Home > Education > ผลวิจัยจาก Stanford ชี้ ‘แพสชัน’ อาจใช้ไม่ได้กับวัฒนธรรมไทย

คำว่า Passion ไม่ใช่ ‘คาถายอดฮิต’ ที่ทุกคนเมื่อได้ฟัง มักจะคิดว่าการมีแพสชันในเรื่องต่างๆ จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก โดยลืมนึกไปว่าแพสชันอาจใช้ไม่ได้กับวัฒนธรรมที่ต่างจากวัฒนธรรมของสหรัฐอเมริกา 

ลี ซิงหยู นักศึกษาปริญญาเอกแห่ง Stanford Graduate. School of Education (GSE) ชาวจีน และเป็นเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ ด้วยการใช้ Big Data ในการประเมินความแตกต่างทางวัฒนธรรมในโลกความเป็นจริง โดยเปรียบเทียบความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมต่างๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างแพสชันกับความสำเร็จ 

ผลการวิจัยพบจุดบอดในการคัดเลือกคนเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาของอเมริกาและการรับคนเข้าทำงานของบริษัทอเมริกัน ซึ่งอิงคำว่า ‘แพสชัน’ มากเกินไป ทำให้พวกเขามองข้ามนักเรียนและลูกจ้างที่มีความสามารถ ซึ่งพบในสังคมวัฒนธรรมที่พึ่งพากัน อย่างที่พบได้ในหมู่ผู้อพยพรุ่นแรกของอเมริกาหรือชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปรายได้ต่ำ 

แรงจูงใจที่ต่างรูปแบบไป

นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ผลสอบ PISA สามปีติดต่อกัน ของนักเรียนม.ปลายจำนวน 1.2 ล้านคนใน 59 ประเทศ พบว่าเด็กที่มีแพสชันกับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือการอ่านมักจะได้คะแนนแต่ละวิชาดีกว่า 

นักเรียนที่มีความสามารถทว่าต่างวัฒนธรรมอาจถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย Photo: Unsplash

นอกจากนี้ยังเป็นเด็กที่มาจากวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมอย่างสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย มากกว่าเด็กที่มาจากสังคมแบบกลุ่มนิยม อาทิเช่น จีน ไทยและโคลัมเบีย ซึ่งนักเรียนรู้สึกว่าการได้รับแรงหนุนจากครอบครัวในความชอบต่างๆเป็นสิ่งสำคัญ 

ซิงหยูยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า คำว่า ‘แพสชัน’ ไม่มีในภาษาจีนกลางหรือภาษาไทย ซิงหยูเองก็มีพื้นฐานจากวัฒนธรรมแบบกลุ่มนิยม เธอเกิดที่ปักกิ่ง และเมื่อโตขึ้นก็เป็นแฟนตัวยงของทีมเชลซี ทำให้เธอฝึกฝนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นเรื่อยๆ 

ซิงหยูได้แรงหนุนจากครอบครัวทางด้านวิชาการและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ไม่เพียงแต่จะส่งเธอเรียน Stanford แล้ว ยังส่งเธอไปกวางโจวเพื่อชมการแข่งขันของทีมเชลซีตั้งแต่สมัยที่เธอเรียนอยู่ไฮสคูล 

ความสำคัญของความแตกต่างทางวัฒนธรรม

การที่ซิงหยูอยู่ท่ามกลางสองวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้เธอเห็นมุมมองเกี่ยวกับแรงจูงใจที่ต่างกันระหว่างจีนกับอเมริกา แรงจูงใจของคนที่มาจากวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมไม่ได้ดีกว่า คนที่มาจากวัฒนธรรมแบบกลุ่มนิยม

การคัดเลือกคนเข้าเรียนหรือเข้าทำงานต้องใช้วัฒนธรรมในการพิจารณาร่วมด้วย Photo: Unsplash

ที่อเมริกาคุณจะเก่งได้ ก็ต่อเมื่อความคาดหวังของคนอื่นอาจยังไม่ถูกเติมเต็ม ทำให้คุณต้องทำสิ่งที่ขาดหายไปนั้น แต่กับแรงจูงใจของสังคมที่พึ่งพากันไม่จำเป็นต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่า ความเป็นเอกเทศของตนถูกครอบงำหรือถูกทำลาย ตรงกันข้ามมันกลับกลายเป็นการจุดพลังให้มีความวิริยะอุตสาหะ และสามารถยืดหยุ่นได้ 

การค้นพบนี้ถือเป็นการเปิดโลกให้เห็นความเป็นไปได้ ที่จะออกแบบการเรียนการสอนที่ไม่จำเป็นต้องอิงกับแนวคิดตะวันตกในการหล่อเลี้ยงแพสชันและความอดทนในแบบปัจเจกนิยม แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากการที่ผู้ปกครอง ครู และเพื่อนๆ จะสามารถสร้างระบบการจูงใจที่เป็นแบบกลุ่มนิยมได้อย่างไร 

และเมื่อนั้นเราจะได้สามารถปลดล็อคศักยภาพในตัวนักเรียนและพนักงานให้ออกมามากขึ้นได้ ด้วยการทำความเข้าใจที่มาของแรงจูงใจของคนจากภูมิหลังที่ต่างกันได้   

ที่มา : https://ed.stanford.edu  

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.