บ้านโบราณ อันเก่าแก่ ที่อบอวลไปด้วยเสนห์แห่งวันวาน และความสวยงามของสถาปัตยกรรม ชวนมาเปลี่ยนบรรยากาศวันเสาร์อาทิตย์ให้พิเศษกว่าที่เคย ด้วยการไปสัมผัสบรรยกาศบ้านโบราณ ปลุกชีวิตให้ประวัติศาสตร์ด้วยการบูรณะเหล่าบ้านโบราณอันสวยงามให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์และคาเฟ่ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าไปเยี่ยมชม พร้อมนั่งจิบกาเเฟซึมซับบรรยากาศกับ 3 บ้านโบราณรอบกรุงเทพฯ
บ้านปาร์คนายเลิศ
ปาร์คนายหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญใจกลางกรุงเทพ ที่ทั้งร่มรื่น และเต็มไปด้วยเรื่องราวอันน่าจดจำ เพราะนอกจากจะถูกขนานนามว่า เป็นสวนแบบตะวันตกแห่งแรกของประเทศไทย ยังมี บ้านโบราณเก่าเเก่อายุร่วมร้อยปี ซ่อนอยู่ นั้นก็คือ บ้านปาร์คนายเลิศ ที่ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2458 และถูกวาดเเบบโดยพระยาภักดีนรเศรษฐ หรือนาย เลิศ เศรษฐบุตร เพื่อใช้เป็นบ้านพักตากอากาศสำหรับพักผ่อน และในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นบ้านที่อยู่อาศัยถาวรของนายเลิศและครอบครัว ก่อนจะตกทอดมาสู่ลูกสาวเพียงคนเดียวคือ ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ซึ่งสมรสกับคุณพินิจ สมบัติศิริ และได้ใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ในบ้านหลังนี้มาโดยตลอด

บ้านปาร์คนายเลิศ ได้รับการรีโนเวทอย่างตั้งใจจากทายาทรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 โดยใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในการบูรณะและอนุรักษ์พื้นไม้สัก เสาไม้ และต้นไม้เก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 100 ปี เพื่อต่อยอดให้ Nai Lert’s Legacy ยังคงสวยงามอยู่เหนือกาลเวลา อย่างมีชีสิตชีวา นอกจากนี้บ้านปาร์คนายเลิศยังมีการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่เป็นของสะสมของครอบครัวตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้คนที่หลงใหลในประวัติศาสตร์หรือคนรุ่นใหม่ ได้เข้ามาเยี่ยมชมสิ่งของหายาก และเก่าแก่มากมายถูกเก็บรักษาอย่างดี



ปัจจุบันใครที่ต้อการไปเยี่ยมชม บ้านปาร์คนายเลิศ ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ทั้งหมด นอกจากนี้ใครที่สนใจ ก็สามรถเข้าร่วมเวิร์คช็อปและกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คลาสสอนทำขนมไทย หรือ ร้อยพวงมาลัย ได้ ไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะภายใน ปาร์คนายเลิศ ยังมีทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และโรงเรียนสอนทำขนมจากฝรั่งเศส ให้ทุกคนได้เพลิดเพลินอีกด้วย เรียกว่าครบจบในที่เดียว

บ้านขนมปังขิง
ใครผ่านไปแถวเสาชิงช้า คงต้องเคยพบเคยเห็น บ้านไม้หลังเก่าสไตล์ฝรั่ง ที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่อย่างร่มรื่น ซึ่งตั้งอยู่ในซอยหลังโบสถ์ และนั้นก็คือ บ้านขนมปังขิง ที่มีอายุมานานกว่า 109 ปี ปัจจุบันบ้านไม้เก่าแก่หลังนี้ได้ถูกรับการดูแลให้กลายเป็น คาเฟ่กึ่งพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ผู้คนที่หลงรักสถาปัตยกรรมอันสวยงามของอดีต ได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศเเห่งวันวาน เพราะบ้านหลังนี้ยังเก็บรักษาของทุกชิ้นไว้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ ของตกแต่งต่าง ๆ
บ้านขนมปังขิง หรือ Ginger Bread House ใช้เรียกบ้านเรือนไทยสไตล์โคโลเนียล ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยรูปแบบอาคารบ้านจะมีลักษณะหลังคาที่เปลี่ยนไป และหันมาตกแต่งรอบบ้านด้วยลวดลายไม้ฉลุอันงดงามต่าง ๆ เช่นตาม บริเวณเหนือประตู ช่องลม หรือชายคา ซึ่งมีลักษณะคล้ายบ้านขนมปังขิงของฝรั่งนั้นเอง

