Home > Lifestyle > Travel > เดินทางตามรอยพระราชกรณียกิจ ร.9 ค้นหา “9 อาหารของแผ่นดิน”

ทิวเขาไกลสุดตาบนพื้นที่สูงของอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ มีร่องรอยพระบาทของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ขณะเสด็จไปเยี่ยมเยือนบรรเทาทุกข์พสกนิกรปรากฎอยู่หลายหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ซึ่งปัจจุบันทุกคนยังรักษาสิ่งที่พระองค์มอบให้อย่างหวงแหน โดยเฉพาะอาชีพสุจริต ที่เปลี่ยนแปลงให้ชีวิตทุกคนมีความสุขอย่างยั่งยืน

ในทริปท่องเที่ยวพิเศษนี้ เรามาเยือนถิ่นเหนือตามโครงการหลวงและศูนย์พัฒนาเกษตรกรรมตามที่ต่างๆ ในช่วงเริ่มต้นฤดูกาลออกผลของพืชผัก ผลไม้ฤดูหนาว ในเส้นทางตามรอย 9 อาหารจากแผ่นดิน ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของราษฎรให้เติบโตอย่างมั่นคง อันเกิดขึ้นได้จากพระราชปณิธานอันแรงกล้า โดยอาหารเหล่านี้เติบโตอยู่ตามโครงการหลวงต่างๆ ให้เราตามรอยการเดินทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้อย่างไม่รู้จบ

ไก่เบรส

อาหารชนิดแรกที่ตามไปชม คือ ไก่เบรส สายพันธุ์จากประเทศฝรั่งเศส ที่เดินทางมาสู่ฟาร์มปศุสัตว์โครงการหลวง ต.แม่เหียะ จ. เชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนับสนุนให้มีการทดลองวิจัยสัตว์เลี้ยงพันธุ์ดีส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยวปศุสัตว์ให้ชาวบ้าน ทั้ง กระบือ สุกร ไก่ พระองค์มีแนวคิดการเพาะพันธุ์สัตว์จากต่างประเทศที่มีเนื้อแน่น ตัวโต ไม่เพียงมอบรายได้ให้ชาวบ้านเป็นเท่าตัว แต่ยังทำให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านดีไปด้วย เด็กๆ ได้รับสาอาหารที่เพียงพอจากเนื้อสัตว์และพืชผักที่ดี

ทรงค้นหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ พระราชทานให้ชาวบ้านนำไปเลี้ยงและส่งผลผลิตกลับมาให้มูลนิธิโครงการหลวง โดยมูลนิธิฯ เริ่มต้นเลี้ยงไก่เบรส ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2533 ความอวบอ้วน หงอนไก่สีแดงสด น้ำหนักในช่วงโตเต็มวัยประมาณ 3 กิโลกรัม แทรกด้วยไขมันอันน้อยนิด นับเป็นวัตถุดิบสมบูรณ์แบบของทุกเมนู การเลี้ยงปศุสัตว์ของที่แห่งนี้จะอนุบาลลูกเจี๊ยบไว้ในกรงจนแข็งแรงดีประมาณ 5 สัปดาห์ จากนั้นจะปล่อยในพื้นที่โล่งให้เดินเล่น กินอาหารและแมลง ได้อย่างอิสระ การเลี้ยงแบบนี้ทำให้ไก่มีสุขภาพดีและเนื้อก็นุ่มอร่อยตามไปด้วย ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมเลี้ยงไก่เบรสและปศุสัตว์อื่นๆ กับมูลนิธิโครงการหลวง แล้วกว่า 105 ครัวเรือน โดยไก่เบรสเป็นที่ต้องการของตลาดและมีราคาขายสูงมาก ตกกิโลกรัมละประมาณ 240 บาท

