การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาให้กับลูกๆ เป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการดำเนินชีวิต ดังนั้นการคัดสรรทั้งคุณภาพของรูปแบบการศึกษา, คณะครู, สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก และที่ The Apple Tree International Kindergarten Bangkok โรงเรียนเตรียมอนุบาลที่ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี และสวยที่สุดใจกลางกรุงฯ และล่าสุดโรงเรียนได้แต่งตั้ง ‘อาจารย์เคลลี่ แกนนิคอทท์’ นั่งแท่นผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนอนุบาลนานาชาติ The Apple Tree ประสบการณ์ด้านการบริหารงานต่างๆ รวมถึงประสบการณ์ชีวิตในฐานะคุณแม่ทำให้เธอเป็นอีกหนึ่งบุคคลากรคุณภาพที่มาช่วยเสริมทัพด้านการศึกษาให้โรงเรียนแห่งนี้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

เติบโตในเอเชีย
แม้ว่า ‘อาจารย์เคลลี่ แกนนิคอทท์’ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนอนุบาลนานาชาติ The Apple Tree จะเป็นชาวออสเตรเลียโดยกำเนิด แต่ก็ใช้ชีวิตวัยเด็กจนถึงทีนเอจที่ฮ่องกง การเติบโตในเอเชียทำให้เธอเข้าใจถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมของชาวเอเชีย “ฉันเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ฮ่องกงจนจบชั้นมัธยมปลาย และกลับไปเรียนมหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลีย หลังจากเรียนจบแล้ว ฉันทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์เป็นเวลานานหลายปี”
เมื่อเธอมีลูกอาจารย์เคลลี่ก็ได้สอนลูกๆทั้งสามคนด้วยตนเอง “พอมีลูก การได้สอนลูกๆเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ฉันอยากเป็นครู ฉันจึงไปเรียนด้านศึกษาศาสตร์ที่ Charles Sturt University ในรัฐนิวเซาธ์เวลส์”

เริ่มต้นชีวิตการเป็นครู
อาจารย์เคลลี่เริ่มต้นชีวิตการเป็นครูที่ออสเตรเลียเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนจะไปเป็นหัวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนสอนเด็กพิเศษที่สิงคโปร์เป็นระยะเวลาหนึ่ง และย้ายไปสอนชั้น Early Years จนถึงชั้น Reception ที่โรงเรียนนานาชาติที่โคตาคินาบาลู ที่มาเลเซียเป็นเวลาราวสองปี ก่อนจะมาประเทศไทย
“แน่นอนว่าทักษะและประสบการณ์ที่ฉันได้จากการเป็นนักสังคมสงเคราะห์มีประโยชน์มากสำหรับการเป็นครู เพราะฉันทำงานด้านพัฒนาการเด็ก ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึงในแต่ละขั้นอย่างไร และถ้าพวกเขาไปไม่ถึงเป้าหมายนั้น เราต้องช่วยสนับสนุนอย่างไรบ้าง มีบ่อยครั้งมากที่เราต้องส่งเสริมเด็กที่ไม่ค่อยเข้าใจบทเรียนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และต้องทำงานกับผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย และต้องทำงานท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือช่วงเวลาในชีวิตที่ยากลำบาก ซึ่งช่วยให้ฉันรู้ว่าจะสื่อสารกับคนในสถานการณ์แบบนั้นได้อย่างไร”
เพิ่มพูนความรู้ผ่านการเล่น
หนึ่งในเป้าหมายหลักของอาจารย์เคลลี่ก็คือ การเพิ่มพูนความรู้ผ่านการเล่น (Play based Learning) เด็กในวัยนี้ต้องเรียนรู้ทักษะหลายอย่าง ก่อนที่พวกเขาจะสามารถสะกดเป็นคำได้ อีกทั้งการอ่านภาพในหนังสือภาพ ซึ่งเป็นทักษะการอ่านขั้นต้น และทักษะการตั้งคำถาม จะช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับนิทาน แม้ว่าจะยังอ่านหนังสือไม่ออกก็ตาม
“หนึ่งในเป้าหมายของฉันอีกอย่างก็คือ การเรียนรู้ผ่านการเล่น มีการร้องเพลงและเล่นเกมส์เกี่ยวกับการอ่านออกเสียง (Phonics) เรียกสิ่งของ ยกตัวอย่างเช่นเสียง a ก็คือ apple b ก็คือ ball ขณะเดียวกันมือก็จับสิ่งของต่างๆ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของมือเพื่อช่วยในการจับดินสอในภายหลัง ก่อนที่พวกเขาจะเรียนวิชาการมากกว่านี้เมื่อโตขึ้น”
7 ส่วนสำคัญของการเรียนรู้
หลักสูตร Early Years Foundation Stage (EYFS) แบ่งเป็น 7 ส่วนสำคัญด้วยกัน 3 ส่วนแรกก็คือ
- Personal, Social and Emotional Development
- Communication and Language
- Physical Development
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับเด็กเล็ก “ถ้าหากเด็กยังไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ ก็ยากที่จะเรียนรู้ทักษะอื่นในภายหลัง นอกจากนี้พัฒนาการทางร่างกายในเด็กวัยนี้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยในเรื่องของการควมคุมประสาทสัมผัสมือ และนิ้วมือ ให้สามารถจับ เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามต้องการ โดยเราควรเริ่มที่การหยิบจับของที่ชิ้นใหญ่กว่า ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะเราไม่อยากบังคับเด็กเล็กให้ทำอะไรเยอะเกินไป”
