Home > Education > เผย 20 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก !

‘ดร.ณิก – ต่อภัสสร์ ยมนาค’ เด็กหนุ่มที่เติบโตมาให้ครอบครัวของนักวิชาการคุณปู่ คือ ‘พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ ยมนาค’ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ‘คุณพ่อ รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค’ ประธานกรรมการบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา TACE Co., Ltd. และกรรมการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)ขณะที่ ‘คุณแม่ ภัทราดา ยมนาค’ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ BangkokInternational Preparatory & SecondarySchool จึงทำให้ได้ซึมซับและศรัทธาในงานด้านวิชาการโดยเฉพาะการต่อต้านคอร์รัปชัน

จากวัยเด็กในรั้วโรงเรียนจิตรลดา ก้าวเข้าสู่รั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ดีกรีบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง สาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ ทั้งที่ใจจริงอยากเรียนภาคอินเตอร์ที่มหาวิทยาลัยอื่น แต่กลับมาเลือกที่จุฬา เพียงเพราะว่าอยากไปค่ายอาสาพัฒนาชนบท

ดร.ณิก กับ อาจารย์และคุณพ่อคุณแม่ในวันอันน่าชื่นใจ

หลังจากเรียนจบปริญญาตรีคุณณิกหาประสบการณ์ทำงานต่อทันที โดยเป็นนักวิชาการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจที่ธรรมเนียมรัฐบาล  ก่อนจะตัดสินใจเรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านการต่อต้านระบบคอร์รัปชั่น ที่ University of Cambridge อังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด อันดับที่ 4 ของโลก และก้าวเข้าสู่การเป็นนักต่อต้านคอร์รัชชั่นอย่างเต็มตัว เริ่มจากการเขียนแง่มุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัชชั่น จนวันนึงมีโอกาสได้ร่วมงานกับองค์กรต่อต้านคอร์รัชชั่น แห่งประเทศไทย (ACT) และคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.)

คุณณิกฝากทิ้งท้ายถึงระบบการศึกษาว่า “ปัจจุบันโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นมากมาย เป็นกลไกสำหรับคนที่เชื่อถือ ระบบการศึกษาไทยน้อยลง แม้จะมีค่าเรียนสูงกว่าโรงเรียนไทยทั่วไป แต่ก็เป็นแหล่งที่ให้โอกาสการศึกษาที่มีคุณภาพมากขึ้น และเป็นแรงผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาไทยควรมองโรงเรียนนานาชาติเป็นเพื่อนที่ดี หาโอกาสศึกษาและขอความร่วมมือเพื่อพัฒนาตนเองให้ทัดเทียม เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพเช่นนี้กระจายไปสู่คนไทยในทุกระดับรายไทยอย่างทั่วถึง”

ดังนั้น คนไทยหลายคนอาจจะมองหาการศึกษาดีที่สุดให้กับตนเอง และคนที่เรารัก ซึ่งหากพูดถึง ‘20 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก’ ที่ได้รับการจัดลำดับตามเกณฑ์มาตราฐานนั้นมีหลากหลายเกณฑ์ซึ่งแตกต่างกันไป แต่สำหรับเกณฑ์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดในระดับโลก นั่นคือ Times Higher Education หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า THE โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาถึง 13 ด้าน ใน 5 แขนงด้วยกันประกอบไปด้วย คุณภาพการสอน การถ่ายโอนความรู้ สิ่งแวดล้อมในการเรียน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวิจัย และภาพรวมในระดับนานาชาติ โดยผ่านผู้ตรวจสอบอิสระอย่าง PricewaterhouseCoopers (PWC)

1. University of Oxford ….. อังกฤษ

2. California Institute of Technology …..  สหรัฐอเมริกา

3. Stanford University …..  สหรัฐอเมริกา

4. University of Cambridge …..  อังกฤษ

5. Massachusetts Institute of Technology …..  สหรัฐอเมริกา

6. Harvard University …..  สหรัฐอเมริกา

7. Princeton University …..  สหรัฐอเมริกา

8. Imperial College London …..  อังกฤษ

9. ETH Zurich-Swiss Federal Institute of Technology Zurich …..  สวิตเซอร์แลนด์

10. University of California, Berkeley …..  สหรัฐอเมริกา

11. University of Chicago …..  สหรัฐอเมริกา

12. Yale University …..  สหรัฐอเมริกา

13. University of Pennsylvania …..  สหรัฐอเมริกา

14. University of California, Los Angeles …..  สหรัฐอเมริกา

15. University College London …..  อังกฤษ

16. Columbia University …..  สหรัฐอเมริกา

17. Johns Hopkins University …..  สหรัฐอเมริกา

18. Duke University …..  สหรัฐอเมริกา

19. Cornell University …..  สหรัฐอเมริกา

20. Northwestern University …..  สหรัฐอเมริกา

Tags
education
Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.