ลูกท้อ หรือ พีช

ปัจจุบันในโครงการหลวงขุนวาง และดอยอ่างขาง มีการปลูกต้นท้อโดยพัฒนาจากยอดพันธุ์ดีในต่างประเทศจนได้พันธุ์ใหม่ ที่มีผลใหญ่กว่า และสามารถรับประทานสดได้ ม.จ.ภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ทรงบันทึกไว้ในหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง” ตอนหนึ่งว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุย ใกล้พระตำหนักภูพิงครานิเวศน์ และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับพันธุ์พื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อน และมีรับสั่งเจ้าของต้นท้อว่า “ปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไหร่ เก็บท้อพื้นเมืองขายได้กี่บาท” จากนั้นก็ทรงทราบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำรายได้ให้เกษตรกรเท่าๆ กัน “ถ้าลูกท้อนิดๆ ยังทำเงินได้เท่ากับฝิ่น เราก็ควรเปลี่ยนยอดให้ลูกออกมาเป็นท้อใหญ่ๆ หวานฉ่ำ สีชมพูระรเอดังแก้มสาวในนิยายจีน เมื่อทำรายได้จากท้อได้สูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่นก็จะสาบสูญไปองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใชกำลังผลักดันแต่อย่างใด” ต่อมาโครงการหลวงเปลี่ยนชื่อลูกท้อมาเป็น ลูกพีชแทน โดยพีชโครงการหลวงมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Earligrande มีรสชาติหวานนำ , Tropic Beauty มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว , Jade มีผลใหญ่ เนื้อสุกจะมีสีเหลืองทอง รสชาติหวานอมเปรี้ยว และ พันธุ์อ่างขาง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่เละ เหมาะรับประทานสดๆ

ชา

จากทุ่งฝิ่นบนยอดดอย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านปู่หมื่น จ. เชียงใหม่ พ.ศ. 2513 และพระราชทานชาต้นแรกเพื่อให้ชาวบ้านปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น จนเป็นที่ยอมรับและนิยมปลูกโดยทั่วไป ทรงมีรับสั่งให้ชาเป็นพืชหลักชนิดหนึ่งของโครงการหลวง ที่ช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น เราเดินทางต่อมาที่แปลงส่งแสริมชา ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแม่วาก ที่นี่มีหมู่บ้านชนเผ่าม้งและที่ปกาเกอะญอที่ใช่ชีวิตเรียบง่ายผูกพันกับบต้นชามาหลายสิบปี ทุกเช้ามืดเกษตรกรจะออกมาเก็บใบชา นำเข้าไปแปรรูปเป็นใบชาอู่หลงแห้งพร้อมส่งจำหน่าย และมีกิจกรรมเวิร์คช็อปชงชาจีนหอมๆ ให้นักท่องเที่ยวมีมาเยี่ยมชม ส่วนตอนบ่ายผู้หญิงจะกลับมาทอผ้าดูแลเด็กเล็กในครอบครัว ผู้ชายจะทำงานสวนไร่อื่นๆ และใช้เวลาอยู่ด้วยกันในช่วงเย็น เป็นวงจรชีวิตที่พวกเขายิ้มพอใจว่าเรียบง่าย มีความสุข ไม่อดอยาก เท่านี้ก็เพียงพอ

ลูกฟิก

ในสถานีเกษตรหลวงปาดะ อ.เสมิง จ.เชียงใหม่ มีโรงเรือนปลูกพืชอันมีต้นกำเนิดจากตะวันออกกลาง ที่หาทานได้ยาก อย่างลูกฟิก หรือที่เรียกแบบไทยๆ ว่า มะเดือฝรั่ง ปลูกเรียงรายรอให้เก็บผลในช่วงปลายฤดุใบไม้ผลิ ฟิกเป็นผลไม้จากต่างประเทศอีกชนิดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเสวย และพระราชทานมล็ดพันธุ์ให้ชาวบ้านปลูกแทนฝิ่น ด้วยลูกฟิกเติบโตได้ดีในอากาศไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป ในปี พ.ศ. 2530 ลูกฟิกเมื่อสุกงอมจะมีสีแดงอมม่วง ด้านในเป็นสีแดงอมชมพู รสชาติหวานหอม หากปลูกตามธรรมชาติสามารถเด็ดทานได้ทันที ดังที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเก็บลูกมะเดือฝรั่งมาเสวยแล้วมีรับสั่งต่อเป็นประจำว่า “มันดีต่อสุขภาพ” เพราะฟิกอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ มีใยอาหาร และแคลเซียมสูงมาก

