Home > Education > เมื่อสหรัฐอเมริการะงับวีซ่านักศึกษาจีนเข้าเรียนต่อในอเมริกา

จากการที่สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศสงครามเทคโนโลยีกับจีน ล่าสุดทางกรุงวอชิงตันได้เพิ่มมาตรการห้ามไม่ให้ Harbin Institute of Technology   หรือ HITสถาบันการศึกษาทางเทคโนโลยีเก่าแก่กว่า 100 ปีของจีน ถูกห้ามใช้ซอฟท์แวร์สำคัญทางด้านวิศวกรรม ในโครงการศึกษาร่วมกับ University of Arizona  อีกทั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ University of California, Berkeley ก็ถูกยกเลิก ทำให้ความร่วมมือด้านการเรียนการสอนระหว่างมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาและจีนกลายเป็นอดีตไป

เรื่องแดงขึ้นเมื่อผู้ใช้โปรแกรมใน HIT บ่นว่าไม่สามารถใช้ซอฟท์แวร์ชื่อ MATLAB ที่ HIT ซื้อมาให้นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ใข้ในการเรียนแต่ละวันและในการทำแล็บได้ ซึ่งพัฒนาโดย MathWorks ทาง MathWorks ถึงได้แจ้งมหาวิทยาลัยในจีนทราบว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกนโยบายสั่งห้ามไม่ให้จีนใช้ซอฟท์แวร์ดังกล่าว ในจำนวนมหาวิทยาลัยจีนที่ติดโผนี้ยังมี Harbin Engineering University หรือ HEU อีกแห่ง ทำให้ไม่สามารถนำเข้าเครื่องไม้เครื่องมือหรือซอฟท์แวร์จากสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่ผ่านการอนุมัติจากวอชิงตัน

HEU
Harbin Engineering University ในฤดูใบไม้ผลิ Photo: HEU

นอกจากนี้สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกายังต้องเพิ่มความระมัดระวังในการร่วมมือกับองค์กรของจีน ไม่ว่าจะเป็นโครงการทางทหารหรือโครงการที่เป็นกรณีโต้แย้ง    

กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา ประกาศว่ามหาวิทยาลัยจีน 2 แห่ง และองค์กรอีก 22 แห่งถูกทางการสหรัฐอเมริกาลงโทษ เนื่องจากกระทำการที่ขัดต่อความมั่นคงของชาติหรือนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ทำให้รัฐบาลจีนมองว่าการกระทำของสหรัฐอเมริกา เป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดสงครามเย็น

ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยในจีนเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันจีนเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำเทคโนโลยีของโลก เพราะเป็นสถานที่บ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และโปรแกรมเมอร์ป้อนให้กับบริษัทต่างๆในจีน และยังเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของจีน

HIT เป็นมหาวิทยาลัยจีนแห่งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์เล่นหมากรุกและหุ่นยนต์เชื่อมโลหะ ต่อมายังแซง MIT (Massachusettes Institutre of Technology) และ Stanford University ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอีเลกโทรนิก

HEU
Harbin Engineering University ในฤดูหนาว Photo: HEU

ทำให้เกิดคำถามว่า จีนยังจะเป็นผู้นำทางด้านนี้อยู่อีกหรือไม่ หากปราศจากซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์จากสหรัฐอเมริกา และหากหาตัวเลือกใหม่ ความสำเร็จดังกล่าวนี้จะยังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้อยู่อีกหรือเปล่า

ซอฟท์แวร์ของซิมูเลเตอร์เกือบทั้งหมดมาจากสหรัฐอเมริกา ไม่มีประเทศอื่นอีกแล้วที่มีซอฟท์แวร์นี้นักวืจัยที่ไม่ขอเปิดเผยชื่อรายหนึ่งบอก ที่ผ่านมา HIT เป็นแกนนำในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของจีน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ออกแบบ สร้างและปล่อยดาวเทียมของตัวเอง และมีส่วนอย่างมากกับภารกิจหลักในอวกาศของจีน

นักศึกษาคณะวิศวะโยธาฯรายหนึ่งของจีนบอกว่า แค่เฉพาะในภาควิชาของเขาก็ใข้เครื่องมือสำคัญ 2 อย่างแล้วในการออกแบบและในซิมูเลเตอร์ที่ซื้อจากบริษัทซอฟท์แวร์ในสหรัฐอเมริกา และการสั่งห้ามครั้งนี้ทำให้นักศึกษารู้สึกเหมือนถูกปล่อยเกาะ และเป็นการชะลอพัฒนาการทางด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในจีนให้ช้าลง

นอกจากนี้ความสามารถในการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ก้าวหน้า ซึ่งอยู่ในโครงการเมด อิน ไชน่า 2025” ตกอยู่ในความเสี่ยง

“Huawei เองก็พัฒนาชิป AI แต่ยังไม่ได้มาตรฐานเดียวกับที่ออกแบบโดย Nvidia ของสหรัฐอเมริกาเลย ทำให้วงการนักวิทยาศาสตร์จีนต้องพบกับความท้าทายใหม่ในการหาทางออกสำหรับการใช้ฮาร์ดแวร์ในประเทศนักศึกษา HIT  รายหนึ่งบอก

HIT Library
หอสมุดกลางของ Harbin Institute of Technology Photo: HIT

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง HIT และ HEU กับ Univeristy of California, Berkeley ก็ถูกระงับไว้ รวมทั้ง University of Arizona ซึ่งสอนร่วมกับ HIT ในเรื่อง big data นอกจากนี้สถาบันการศึกษาอื่นที่ได้รับผลกระทบยังรวมถึง University of Illinois Urbana-Champaign และ Carnegie Mellon University ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายของสหรัฐอเมริกาบอกว่า ต่อแต่นี้การแลกเปลี่ยนนักศึกษาจะทำได้ยากขึ้น และจะต้องขอใบอนุญาตก่อนทุกครั้ง

การเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาของนักศึกษาจีนยิ่งเป็นไปได้ยากขึ้น เพราะแรงกดดันจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกามีมากเหลือเกิน แม้แต่นักศึกษาจีนที่ทางมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาตอบรับให้เข้าเรียนแล้ว แต่กลับขอวีซ่าไม่ผ่าน นอกจากนี้นักวิชาการอเมริกันก็ลังเลที่จะบินมาสอน

ทว่านักศึกษาจีนหลายคนมองว่า อุปสรรคเหล่านี้ไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีน แต่ทำได้แค่ช้าลงเท่านั้น จีนคงต้องหาหนทางอื่น และเชื่อว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น นี่คือปัญหาที่มังกรจีนต้องเผชิญ สำหรับไทยเราซึ่งเป็นหญ้าแพรกจะปรับตัวอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่น่าคิดต่ออย่างยิ่ง

ที่มา : Nikkei Asian Review    

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.