Home > Education > Interviews > Experts > เพราะอะไรผู้เชี่ยวชาญถึงมองว่า เด็กที่มีสมอง ‘อ่อนไหว’ ง่าย มีความได้เปรียบ 

ผู้ปกครองอาจทำให้ เด็กอ่อนไหวง่าย รู้สึกว่าตัวเองมีอะไรผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งนักวิจัยด้านการเลี้ยงดูเด็ก มักจะเจอะเจอปัญหาดังกล่าวนี้ ท่ีเกิดขึ้นกับ เด็กอ่อนไหวง่าย อยู่บ่อยครั้ง 

ผู้ปกครองจำนวนมากมองว่า ความอ่อนไหวเป็นเรื่องไม่ดี เพราะทำให้ลูกต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ถูกกระทำ หรือแม้กระทั่งถึงขั้นอ่อนแอ และทำให้ลูกๆ ไม่มีความมั่นใจ ด้วยการสั่งให้พวกเขา ‘หยุดร้องไห้เดี๋ยวนี้’ หรือไม่ก็ให้ ‘สลัดทิ้งไปเสีย’ 

แต่นักจิตวิทยา และนักประสาทวิทยา กลับพบว่า ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เด็กอ่อนไหวง่าย มีความได้เปรียบซึ่งหาได้ยาก

การเอาใจเขามาใส่ใจเรา’ เป็นข้อได้เปรียบของ เด็กอ่อนไหวง่าย 

เด็กอ่อนไหวง่าย ไม่เพียงมีความคิดสร้างสรรค์ การตระหนักรู้ และใจที่เปิดกว้าง มากกว่าเด็กอื่น แต่ยังมีคุณสมบัติที่คนทั่วไป ไม่ค่อยให้ความสำคัญนัก นั่นคือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา 

ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง นักวิจัยให้ผู้เข้าร่วม ดูรูปถ่ายของคนที่กำลังยิ้ม หรือไม่ก็คนที่ดูเศร้า พวกเขาพบว่า เด็กที่อ่อนไหวง่าย จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ที่แสดงถึงการเอาใจเขามาใส่ใจเราในระดับสูงสุด 

สมองของพวกเขาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนจะสว่างไสว ซึ่ง เด็กที่อ่อนไหวง่าย เท่านั้นที่รายงานตัวเองว่า พวกเขาไม่สามารถทนเห็นคนแปลกหน้าเจ็บปวด โดยไม่รู้สึกอยากช่วยเหลือได้เลย 

เด็กอ่อนไหวง่าย
Photo: Getty Images

และด้วยความที่เด็กอ่อนไหวง่าย จะได้รับผลกระทบจากประสบการณ์มากกว่าเพื่อน พวกเขาจึงสมควรได้รับการสนับสนุน การฝึกฝน และกำลังใจ มากกว่าเด็กคนอื่น ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จสูง 

แล้วลูกคุณมีสมองที่อ่อนไหวง่ายหรือเปล่า 

ตามที่นักจิตวิทยา อีเลน แอรอน ผู้บัญญัติคำว่า ‘คนที่อ่อนไหวง่าย’ บอกว่า จากการศึกษาพบว่า มีเด็กราว 1ใน 5 ที่อ่อนไหวง่าย 

และนี่คือ 12 สัญญาณ ที่บ่งชี้ว่าลูกคุณเข้าข่ายอ่อนไหวง่าย 

1. พวกเขาสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่นครูสวมชุดใหม่มาโรงเรียน หรือมีการโยกย้ายเฟอร์นิเจอร์ในห้องพักครู

2. พวกเขาได้รับผลกระทบจากอารมณ์ของคนอื่น จึงซึมซับอารมณ์ของคนรอบข้างได้ง่ายมาก และจะรู้สึกแบบเดียวกับความรู้สึกของตัวเองเลย 

3. พวกเขาสลัดอารมณ์ที่เข้มข้นออกได้ยาก อย่างเช่นความรู้สึกโกรธ หรือความวิตกกังวล

เด็กอ่อนไหวง่าย
Photo: Getty Images

4. พวกเขาบ่นเมื่อรู้สึกว่า ผ้าปูที่นอนทำให้ระคายเคืองผิว ป้ายยี่ห้อบนเสื้อผ้าที่ทำให้คัน เอวยางยืดที่แน่นจนเกินไป

5. พวกเขาจะรู้สึกเครียด และอ่อนเพลีย เมื่ออยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่ยุ่งเหยิง และอึกทึกครึกโครม อาทิเช่น โรงยิม หรือแผนกน้ำหอมที่ส่งกลิ่นแรงจนฉุน

