่างดีไซน์ ศิลปะ และเทคโนโลยี ให้มีทั้งความกว้างและความลึก

  • ลงทุนในการเรียนรู้ตามความต้องการแบบเฉพาะตัว โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย

สำหรับคนที่มีงานทำอยู่แล้ว การเรียนรู้ตามความต้องการแบบเฉพาะตัวโดยใช้เทคโนโลยีช่วย สามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้กับพวกเขา

  • โมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

ภาคเอกชน ภาครัฐ นักการศึกษา และผู้ร่างนโยบาย ต้องร่วมมือกันหาเส้นทางใหม่ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่กำลังมองหางานแรก รวมทั้งการ re-skill และ up-skill ให้กับคนที่มีงานทำอยู่แล้ว เพื่อให้พวกเขาไม่ตกงาน ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

ที่มา : weforum.org 

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.