กาแฟอาราบิก้า

คุณตาพะโย่

“รัก…ที่ตรงนี้” คุณตาพะโย่ ตาโร วัย 76 ปี เอามือแตะที่หัวใจตัวเอง ระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังเล่าเรื่องราวของต้นกาแฟต้นแรกแห่งหมู่บ้านหนองหล่ม ให้คนรุ่นหลังให้ฟัง ทุกครั้งที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมหมูบ้านคุณตาจะออกมาต้อนรับพร้อมเล่าเรื่องราวของพระผู้เปลี่ยนแปลงชีวิตคนในหมู่บ้านของเขาอย่างภาคภูมิใจ

ต้นกาแฟต้นแรกในหมู่บ้านหนองหล่ม

ปี พ.ศ.2517 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ลงพื้นที่เยี่ยมราษฎรบนภูเขาสูงมีถวายรายงานว่าที่หมู่บ้านหนองหล่ม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มีชาวบ้านปลูกต้นกาแฟพระราชทานเมื่อนปี พ.ศ.2514 ได้ 1-2 ต้น ได้ยินดังนั้นทรงพระดำเนินไปที่หมู่บ้านแห่งนี้ทันที ด้วยเส้นทางทุรกันดารไม่สามารถนำรถยนต์พระที่นั่งผ่านเข้าไปได้ ทรงใช้เวลาอยู่หลายชั่วโมง เพื่อพระดำเนินไปทอดพระเนตรต้นกาแฟในหมู่บ้านแห่งนี้ คุณลุงพะโย่ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในตอนนั้น ได้กราบทูลเชิญพระองค์ไปชมต้นกาแฟ และเก็บเมล็ดกาแฟ 1 กิโลกรัมทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อทรงเห็นว่าเมล็ดพันธุ์มีความสมบูรณ์จึงนำไปพระราชทานให้แก่ชาวเขาพื้นที่อื่นๆ ได้ผลูกกาแฟแทนฝิ่น ช่วยกันปลูกพืชเศรษฐกิจไม่ต้องอพยพไปที่ไหน หลังจากนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ มาเยี่ยมคุณตาพะโย่ ต้นกาแฟ และ และชาวบ้านอีกครั้งพร้อมพราชทานผ้าห่ม ตรัสถามปัญหาต่างๆ ทั้งการปลูกกาแฟและเรื่องที่ดิน เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้คนในหมู่บ้านหนองหล่มไม่ลืมในพระมหากรุณาธิคุณ ยังคงรักษาต้นกาแฟต้นแรก นำเมล็ดพันธุ์มาปลูกทุกบ้านให้เจริญเติบโตแข็งแรงมากว่า 40 ปี

หมู่บ้านแม่กลางหลวง อีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับพระราชทานเมล็ดกาแฟจากหมู่บ้านหนองหล่มมาปลูกแทนฝิ่น ปัจจุบันชาวบ้านเปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้การปลูกกาแฟ การทอผ้า ทำนาขั้นบันได โดยมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาพักเรียนรู้วิถีชีวิตในแบบโฮมสเตย์ของหมู่บ้านตลอดทั้งปี