4 ส่วนสำคัญต่อมาก็คือ
- Literacy
- Mathematics
- Understanding the World
- Expressive Arts&Design
“เราจัดห้องเรียนเพื่อให้สะดวกสำหรับการเรียนรู้ผ่านการเล่น ก็จะมีหลายสเตชั่นด้วยกัน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้หลากหลายด้าน และให้พวกเขารู้สึกว่าการเล่นในแต่ละสเตชั่นเป็นรางวัลสำหรับพวกเขา ทั้งที่จริงแล้วพวกเขากำลังเรียนรู้ อาทิเช่นการสอนเลขด้วยการตวงน้ำในขวดโหลว่ามีกี่ถ้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆคุณครูก็บอกเด็กๆว่า เราจะเรียนเรื่องนี้กัน ซึ่งไม่ได้ผล เราจะสอนตามความสนใจของพวกเป็นสำคัญ เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะถ้าเด็กไม่สนใจสิ่งที่เรียนก็ไม่เกิดการเรียนรู้
เด็กทุกคนล้วนมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทุกสิ่งรอบตัวอยู่แล้ว เราจะให้พวกเขาเรียนรู้จากการถาม โดยที่เราไม่สกัดกั้น ถ้าสัปดาห์นี้พวกเขาสนใจเรื่องการทำสวน เราก็จะให้เขาเอาดินและเมล็ดพันธุ์ใส่ถุง รดน้ำแล้วเอาไปวางใกล้หน้าต่างเพื่อรับแสงแดด คอยดูแลจนต้นไม้โต นับเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพวกเขา เหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็กต้องการ มีความเหมาะสมกับพัฒนาการ และเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด”
Home-School
อีกสิ่งที่อาจารย์เคลลี่ได้เริ่มทำมาระยะหนึ่งแล้ว นั่นก็คือ การสร้างชุมชนผู้ปกครอง เพื่อให้พวกเขารู้สึกสบายใจว่าลูกๆ ของพวกเขาต้องมาก่อน ผู้ปกครองสามารถวางใจที่จะพูดคุยกับครู เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากังวล นอกจากนี้เธอยังเน้นการเชื่อมต่อระหว่างบ้านกับโรงเรียน (Home-School) เพื่อให้แน่ใจว่ามีการสื่อสารกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง
“เรามีวารสารการเรียนรู้แบบออนไลน์ชื่อ Tapestry ที่ครูของเราจะเขียนถึงเด็กแต่ละคน โดยเราจะคอยสังเกตนักเรียนแต่ละคน เพื่อดูว่าพวกเขาเรียนรู้อย่างไร และผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมได้ ฉันหวังว่าเมื่อเราเปิดเรียนได้มากขึ้น เราจะเชิญผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสอนของเราที่โรงเรียน ด้วยความที่ฉันเคยเป็นผู้ปกครองของลูกซึ่งเป็นเด็กเล็กมาก่อน ฉันจะชอบมากเมื่อโรงเรียนเชิญไปร่วมงานพิเศษ หรือเข้าร่วมชั้นเรียนของลูก ทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าลูกๆกำลังทำอะไรที่โรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ปกครอง และครูก็จะได้เห็นว่าเวลาเด็กอยู่กับผู้ปกครองเป็นอย่างไร”
การเรียนยุคโควิด-19
วิกฤติโควิด-19 ทำให้การเรียนในโรงเรียนต้องหยุดชะงักลง โรงเรียนทุกแห่งต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ขนานใหญ่ The Apple Tree ก็เช่นกัน “โควิดเป็นความท้าทายสำหรับฉันและโรงเรียนของเรา ระหว่างที่ปิดโรงเรียน เราได้เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ให้มากขึ้น เรามีห้องสมุดแบบ Virtual ซึ่งมี e-book ต่างๆ และหนังสือเสียงให้เลือก เรามี Tapestry มีกิจกรรมสนุกๆสำหรับครอบครัวทำระหว่างอยู่ที่บ้าน และมีการโชว์รูปในแพลตฟอร์มนี้ด้วย
“เมื่อเปิดโรงเรียน เราเตรียมชุดตรวจ ATK สำหรับนักเรียนและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนทุกคนใช้ตรวจหาเชื้อตามมาตรการการเปิดโรงเรียนภายใต้การควบคุมของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ของเราฉีดวัคซีนครบโดสทุกคน เรายังช่วยนัดฉีดวัคซีนให้กับผู้ปกครองอีกด้วย เพื่อความปลอดภัยในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กเล็ก เราจัดชั้นเรียนของเราให้เป็น Classroom Bubble เด็กจะไม่เล่นกับเพื่อนต่างห้อง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ และลดการสัมผัสให้น้อยที่สุด ห้องเรียนแต่ละห้องยังมีหน้าต่างบานใหญ่ที่สามารถเปิดเพื่อให้อากาศถ่ายเท ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่า”
ก่อนจะลาจากอาจารย์เคลลี่ยังฝากถึงผู้ปกครองที่กำลังมองหาโรงเรียนอนุบาลให้ลูกว่า “เรายินดีต้อนรับผู้ปกครองทุกคนที่มาชมโรงเรียนเรา สามารถพูดคุยกับครูของเรา เรารอการมาเยือนของท่านอยู่ค่ะ”