6. พวกเขาไม่ชอบถูกเร่งรัด แต่ชอบทำอะไรอย่างรอบคอบมากกว่า 

7. พวกเขาชอบการฝึกที่นุ่มนวล มากกว่าการออกคำสั่งที่กระโชกโฮกฮาก  

8. พวกเขามีความคิดเห็นที่แหลมคม และดูเฉลียวฉลาดเกินวัย

9. พวกเขามีอารมณ์ขันที่ฉลาด

10.พวกเขาสามารถอ่านคนออก และสรุปความคิด หรือความรู้สึก ที่ถูกต้องแม่นยำได้อย่างน่าประหลาดใจ

11. พวกเขาปฏิเสธที่จะรับประทานอาหาร เพราะไม่ชอบกลิ่นหรือรสสัมผัส

12. พวกเขาตกใจเสียงดังได้ง่าย หรือรู้สึกไว ยามมีใครย่องเข้าหา  

เด็กอ่อนไหวง่าย
Photo: Getty Images

ถ้าหากลูกคุณมีคุณสมบัติเหล่านี้ ข้อใดก็ตาม พึงจำไว้ว่าเป็นเรื่องดี เด็กที่อ่อนไหวง่ายจะมีปฏิกิริยาต่อสภาพแวดล้อมของตัวเองแตกต่างกันไป และนี่คือจุดแข็งของพวกเขา 

ผู้ปกครองจะช่วยส่งเด็กอ่อนไหวง่ายสู่ฝั่งฝันได้อย่างไร 

1.ตั้งความคาดหวังไว้ล่วงหน้า 

เด็กที่อ่อนไหวง่ายต้องการเวลา ในการคิดอย่างระมัดระวัง และการตั้งความคาดหวังล่วงหน้า ก็เพื่อให้พวกเขามีทางเลือก พวกเขารู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เมื่อทำตามความคาดหวังสำเร็จ และยังรู้ว่าจะเกิดอะไรตามมา ถ้าพวกเขาทำไม่สำเร็จ

2. ฝึกมีวินัยอย่างนุ่มนวล 

เด็กอ่อนไหวง่ายจะรู้สึกไวกว่าคนอื่น พวกเขาเจ็บปวดทางอารมณ์ง่าย และรับการฝึกแบบส่วนตัวได้ดี ดังนั้นทางที่ดีคือให้พวกเขาหยุดชั่วคราว และสร้างสิ่งที่ทำให้พวกเขาสงบนิ่ง ด้วยสิ่งต่างๆต่อไปนี้ 

ยกตัวอย่างเช่น ตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่น ผ้าห่มหนาหนัก ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถไปต่อได้ ยามมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ หลังจากการฝึกวินัย ก็ควรให้คำชม และทำให้พวกเขาเห็นว่าคุณรักพวกเขามากแค่ไหน

3. เป็นโค้ชอารมณ์ให้พวกเขา 

ในฐานะผู้ปกครอง คุณได้กลายเป็นแบบอย่างการควบคุมอารมณ์ ไปโดยไม่รู้ตัวเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเครียด หรืออาการสติแตก ยิ่งคุณตั้งใจทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่างมากเท่าไร ก็จะย่ิงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเขามากขึ้นเท่านั้น 

Photo: Getty Images

4.สนับสนุนพวกเขา 

ปรึกษาครูของลูกเกี่ยวกับความอ่อนไหวง่ายของลูก ตั้งแต่เริ่มต้นปีการศึกษา ก่อนที่ความขัดแย้ง หรือความเข้าใจผิด จะเกิดขึ้น และเมื่อไรก็ตามที่ลูกคุณรู้สึกอ่อนไหว อย่างความเข้าใจหัวอกเพื่อน ที่ต้องผ่านช่วงเวลายากลำบาก ให้บอกพวกเขาว่า คุณภูมิใจในตัวเขามากแค่ไหน

5.อยากรู้เรื่องโลกส่วนตัวของลูก 

จัดเวลาพูดคุยแ ละเล่นกับลูกแบบตัวต่อตัว โดยแยกจากลูกคนอื่นๆ อาจเริ่มด้วยการถาม คำถามปลายเปิด เช่นว่า วันนี้เจออะไรยากๆบ้าง เพื่อสร้างบทสนทนายาวๆ พยายามทำความเข้าใจประสบการณ์ทางร่างกาย โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของพวกเขา คุณอาจได้รับคำตอบที่ไม่คาดฝันก็เป็นได้ 

ที่มา :cnbc.com

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.