สตอรว์เบอรี่

ตลอดเส้นทางบนพื้นที่สูงของอินทนนท์ เราสามารถมองเห็นแปลงสตอรว์เบอรี่ ที่ชาวงบ้านปลูกรอผลผลิตอยู่ได้ทั่วไป เมื่อเก็บผลสตอรว์เบอรี่ แดงสดได้แล้วชาวบ้านจะนำส่งขายให้กับโครงการหลวง และเมื่อเริ่มต้นฤดูใหม่ทางโครงการก็จะนำไหลสตอรว์เบอรี่ หรือต้นกล้าแข็งแรงที่ได้รับการวิจัยสายพันธุ์ในห้องแล็ปมาส่งมอบให้กับเกษตรกรได้ปลูกต่อ เป็นวงจรเกื้อกูลกัน ตามพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือพันธุ์ 80 ซึ่งวิจัยเสร็จในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่ทรงเจริญพระชนพรรษาพอดี ซึ่งพันธุ์นี้มีรสชาติหวานกรอบ กลิ่นหอม สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ และส่งเสริมการนำมาแปรรูปเป็นอาหารชนิดอื่นๆ เช่น การอบแห้ง และ ทำแยมสตอรว์เบอรี่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน

ปลาสเตอร์เจี้ยน และปลาเรนโบว์เทร้าต์

ทุกครั้งที่พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎร สมเดจพระนางเจ้าฯ สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯ ร่วมด้วย และมักตรัสถามกับชาวบ้านเรื่องอาหารและน้ำที่ใช้บริโภคอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งพระองค์เสด็จฯ ไปยังหมูบ้านในที่สูงและมีอากาศเย็นตลอดปี ทรงตรัสถามชาวไทยภูเขาว่าแหล่งน้ำแห่งนี้มีปลากินหรือไม่ ทรงได้รับคำตอบว่าเพราะน้ำเย็นจัด จึงมีแต่ปลาตัวเล็ก ส่วนปลาตัวใหญ่มุดดินไปหมดและเนื้อก็ใช้รับประทานไม่ได้ พระองค์กังวลพระราชหฤทัยว่าประชาชนจะไม่ได้รับสารอาหารที่ดีพอ จึงมีรับสั่งให้เอาสัตว์น้ำที่อยู่ในเขตน้ำเย็นอะไรบ้างที่พอนำมาเลี้ยง กลายเป็นโครงการพัฒนาประมงบนพื้นที่สูงขึ้น

ปัจจุบันเมือได้มาบนทุ่งนาขั้นบันไดสีเขียวของบ้านแม่กลางหลวง จะต้องเห็นบ่อน้ำแฝงอยู่บนขั้นบันไดซึ่งภายในได้เพาะเลี้ยงปลาสายพันธุ์เมืองหนาวเอาไว้ขายและมอบสารอาหารที่ดีให้แก่ชาวบ้านตามที่สูง ปลาเรนต์โบว์เทร้าต์ (Rainbow trout) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะลำตัวใหญ่ รสชาติดี มีปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว และอุดมด้วยโอเมก้า 3 ต่อมาใน พ.ศ. 2548 มีการเพาะเลี้ยง ปลาสเตอร์เจี้ยน (Sturgion) เป็นปลาน้ำที่พบได้ในรัสเซีย อาศัยอยู่ในน้ำเย็นไม่เกิน 20 องศา ผลผลิตที่ได้จากปลาชนิดนี้มีมูลค่ามหาศาล เพราะจุดเด่นอยู่ที่ไข่ปลาที่คนนิยมนำมาทำเป็นไขปลาคาเวียร์จากปลาสเตอร์เจียน ซึ่งหน่วยวิจัยประมงพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ มูลนิธิโครงการหลวง สามารถผลิตคาเวียได้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยนำไข่ปลาสเตอร์เจียนจากรัสเซียมาฟักและทดลองเพาะเลี้ยง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

