เพราะอะไรประเทศที่เคยยากจนอย่างเกาหลีใต้ ถึงได้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในเวลาไม่กี่ทศวรรษ ทำไมประเทศที่เคยล้าหลัง ถึงได้สามารถส่งออกวัฒนธรรมของตัวเองจนทำให้เกิด กระแส Korean Fever ขึ้นในโลกยุคศตวรรษที่ 21 นี้ เพราะอะไร…นั่นก็เพราะชาวเกาหลีใต้ มี ทักษะการประเมินสถานการณ์ นั่นไงเล่า ‘นุนชี่’ แปลตรงตัวว่า การวัดด้วยสายตา แต่ความหมายที่แท้จริงก็คือ ความสามารถในการเล็งเห็นสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น หมายความว่านอกจากจะมีความสามารถในการคาดคะเนด้วยสายตาแล้ว ยังจะต้องมีความสามารถในการมองเห็นภาพ มีความสามารถในการฟัง และใส่ใจในรายะละเอียด ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่เอื้อให้คน เกาหลีใต้ ที่มี ‘นุนชี่’ สามารถ ประเมินสถานการณ์ ตรงหน้าได้อย่างเฉียบแหลม (เกาหลีใต้ ทักษะการประเมินสถานการณ์)
คนที่มี ‘นุนชี่’ในตัว จะมองเห็นว่าคิวรอจ่ายเงินในซูเปอร์มาร์เก็ตคิวไหนที่สั้นที่สุด หรือรู้ว่าช่วงนี้ยังไม่ควรคุยกับเพื่อน โดยสังเกตจากท่าทาง คำพูด หรือสีหน้า ซึ่งจะต้องเปิดประสาทสัมผัสทั้งห้าให้กว้างเข้าไว้ จึงถือได้ว่านุนชี่เป็นความฉลาดทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง

เด็กเกาหลีใต้ จะได้รับการปลูกฝังเรื่อง ทักษะการประเมินสถานการณ์ หรือ ‘นุนชี่’ ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสามขวบ และจะเรียนรู้เรื่องนี้ทั้งในบ้านและที่โรงเรียน เพราะโรงเรียนในเกาหลีใต้ไม่มีภารโรง เด็กนักเรียนจะต้องทำความสะอาดโรงเรียน เอาขยะไปทิ้ง และขัดห้องน้ำเอง
เด็กเกาหลีใต้ จะเรียนรู้ ทักษะการประเมินสถานการณ์ จากผลลัพธ์ของการกระทำของตัวเอง ให้ความเคารพสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เด็ก การประพฤติตนเป็นพลเมืองดีและการเคารพสิทธิของกันและกัน ถือเป็นเสาหลักของสังคมเกาหลีใต้
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหากเด็กเกาหลีใต้เข้าลิฟต์ และทุกคนในลิฟต์ต่างก็ยืนอยู่ทางด้านขวา ถ้าหากเด็กเข้าไปยืนทางด้านซ้าย ผู้ปกครองของเด็กก็จะตำหนิเด็กว่า ‘ทำไมไม่มีนุนชี่เอาเสียเลย?!?’ นอกจากจะเป็นการตำหนิเด็กว่าหยาบคายแล้ว ยังเป็นการสอนให้เด็กรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อมอีกด้วย

‘นุนชี่’ ไม่เพียงเป็นการสอนเรื่องมารยาท แต่ยังสอนให้เด็กทำความเข้าใจธรรมชาติของความสัมพันธ์ และลำดับชั้นของสังคม มองเห็นสภาวะอารมณ์โดยรวม อีกทั้งยังเป็นการสอนให้เด็กรู้จักสังเกตบริบทและบทบาทของผู้คนแบบเรียลไทม์อีกด้วย ไม่ว่าคนๆนั้นจะกลอกตา อีกคนขอโทษ ใครหัวเราะ หรือใครกำลังช่วยเหลือ
การจับสังเกตเหล่านี้จะกลายเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจว่าจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างไรได้ดี ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าสังคมอย่างฉลาด และทำให้คนรอบข้างมีความสุขที่จะได้พูดคุยกับคนที่มี ‘นุนชี่’
ในหนังสือเรื่อง นุนชี่ พลังแห่งการสังเกตชีวิต ที่เขียนโดย Euny Hong แปลโดยณิชารีย์ ผาติทิต ชี้ให้เห็นว่า
‘คนเราไม่จำเป็นต้องเก่งท่ีสุด เพื่อท่ีจะได้รับชัยชนะ ตราบเท่าที่เรามี ‘นุนชี่’ ที่ว่องไว และ
ในเกาหลี สิ่งที่ไม่ถูกกล่าวออกไปนั้นสำคัญพอๆกับสิ่งที่พูดออกมา’

ทว่าการพัฒนา ‘นุนชี่’ หรือ ทักษะการประเมินสถานการณ์ ของชาว เกาหลีใต้ ไม่ได้หมายความว่าคนที่มี ‘นุนชี่’ จะกลายเป็นแมงเม่า ซึ่งมักจะมีความคิดแบบฝูงทำให้จบชีวิตด้วยการตายหมู่ เพราะไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แต่เป็นความสามารถในการประเมินสถานการณ์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ เพื่อตัวเองและเพื่อคนอื่น หรือที่คนไทยอย่างเราๆชอบชมคนที่มี ‘นุนชี่’ ว่า ‘อยู่เป็น’ นั่นเอง
นอกจากนี้เด็กที่มี ‘นุนชี่’ และอาจมีแนวโน้มที่จะฉลาดแกมโกง ก็อาจใช้ ‘นุนช่ี’ ในการต่อรองเพื่อให้ตัวเองเป็นฝ่ายได้เปรียบอีกด้วย ในกรณีนี้หากเปรียบกับ ‘นุนชี่’ แบบไทยๆก็คงไม่ต่างจากศรีธนญชัยนัก จึงควรสอนให้เด็กใช้นุนชี่ด้วยความระมัดระวัง และมีวิจารณญาณ หากอยากเป็นแบบเด็กเกาหลีมต้