ภายใต้หลักการสอน (Principles of Phoenix) ที่ทางโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา หรือ นานาชาติร่วมฤดี (Ruamrudee International School) ใช้เป็นรากฐานสำคัญมากว่า 60 ปี ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ‘Head’ หมายถึงความรู้ การคิดวิเคราะห์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ‘Hands’ การสร้างทักษะด้วยการให้ลงมือปฏิบัติ จริง และ ‘Heart’ การเอาใจใส่ให้นักเรียนเติบโตอย่างมีความสุขทั้งกายและใจ พร้อมการแบ่งปันสิ่งดีๆ สู่สังคม สอดประสานไปกับหลักสูตรการเรียนการสอนแบบอเมริกันและมาตรฐานระดับสากลของครูผู้สอน ทำให้สถาบันแห่งนี้มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก ( โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี ศิษย์เก่า ที่ประสบความสำเร็จ )
ด้วยคุณสมบัติอันครอบคลุมทุกมิติการศึกษา โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดีจึงเป็นหนึ่งในโรงเรียนนานาชาติชั้นนำของไทย ที่หล่อหลอมเยาวชนให้เปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถและทรงคุณค่าในตัวของตัวเอง เติบโตเป็นประชากรคุณภาพและประสบความสำเร็จในชีวิต ดังเช่นศิษย์เก่าทั้ง 4 ท่าน อย่าง คุณเอิน-อุกฤษ อุณหเลขกะ (RIS Class of 2006) คุณชย จันทร์สมิตมาศ (RIS Class of 2006) คุณเอม-อมฤต เจริญพันธ์ (RIS Class of 2005) และคุณอลิส-อลิสา นภาทิวาอำนวย (RIS Class of 2000)

“ผมเข้ามาเรียนที่ร่วมฤดีตอนเกรด 8 เทียบได้กับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก็เหมือนเป็นเด็กใหม่ แต่ผมกลับไม่ได้รู้สึกว่าแปลกแยก เพราะตั้งแต่วันแรกก็รับรู้ได้ว่าที่นี่เป็นโรงเรียนที่นักเรียนต่างให้ความช่วยเหลือกันเยอะ” คุณเอิน-อุกฤษ อุณหเลขกะ (RIS Class of 2006) เป็นคนแรกที่เล่าถึงความทรงจำที่เขามีต่อโรงเรียนที่เขารัก เขาจบปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์และบริหาร จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Co-Founder & CEO (Thailand) ที่ Ricult สตาร์ทอัพเพื่อสังคมที่มุ่งพัฒนาด้านการเกษตรเป็นหลัก
“ผมเรียนหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher Level คอร์สมีเนื้อหาเข้มข้นเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยปี 1 ของอเมริกาเลย ซึ่งพอเราจบจากที่นี่ ก็สามารถข้ามชั้นไปเรียนต่อที่อเมริกาได้สบายมาก” คุณเอิน-อุกฤษ อุณหเลขกะ

“ด้วยความที่ผมตั้งใจอยากเรียนวิศวะ การเรียนการสอนที่ร่วมฤดีถือว่าตอบโจทย์ ที่นี่มีหลักสูตรวิทย์-คณิตที่แข็งมาก ผมเรียนหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher Level คอร์สมีเนื้อหาเข้มข้นเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยปี 1 ของอเมริกาเลย ซึ่งพอเราจบจากที่นี่ ก็สามารถข้ามชั้นไปเรียนต่อที่อเมริกาได้สบายมาก รุ่นผมน่าจะมีคนสอบติดวิศวะกว่า 20% เลยครับ“
ส่วนเพื่อนสนิทของคุณเอินอย่าง คุณชย จันทร์สมิตมาศ (RIS Class of 2006) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด ซึ่งหลังเรียนจบจากนานาชาติร่วมฤดีแล้ว คุณชยเข้าศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนบินไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Harvard Business School เอ่ยถึงความประทับใจในฐานะศิษย์เก่านานาชาติร่วมฤดีไว้ว่า “ที่นี่สอนเรื่องหลักการคิด การลำดับความสำคัญ ว่าอะไรควรมาก่อนหลัง รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการกระทำอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและมีระบบ เรียกว่าเป็นพื้นฐานทางความคิดตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ตลอดในชีวิตการทำงาน”
“ที่นี่สอนเรื่องหลักการคิด การลำดับความสำคัญ รวมถึงผลกระทบอย่างเป็นระบบ เป็นพื้นฐานทางความคิดตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ตลอดในชีวิตการทำงาน” คุณชย จันทร์สมิตมาศ