รูบาร์บ

บนแปลงเกษตรของโครงการหลวงบนที่สูง มักมีผักพันธุ์ต่างประเทศนานาชนิดที่ทำการทำลองปลูก มีพืชผลออกมาอุดมสมบูรณ์ หนึ่งในนั้นคือรูบาร์บ ผักเชื้อสายยุโรป ก้านสีแดงม่วงรสเปรี้ยว ที่คนไทยไม่คุ้นหน้าคุ้นตาเท่าไหร่นัก แต่เมื่อได้รู้รสเปรี้ยวหอมของผักชนิดนี้ก็เข้าใจได้ดีว่าสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารไทยได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเมนูต้มยำทางโครงการหลวงก็ลองนำรูบาร์บมาใส่ลงไปให้กลมกล่อม นอกจากนี้ยังนิยมนำมาแปรรูปทำพายหรือแยมอร่อยๆ อีกด้วย

ม.จ.ภีศเดช ทรงเคยเล่าถึงพระราชอารมณ์ขันของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับกับชื่อที่เหมาะสมของ รูบาร์บ เนื่องจากชื่อเมื่อคิดตามคำอ่านในภาษาไทยรู้สึกไม่เป็นมงคล อาจทำให้ดูไม่ชวนน่ารับประทานนัก ม.จ.ภีศเดช จึงกราบบังคมทูลว่าจะเรียกใหม่ว่าอย่างไรดี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งกลับทันที่ว่า “ โฮล ซิน- Hole Sin”

ข้าว

ระหว่างพักทานข้าวกลางวัน ท่ามกลางวิวสวยของทุ่งนาขั้นบันได ณ บ้านผาหมอน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่เริ่มเล่าถึงเรื่องราวของธนาคารข้าว ที่ส่งเสริมทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกข้าวแปลงพื้นที่แห้งแล้งเป็นพื้นที่สีเขียว โดยข้าวเป็นอาหารหลักและอาชีพที่เติบโตมาพร้อมคนไทยตั้งแต่อดีต ในหลวงรัชกาลที่ 9 เริ่มพระราชทานข้าวเพื่อตั้งเป็นธนาคารข้าว ที่บ้านป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นแห่งแรก เนื่องจากบางปีชาวลัวะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนข้าว จึงต้องยืมเงินซื้อข้าว จนเกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะดอกเบี้ยมีอัตราสูง เหตุนี้ธนาคารข้าวจึงเกินขึ้นเพื่อช่วยชาวบ้านคิดดอกเบี้ยอัตราต่ำ ชาวบ้านก็สามารถมีกำลังใจใช้หนี้ได้ ตามหลักเกณฑ์การสร้างยุ้งข้าว และรวมกลุ่มกันดูแลบัญชีการจ่ายออกและคืนข้าว ทำให้มีธนาคารข้าวหลายแห่งที่สะสมข้าวไว้ได้มากพอ จนสามารถทูลเกล้าถวายคืนเพื่อพระราชทานธนาคารอื่นๆ ต่อไป

สำหรับ“9 อาหารของแผ่นดิน” และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของโครงการหลวง ที่เราได้เดินทางไปชมอย่างใกล้ชิดครั้งนี้ จะถูกยกมาไว้ที่กลางกรุงเทพฯ ในงาน “รอยัล โปรเจ็คต์ มาร์เก็ต แอท สยามพารากอน” ระหว่างวันที่ 23-30 พฤศจิกายน นี้ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ให้เหล่าคนเมืองได้เลือกสรรและเพื่อเผยแพร่ผลงานของโครงการหลวงด้านการพัฒนาพันธุ์พืช ใหม่ ๆ ประยุกต์ทำเป็นเมนูทันสมัย อาทิ ข้าวเกรียบอ่อนไส้ปลาเทร้าต์, ข้าวเกรียบอ่อนไส้ถั่วแดงหลวง, ส้มตำข้าวเกรียบหลวง,ยำขนมจีนปลาเทร้าต์น้ำพริกลีซู, สลัดผักย่าง, เค้กข้าว, น้ำผักอินทรีย์ปั่น ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารพรีเมียมฟู้ดที่ได้จากประเทศไทยเราเองทั้งหมด

+++++++++++++

Tags
travel
Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.