กระเป๋านักเรียนหนัก ยังคงเป็นปัญหา แก้ไม่ตกของนักเรียนไทย ที่เด็กๆ มักต้องแบกเป้ที่มีหนังสือไม่ต่ำกว่า 10 เล่ม รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียนไปโรงเรียน รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลระยาวต่อสุขภาพเด็กๆ ซึ่งบางรายงานก็บอกว่าเสี่ยงเป็น ‘กระดูกสันหลังคด’ และ ‘หมอนกระดูกเคลื่อน’
ก่อนถึงวันที่ลูกๆ จะกลับไปใช้ชีวิตวัยเรียนอีกครั้ง HELLO! Education จะพาไปสังเกตอาการของโรคที่เกิดจากการแบกกระเป๋านักเรียนหนัก รวมทั้งเผยวิธีป้องกัน เพื่อให้ผู้ปกครองเตรียมรับมือกับปัญหาสุขภาพของลูกวัยเรียนได้อย่างเหมาะสม

โรคกระดูกสันหลังคด
มีข้อถกเถียงกันมานานว่าโรคกระดูกสันหลังคดเป็นความผิดปกติจากพฤติกรรมสะพายเป้หนักจริงหรือไม่ในปี 2562 เคยมีข่าวเด็กนักเรียนหญิงวัย 14 มีอาการกระดูกสันหลังคด โดยผู้ปกครองคาดว่ามีสาเหตุมาจากสะพายกระเป๋านักเรียนหนักเป็นเวลานาน
ต่อมาแพทย์กระดูกจากโรงพยาบาลชุมแพ ได้ทำการตรวจระบบประสาทกล่าวว่าไม่พบว่ามีความผิดปกติที่เป็นปัจจัยทำให้กระดูกสันหลังคดงอตามที่มีการสันนิษฐาน และยืนยันว่าการสะพายกระเป๋าหนักไม่ทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังคดงอ แต่สาเหตุของกระดูกสันหลังคดเกิดได้หลายสาเหตุทั้งจากพันธุกรรม ไปจนถึงไม่พบสาเหตุ
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
โอกาสที่เด็กๆจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับกลุ่มคนทำงานและผู้สูงอายุภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกในวิจัยว่า หมอนรองกระดูกจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป และมีปัจจัยเสี่ยงคือ 1. น้ำหนักตัวเยอะ ทำให้ต้องรับน้ำหนักมากตลอดเวลา 2.ผู้สูบบุหรี่จัด 3.นั่งทำงานนานๆ หรือก้มๆ เงยๆ นาน ดังนั้นผู้ปกครองอาจโล่งใจได้เปราะหนึ่งที่ลูกอาจไม่เสี่ยงเป็นโรคที่กล่าวมาข้างต้น
แต่ใช่ว่าการแบกเป้ใบโตไปโรงเรียนจะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่าการสะพายกระเป๋าหนักเกิน 15 % ของน้ำหนักตัว จะทำให้เด็กๆ จะมีอาการปวดบ่า ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลังเรื้อรัง และส่งผลต่อการแสดงท่าทางผิดปกติ เช่น หลังงอ หลังงุ้ม และยังเผยผลวิจัยเด็กๆ ช่วงชั้นม.1-ม.4 เป็นวัยที่สะพายกระเป๋าหนักที่สุด

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกๆ มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังจากเจ้ากระเป๋าวายร้าย
- เด็กๆ ควรแบกเป้ให้อยู่ 75 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นหลัง
- ไม่ควรใช่เป้ใหญ่กว่าลำตัว
- สายสะพายควรมีแพตช์กว้างประมาณ 2 นิ้ว สำหรับรองรับน้ำหนัก
- เป้ควรมีแผ่นรองหลัง
- สวมสายสายรัดเอวและอก