ในขณะที่คุณเอม-อมฤต เจริญพันธ์ (RIS Class of 2005) ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสมาชิกของสมาคมวิชาการ Edmund Hillary Foundation (www.ehf.org) เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซในเมืองไทย เป็นผู้วางระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพครบวงจรและผู้ก่อตั้ง HUBBA และ Techsauce Media เอ่ยเสริมในมุมมองด้านการเรียนการสอนของนานาชาติร่วมฤดีไว้ว่า “อย่างหนึ่งที่ผมชอบมาก คือที่นี่มีวัฒนธรรมให้เราได้ลองคิดเอง คุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณก็ต้องไปเสาะแสวงหามาให้จนได้ เราถูกสอนให้เชื่อมั่นในตัวเอง ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เราคิดตัดสินใจทำลงไปว่าผิดหรือถูก โดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำ คอยสนับสนุนให้กำลังใจ ที่สำคัญคือ ที่นี่ปลูกฝังให้เรารู้จักถึงคุณค่าของตัวเองมาตั้งแต่เด็ก คือไม่ได้สอนแค่ให้คิดเป็น แต่สอนให้ใช้ชีวิตเป็นด้วย ซึ่งพอเรามองเห็นคุณค่าของชีวิตตัวเองชัดเจน มันก็เป็นการสร้างคุณค่าและเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้ตัวเราเองในทุกๆ สถานการณ์ของชีวิต”
“เพราะทางโรงเรียนจะจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงเรียนบ่อย ๆ ทำให้เราได้เห็นดีเอ็นเอของของการให้และการช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วย” คุณเอม-อมฤต เจริญพันธ์
ปิดท้ายด้วยสาวสวยของเราในวันนี้ “อลิสใช้ประสบการณ์ในช่วงเรียนที่ร่วมฤดีหลากหลายมาก เรียนชีวเคมีด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็เรียนภาษาด้วย รวมถึงเล่นกีฬาและทำกิจกรรมหลายประเภท เพราะคุณครูสนับสนุนให้เราทดลองค้นหาตัวตนและความชอบของเราในช่วงวัยเด็กอย่างเต็มที่ สุดท้ายแล้วเมื่อเราเรียนจบทำให้โปรไฟล์ของเราค่อนข้างมีพลังและเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์” คุณอลิส-อลิสา นภาทิวาอำนวย (RIS Class of 2000) เอ่ยถึงประสบการณ์ที่เธอได้รับจากรั้วโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี เธอเป็นอดีตนิสิตคณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนบินไปคว้าปริญญาโทที่ University of Warwick ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Co-Founder & Head of Partnerships at Socialgiver ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มที่ทั้งใช้ช็อปและช่วยสังคมในเวลาเดียวกัน
“ที่นี่สอนให้เรายอมรับในตัวตนของเพื่อนทุกคน ถือเป็นการปูทางให้เราเรียนรู้ที่จะเปิดกว้าง และฟังคนอื่นมากขึ้น และยอมรับในความแตกต่าง เพื่อส่งเสริมให้เราเป็น Global Citizen” คุณอลิสา นภาทิวาอำนวย

“ในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ที่นี่สอนให้เรายอมรับในตัวตนของเพื่อนทุกคน ถือเป็นการปูทางให้เราเรียนรู้ท่ีจะเปิดกว้าง และฟังคนอื่นมากขึ้น และยอมรับในความแตกต่าง เพื่อส่งเสริมให้เราเป็น Global Citizen” นอกจากการเรียนการสอนที่เข้มข้นในตำราแล้ว ประสบการณ์นอกห้องเรียน ทั้งด้านกีฬาและการมีส่วนร่วมกับชุมชน ยังถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ทางโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดีให้ความเอาใจใส่ปลูกฝังแก่เด็กนักเรียนทุกคนในทุกระดับชั้น ซึ่งจากการได้เรียนรู้และทดลองลงมือช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่เด็ก ทำให้ศิษย์เก่าทั้ง 4 ท่านนี้เล็งเห็นถึงความสุขของการแบ่งปัน ตลอดจนจุดประกายให้มีพลังสร้างสรรค์ธุรกิจเพื่อสังคมในวันที่พวกเขาเติบโตเป็นหนุ่มสาววัยทำงานรุ่นใหม่
“นักเรียนจะมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมตลอดครับ เพราะทางโรงเรียนจะจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คนและชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงเรียนบ่อยๆ ทำให้เราเห็นว่าไม่ได้เป็นเลิศแค่วิชาการหรือเป็นโรงเรียนชั้นนำหรูหรา แต่ยังมีดีเอ็นเอของการให้และการช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วย” คุณเอมรำลึกถึงความทรงจำในด้านกิจกรรมเพื่อสังคมที่เขามักมีส่วนร่วมกับโรงเรียนเก่าอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งจุดประกายให้เขาหันไปทำงานมูลนิธิหลังเรียนจบปริญญาตรี ก่อนผันตัวเองมาบุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่ถือว่าได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการด้านธุรกิจสตาร์ทอัพมาโดยตลอด ทั้งในเรื่องของสถานที่ มุมมองในการก่อร่างสร้างกิจการไปจนถึงเน็ตเวิร์กต่างๆ ในช่องทางการทำธุรกิจ ล่าสุดเขายังได้ก่อตั้งกองทุนเพื่อกิจการทางสังคมในชื่อ Impact Collective อีกด้วย

