เราต่างรู้ดีว่า การสร้างครอบครัว เป็นพ่อแม่ และ เลี้ยงดู เด็กคนหนึ่ง ให้เติบโต อย่างมีคุณภาพ ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ นั้น ต้องใช้ทั้ง ความพร้อม ความตั้งใจ ความอดทน รวมถึง สถานะ ทางการเงิน ที่ดี เพียงพอที่จะ สรรหา ปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการเติบโต ของเด็กคนหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่แปลกเลย ที่พ่อแม่ หลายคน ต่างทุ่มเท ทำงานหนัก และพยายาม จัดการ จัดสรรชีวิต ให้ลงตัว เพื่อ ครอบครัว ในแต่ละวัน จนบางครั้ง อาจเกิด ความอ่อนล้า และหมดไฟ หรือ ภาวะ ที่เราเรียกกันว่า ภาวะพ่อแม่หมดไฟ หรือ Parental burnout มาดูกันว่า หากตกอยู่ ในภาวะแบบนี้ ควรทำอย่างไร

Parental Burnout หรือ ภาวะหมดไฟ ที่เกิดขึ้นในพ่อแม่ มีสาเหตุมาจาก ความเหนื่อยล้า ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ที่เกิดจาก การเลี้ยงดูลูก และอาจสะสม จนกลายเป็น อาการเครียดเรื้อรัง ซึ่ง ปัจจัยที่ก่อนั้น อาจรวมตัว จากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจมีทั้ง ความเครียด จากที่ทำงาน ภาระหน้าที่ ทั้งนอกบ้าน และในบ้าน ไม่มีเวลาส่วนตัว หรือ เวลาพักผ่อน ให้ตัวเองมากพอ พ่อแม่บางคน ที่มีอาการนี้ อาจเกิดความละอายใจ ที่ตัวเอง เกิดความรู้สึกแบบนี้ และเลือกที่จะเก็บซ่อน ไม่พูดถึง ไม่ยอมรับ ซึ่งอาจ ทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิต ตามมาได้

หากคุณมีอาการเหล่านี้ อาจเสี่ยงเป็น ภาวะพ่อแม่หมดไฟ
- รู้สึก อ่อนล้า เหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง จะทำอะไร
- รู้สึก หงุดหงิดง่าย งุ่นง่านไปหมด
- รู้สึก โดดเดี่ยว แยกตัว ไม่อยาก สุงสิงกับใคร
- ขาด แรงกระตุ้น แรงจูงใจ ในการดูแลลูก ๆ
- เกิด ความเบื่อหน่าย ในกิจกรรม ที่เคยชอบ หรือ สนุกกับมัน
- เกิด ผลกระทบ กับการกิน การนอน การใช้ชีวิตประจำวัน
- มีการ ทะเลาะเบาะแว้ง ระหว่างพ่อแม่ หรือ กับลูก ๆ มากขึ้น
- สูญเสีย ความมั่นใจ ในการทำหน้าที่ ของพ่อแม่
ซึ่ง อาการ และ ปัจจัยต่าง ๆ อาจ แตกต่างกันไป ในแต่ละบุคคล หรือ บางครั้ง อาจเกิดจาก ปมในจิตใจ สมัยเด็ก จากประสบการณ์ หรือ บาดแผลต่าง ๆ ที่ส่งเสริม ให้เกิด ความไม่มั่นใจ ในการเป็น พ่อแม่ที่ดี หรือ เกิดการ ด้อยค่าตัวเอง ได้

รับมือกับ อาการหมดไฟ ของพ่อแม่ อย่างไรดี
หากปล่อย ภาวะ Parental burnout ไว้ เป็นเวลานาน อาจเกิดเป็น ปัญหา ความเครียดเรื้อรัง และส่งผล ให้เกิดปัญหา ทั้งสุขภาพกาย และ สุขภาพจิต ต่อไป หรือ อาจเกิดเป็น ภาวะซึมเศร้า ได้ จึงไม่ควรปล่อยผ่าน และ หมั่นสังเกตตัวเอง
สื่อสาร กับผู้คนรอบข้าง
เมื่อรู้สึก เกิดภาวะ ไม่มั่นคง ทางอารมณ์ หรือ สังเกตเห็น สัญญาณต่าง ๆ อย่าลังเล ที่จะสื่อสาร บอกกล่าว กับคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด แบ่งเบาปัญหา และแชร์ความรู้สึก ให้คนอื่นรับรู้ โดยไม่จำเป็น ต้องแบกรับภาระ ไว้คนเดียว ก่อนที่ มันจะสะสม จนกลายเป็นปัญหา ลุกลามใหญ่โต เปิดใจตัวเอง และหาทางออกร่วมกัน ไม่ต้องกลัว ที่จะขอความช่วยเหลือ จากคนอื่นบ้าง
ใส่ใจ ดูแลตัวเองบ้าง
การดูแลครอบครัว เลี้ยงลูก อาจกินเวลา และ ใช้พลังงานมหาศาล จนทำให้ พ่อแม่หลายคน หลงลืม ที่จะให้เวลา ในการดูแลตัวเอง ทั้งการนอนหลับ พักผ่อน ออกกำลังกาย กินอาหาร ที่มีประโยชน์ ให้เพียงพอ ให้เวลาตัวเอง ได้พักผ่อน ผ่อนคลายตัวเองบ้าง ติดเสียว่า เมื่อตัวเองแข็งแรงแล้ว จะได้ไปดูแลลูก ๆ ต่อได้
อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป
ไม่ว่าจะเป็น ความคาดหวัง ที่มีต่อตัวเอง หรือ จากสังคม ภาระหน้าที่ ต่าง ๆ อะไรที่แบกจนหนักเกิน ให้ปล่อยวางลงเสียบ้าง ไม่จำเป็นต้อง กดดันตัวเอง จนเกินไป ไม่จำเป็นต้อง เป็นคนที่ สมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง ก็ได้ ใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น และมันไม่ผิด ที่จะแสดงความรู้สึกต่าง ๆ ออกมา และอย่าลืมว่า เราสามารถ ขอความช่วยเหลือ จากคนอื่นได้
เมื่อสังเกตว่า ตนเองเริ่มมีอาการของ Parental burnout การเข้ารับการรักษา และให้คำปรึกษา จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นอีกทางหนึ่ง ที่อยากให้ทุกคน ได้ลองเปิดใจดู เพื่อเป็นการป้องกัน ปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ ในระยะยาวภายหลัง อย่าลืมว่า การดูแลตนเองนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ดี ที่ช่วยเสริมสร้าง ครอบครัวที่อบอุ่นแข็งแรงได้
อ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับราชวงศ์ ทั้งไทย และ ต่างประเทศ เซเลบริตี้ ข่าวสารใหม่ ๆ และ เรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่น สุขภาพ และความงามได้ที่ Hello!