Home > Education > Interviews > Parenting > เลี้ยงลูกยุคใหม่ ทำอย่างไรถึงจะจัดเวลาสมดุล ‘หน้าจอ’ ให้กับลูกได้ดี

เลี้ยงลูกยุคใหม่ พ่อแม่ต้องใส่ใจเรื่องเทคโนโลยี เพราะ ‘เทคโนโลยีไม่ดี ไม่เลว และไม่เป็นกลาง’ คือ 1 ใน 6 กฏที่กำหนดบทบาทของเทคโนโลยีในสังคม ที่นักประวัติศาสตร์เทคโนโลยีชาวอเมริกันผู้ล่วงลับ เมลวิน ครานซ์เบิร์ก เคยกล่าวไว้ 

Heather Kirkorian  ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการพัฒนาการทางสติปัญญาและสื่อ แห่ง University of Wisconsin-Madison บอกว่า ในอดีต โทรทัศน์กลายเป็นผู้ร้ายของเด็ก เจนเอ็กซ์ และ หน้าจอ กำลังกลายเป็นภัยคุกคามเด็ก เจนซี และเจนถัดจากนั้นไปเสียแล้ว

แต่จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า เด็กวัยอนุบาลในยุค ’70-‘80 สามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ่านทีวี โดยเฉพาะรายการ Sesame Street ที่ช่วยให้เด็กวัยอนุบาลสามารถเรียนรู้คำศัพท์ ตัวเลข การอ่าน การออกเสียง และมีความพร้อมในการเรียนรู้มากกว่า แล้ว หน้าจอ ส่งผลอย่างไรต่อเจนถัดจากนั้นเล่า

หน้าจอ
Photo:Unsplash

มาในยุคนี้พ่อแม่ผู้ปกครองต่างก็เป็นห่วงว่า โลกดิจิทัลจะเข้าครอบงำ และค่อย ๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมของเด็กรุ่นหลัง แต่สำหรับ Anya Kamenetz ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Art of Screen Time กลับเห็นต่างว่า 

‘ทุกวันนี้ สิ่งแวดล้อมดิจิทัลมีอยู่ทุกหนแห่ง และนับวันจะยิ่งแพร่หลาย มีนักวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เสนอว่า ถ้าหากพ่อแม่มัวจำกัดเวลาการใช้ หน้าจอ เพื่อแทรกแซงเพียงอย่างเดียว พวกเราจะไม่สามารถเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกความจริงอย่างที่เป็นอยู่ เพราะพวกเขาจำเป็นต้องเห็นโลกอย่างที่มันเป็น เพื่อจะเข้าใจว่าโลกเป็นอย่างไร’

และเมื่อพ่อแม่มีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีของลูกมากกว่าเดิม ความเสี่ยงก็จะลดลงมาก ขณะเดียวกันผลกระทบเชิงบวกก็จะเพิ่มสูงขึ้น 

หน้าจอ
Photo:Unsplash

แล้วสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย จำเป็นต้องใช้ หน้าจอ แตกต่างกันอย่างไร?

เลี้ยงลูกยุคใหม่ ในช่วงปฐมวัย 

การ เลี้ยงลูกยุคใหม่ ในเชิงบวกด้วยสื่อ หมายถึงการช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้จากหน้าจอตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กวัยก่อนเข้าเรียนเป็นช่วงที่พ่อแม่ ยังสามารถกำกับดูแลการใช้สื่อของลูกได้มากที่สุด จึงเป็นช่วงเวลาที่ควรใส่ใจที่สุด เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กยังคงสนใจพ่อแม่ ซึ่งเด็กวัย  12 เดือนขึ้นไปมีแนวโน้ม ที่จะดูจอตามที่พ่อแม่ดู 

เพื่อประโยชน์ของเด็ก พ่อแม่จึงควรเป็นผู้นำลูกในการดู หน้าจอ โดยดู และเล่นไปพร้อมลูก และใช้สื่อร่วมกัน ควรใช้แอพหรือวิดีโอแบบเดียวกับการอ่านหนังสือภาพ ต้องจับเขานั่งบนตัก ขานชื่อวัตถุต่าง ๆ พูดคุยกับลูกว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และคอยถามคำถาม 

