เปิดหนังสือเสริมหลักสูตรพยัญชนะไทย ‘ร่วมสมัย ๒๕๖๑’ โดยศิลปินทายาทศิลปิน ญาณพล วิเชียรเขตต์
แบบเรียนตัวอีกษรไทย ที่หลายคนที่อยู่ในวัยเฉียด 40 -50 ปียังคงจดจำได้ดี ก็คือหนังสือภาพพร้อมบทกลอนที่คล้องจองจำง่าย อย่าง ก.เอ๋ยก.ไก่ ข.ไข่อยู่ในเล้า ฃ.ฃวดของเรา กระทั่งถึงฮ.นกฮุกตาโต แต่่จากนั้นบทกลอนนี้ก็ได้กลืนหายไปกับกระแสกาลเวลา มีบทท่องจำก.ไก่-ฮ.นกฮุก หลากหลายเวอร์ชั่นผุดขึ้นในท้องตลาดมากมาย แต่ก็ไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้แก่ตลาดหนังสือเท่าใดนัก
กระทั่งเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก็ได้มีหนังสือเล่มใหม่ที่่เขียนโดยปฏิมากรชื่อดัง ญาณพล วิเชียรเขตต์ ทายาทของศิลปืนแห่งชาติ สาขาปฏิมากรรม ชำเรือง วิเชียรเขตต์ และปฏิมากรหญิงผู้้ล่วงลับ เสาวภา วิเชียรเขตต์ ชื่อว่า “พยัญชนะไทย ‘ร่วมสมัย ๒๕๖๑'” ซึ่งอาจารย์ญาณพลหรือครูแอ๊ดของเด็กๆบอกเราถึงแรงบันดาลใจในการทำหนังสือเล่มนี้ว่า
บังเอิญผมมีโอกาสสอนนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในกทม. ซึ่งโดยมากเป็นเด็กมีปัญหาครอบครัว มีเด็กหลายคนที่คุณครูบอกผมว่า ไม่น่าเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะจำพยัญชนะไทยได้ไม่ครบ ทำให้มีปัญหาเรื่องการอ่านมาก จึงอยากให้ผมช่วยหาวิธีสอนเด็กให้สามารถจดจำตัวอักษรไทยได้จะดีมาก คืนนั้นผมเลยเริ่มทำทันที”
อาจารย์ญาณพลใช้เวลายามค่ำคืนในการออกแบบพยัญชนะไทย เป็นเวลานานหลายปี โดยสมมติว่าตัวเองเป็นคนจำยาก “ก็ต้องผสมผสานอะไรหลายๆอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจินตนาการ ก็ต้องมาคิดว่ามีอะไรที่พอจะเป็นสัญลักษณ์ช่วยจำให้เราได้บ้าง เหมือนอย่างที่เราเคยท่องอาขยาน ซึ่งอันนั้นดีมาก เพราะช่วยให้จำง่าย แต่น่าเสียดายที่มาตอนนี้หนังสือเล่มนั้นไม้ได้รับการตีพิมพ์อีกต่อไปแล้ว”
จากประสบการณ์ทางศิลปะเกือบหกสิบปีที่สั่งสมมา อาจารย์ญาณพลนำมารวมกับศิลปะ “ด้วยความที่ผมป็นช่างปั้นก็เอาประสบการณ์ทางศิลปะมาตกผลึกและย่อยออกมา ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ที่จะผสานรูปกับพยัญชนะใ้ห้เข้ากัน ได้ทั้งความหมายและความสวยงาม”
หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว เขาได้กลับไปยังโรงเรียนเดิมเพื่อให้เด็กๆดู รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อดูปฏิกิริยาของบรรดาเด็กๆ “ก็ไปเขียนก.ไก่ตัวโตๆสวยเลย ไก่ตัวผู้ขันยังไง แล้วผมก็ขันให้ดูเลยนะ ก็สนุกสนานเลย
“ตัวอักษรชุดนี้มีทั้งโมเดิร์นและไม่โมเดิร์น แล้วแต่ลักษณะของตัวอักษรและความหมาย ที่จะนำพาเราจินตนาการไปกับเขาได้ บางครั้งก็เป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขา ตอนแรกผมเขียนฏ.ปฏักแล้วลงสีสวยงาม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุลซึ่งกรุณาเป็นที่ปรึกษาในการทำหนังสือเล่มนี้ให้ผม ท่านบอกว่าปฏักสีสันเฟี้ยวฟ้าวมากไม่ได้ เพราะเด็กจะไม่เข้าใจว่าของดั้งเเดิมเป็นยังไง เพราะเล่มนี้จะเป็นตำราที่ใช้กันตลอดไป ท่านพูดมีเหตุผล ผมก็เลยดึงกลับมาแก้ให้ปฏักเป็นสีไม้ไผ่”
นอกจากนี้ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ยังทำข้ึ้นเพื่อเด็กนักเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ภาษาไทยไม่ค่อยคล่องและชาวต่างชาติที่สนใจภาษาไทยอีกด้วย “เราเน้นนักเรียนโรงเรียนนานาชาติและชาวต่างชาติที่อยากเข้าใจภาษาไทย สามารถเรียนรู้จากหนังสือเล้มนี้ได้อย่างง่ายดาย จริงๆอยากมีภาษาจันด้วย แต่คุณชายปรีดิยาธรบอกว่าเทานี้ก็พอแล้ว” อาจารย์์ญาณพลพูดพลางหัวเราะเบาๆ
ในอนาคตอันใกล้อาจารย์ญาณพลจะมีหนังสือเล่มต่อไปในชื่อ “พยัญชนะอังกฤษ ‘ร่วมสมัย 2562′” ออกมาอีกเล่ม “บางคนก็แย้งว่าภาษาอังกฤษหลากหลายมาก ไม่เหมือนพยัญชนะไทย แต่มีพระด็อกเตอร์รูปหนึ่งท่านบอกว่า ที่คุณคิดน่ะถูกต้องแล้ว เด็กจะได้มีสักตัวหนึ่งเป็นหลักในการจำ แล้วต่อไปเด็กก็ไปแตกเอง ไม่ใช่ว่า A จะเป็น Ant มดอย่างเดียว ผมก็เลยกลับมาทำ ซึ่งง่ายกว่าและน้อยกว่าด้วย”
อาจารย์ญาณพลบอกเราอีกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเงินทอง แต่เพื่อให้เด็กจำพยัญชนะไทยได้อย่างครบถ้วน ตามที่รับปากกับอาจารย์ที่โรงเรียน “ผมไม่ได้คิดถึงเงินทองนะ แต่เพื่อช่วยเด็กๆในการท่องจำภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนโรงเรียนนานาชาติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษอาจต้องการเล่มนี้มากกว่าใคร ถ้าเราช่วยพวกเขาได้แค่นี้ผมก็มีความสุขที่สุด แม้ตัวผมตายไปแล้วตำราเล่มนี้ก็ยังอยู่คู่โลกตลอดไป”