“แรงผลักดันหนึ่งที่ส่งเสริมให้อลิสมาทำ Socialgiver ก็มาจากตอนที่เรียนที่ร่วมฤดีเราได้มีโอกาสทำงานอาสาในหลายรูปแบบมากๆ ตอนที่ทำงานประจำก็ใช้เวลาว่างไปทำด้วยเมื่อมีโอกาส ซึ่งในหน้าที่การงานเราดูในเรื่องของห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เรามองเห็นเลยว่ามันมีผลกระทบทางธุรกิจ รวมถึงทางด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย เราสร้าง Socialgiver เป็นเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มที่จะให้คนมาร่วมกันทำความดีได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เป็นการทำความดีที่สามารถ create shared value ให้คนที่เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด win-win-win model กัน เพราะเราต่างเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับกันทั้งนั้น เราอยากส่งเสริมการทำงานภาคสังคมให้โปร่งใสมากขึ้น เกิดผลยังไง ขยายผลไปได้แค่ไหน และเห็นผลจริง” คุณอลิสเล่าถึงแรงบันดาลใจท่ี่ส่งผลให้ธุรกิจเพื่อสังคมของเธอดำเนินมาได้ถึงปีท่ี 5 อย่างงดงามและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนคุณเอินนั้น ต่อยอดจากธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการเกษตรของครอบครัว “ผมอาจจะเป็นนักธุรกิจที่แหวกแนวนิดนึง เพราะไม่ได้อยากมีกำไรมากมายอย่างเดียว แต่ยังมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย เราก็เลยมองว่ามันน่าจะมีธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอะไรที่สามารถช่วยเหลือผู้คนได้ ซึ่งสุดท้ายมันก็คืองานที่เกี่ยวกับการเกษตร เพราะประชาชนไทยเกือบ 40% อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมการเกษตร ตอนนี้ผมเปิดบริษัทมาได้ 3 ปีแล้ว สามารถสร้างรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย และมีส่วนช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ตอนนี้เราน่าจะช่วยเกษตรกรไทยประมาณสองแสนรายได้แล้วครับ”
ด้วยประวัติการเรียนและการทำงานที่ทั้งเปี่ยมพลังและความคิดสร้างสรรค์ ส่งผลให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ทั้ง 4 ท่าน จาก 16 คนไทยได้มีโอกาสได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Obama Foundation Leaders รุ่นแรกพร้อมกับสมาชิกจากเอเชียแปซิฟิกรวม 200 ท่าน ซึ่งมูลนิธินี้ก่อตั้งและมีแกนนำขับเคลื่อนโดย บารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อมองหาผู้นำชุมชนรุ่นใหม่และนวัตกรสังคมที่ทำงานกับชุมชนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ประเทศของตัวเองและโลกใบนี้ เพื่อให้ผู้นำเหล่านี้ได้ศึกษาหาความรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ รวมถึงเพิ่มพูนความสามารถและมีเครือข่ายที่จะช่วยสร้างผลลัพธ์พลังบวกในชุมชน ในประเทศ และในภูมิภาคต่อไป โดยมีผู้นำที่มีชื่อเสียงและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ระดับโลก รวมถึงบารัคและมิเชลล์ โอบามา มาร่วมกันให้คำแนะนำตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิตและการทำงานของศิษย์เก่ามากความสามารถทั้ง 4 ท่านจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดีแห่งนี้