หน้าจอ
Photo:Unsplash

ช่วง 8-12 ขวบ

พ่อแม่ควรทำให้เด็กเข้าใจว่า เนื้อหา และรูปแบบการใช้สื่อมีความแตกต่างหลากหลาย  ทั้งที่เหมาะกับพวกเขา และคอนเทนท์ที่มีความรุนแรง คุณภาพต่ำ หรือเน้นเชิงพาณิชย์มากไป และควรทำให้เขาเข้าใจว่าความต้องการของผู้ใหญ่และเด็กนั้นแตกต่างกัน 

Edith Ackermann ผู้เขียนเรื่องทักษะความเข้าใจ- และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบอกว่า ที่สำคัญ ‘ยาต้านพิษที่ใช้ได้ดีสำหรับการใช้ หน้าจอ การดูทีวี หรือการเล่นวิดีโอเกมที่มากเกินพอดี คือการนำการเล่นในจอออกมาอยู่ในชีวิตนอกจอของเด็ก ๆ’  

ข้อพึงระวังในการใช้ ‘หน้าจอ’ของลูกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ 

1.ควรรักษาสมดุลระหว่างเวลาใช้ หน้าจอ กับกิจกรรมที่ไม่ใช้จอ บางครั้งอาจหมายถึงการหาสมดุลด้วยการเพิ่มเวลาใช้จอ เป็นช่วงเวลา ‘เสริมจอ’ แทรกในกิจกรรมทั้งหมด  

2.ถ้าเป็นไปได้ เด็กควรดู หน้าจอ พร้อมกับพ่อแม่ และเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเข้าไปในประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อและประสบการณ์ผ่าน หน้าจอ

3.การมีตู้หนังสือที่มีหนังสือวางเต็มช้ันไม่ได้ทำให้ลูกคุณฉลาดขึ้น แต่การให้ลูกมีส่วนร่วมกับการอ่าน จะช่วยเรื่องการอ่านของพวกเขา เช่นเดียวกับการเรียนรู้จากสื่อสองมิติรูปแบบใดก็ตาม 

หน้าจอ
Photo:Unsplash

4.พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องดู หน้าจอ พร้อมกับลูกตลอดเวลา เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น พวกเขาจะเริ่มมีสมาธิสามารถจดจ่อกับสิ่งตรงหน้าได้เป็นเวลานานขึ้น และมีทักษะการเรียนรู้จาก หน้าจอ ได้โดยตรง คุณจะเริ่มรู้ว่าสามารถปล่อยให้พวกเขาอยู่กับ หน้าจอ ได้เอง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม 

5.สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ คือการพูดคุยเรื่อง หน้าจอ กับลูกแบบธรรมดานี่แหละ ลูกจำเป็นต้องรู้ว่าคุณคิดยังไงเกี่ยวกับ หน้าจอ ที่พวกเขากำลังบริโภค

6.พ่อแม่มีอิทธิพลมากกว่าที่คิด พ่อแม่เป็นผู้ประกาศข่าวคนแรกที่ส่งเสียงดังที่สุดในชีวิตลูก พวกเขามีแนวโน้มที่จะทำตามสิ่งที่พ่อแม่ทำมากกว่าสิ่งที่พ่อแม่พูด ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก เป็นตัวกำหนดน้ำหนักคำพูดเรา 

แม้ว่าขณะนี้ จะยังไม่มีหลักสูตรใดที่พิสูจน์แล้วหรือเป็นที่รู้จัก สามารถสอนเด็กเล็กให้ตอบคำถามหรือคิดวิเคราะห์ข้อมูลภาพ ระหว่างที่พวกเขาเรียนรู้ที่จะอ่านภาพ ฟัง และพูดเต็มประโยคพร้อม ๆ กัน 

สำหรับพ่อแม่ที่กำลังมองหาวิธี เลี้ยงลูกยุคใหม่ ต้องเข้าใจว่าไม่มีหลักสูตรใดที่สามารถสอนให้เด็กโต แสวงหามิตรภาพและความสนใจบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย เราต้องเป็นต้นแบบที่ดี ต้องมีความสงสัยใคร่รู้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ เราต้องใส่ใจ และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาในขณะที่ลูก ๆ ยังรับฟังเรา  

ที่มา : The Art of Screen Time โดย Anya Kamenetz สำนักพิมพ์ bookscape 

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.