ส่วนบ้านขนมปังขิงหลังนี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 โดย อำแดงหน่าย ภรรยาของ ‘ขุนประเสริฐทะเบียน’ หรือนายขัน ขุนนางชั้นรองอำมาตโท ผู้ซื้อที่ดินเปล่าพื้นนี้ ขนาด 47 ตารางวา จากหลวงบุรีพิทักษ์ ต่อมาขุนประเสริฐได้ขึ้นทะเบียนสร้างเป็นเรือนที่พักอาศัยของครอบครัว และได้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึง คุณธนัชพร คุณารัตนอังกูร หรือลูกสาวของ ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ทันตแพทย์ประจำพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้เป็นหลานของ อำแดงหน่าย เจ้าของบ้านรุ่นแรก


คุณธนัชพร คุณารัตนอังกูร ทำการบูรณะบ้านขนมปังขิงครั้งใหญ่ โดยที่พยายามคงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด ทั้ง บานพับ บานกระทุ้ง ผนัง ช่องลม ลายฉลุ เเละเนื้อไม้ เพื่อรักษาความสวยงามในอดีต ให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ชื่นชม และนี้จึงเป็นที่มาของบ้านขนมปังขิง และกลายเป็นคาเฟ่กึ่พิพิธภัณฑ์ ของบ้านหลังนี้


ใครที่สนใจก็สามารถเข้ามาเยี่ยมชม ซึมซับบรรยากาศ พร้อมเพลิดเพลินไปกับเครื่องดื่มและขนมหวาน ทั้งขนมไทยและเบเกอรี่ต่าง ๆ ได้ที่ บ้านขนมปังพิง
บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
และเเล้วเราก็เดินทางมาถึงบ้านสุดท้ายของ 3 บ้านโบราณรอบกรุงเทพฯ นั้นก็คือ ‘บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี’ คฤหาสน์หลังใหญ่สไตล์โคโลเนียล อายุกว่าร้อยปี ริมถนนนครสวรรค์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเรือนหอของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีและภรรยา เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยได้รับการออกแบบจากสถาปนิกชาวอิตาลี Mario Tamagno ผู้มีผลงานโดดเด่นมากมายในประเทศไทย ช่วงรัชสมัย อย่าง พระที่นั่งอนันตสมาคม ห้องสมุดเนลสันเฮย์ และสถานีรถไฟกรุงเทพ หัวลำโพง ทำให้ บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี มีตัวอาคารบ้านแบบ 2 ชั้น โทนสีครีม ตัดเขียวอย่างสวยงาม ตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมสไตล์ยุโรป พร้อมด้วยหลังคาทรงปั้นหยาและส่วนของอาคารที่ยื่นออกมาเป็นมุมหกเหลี่ยม นอกจากนั้นยังตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นรอบตัวบ้าน

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือนามเดิมคือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ไทย ผู้วางรากฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา รวมถึงเป็นผู้ร่วมดำริให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ อย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นผู้เผยแพร่กาฟุตบอลนประเทศไทย พร้อมทั้งมีผลงานประพันธ์ชื่อดัง คือ เพลงกราวกีฬา และเพลงชาติไทยฉบับก่อนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีคูณประการอื่นอีกมากมายที่ท่านได้สร้างไว้ให้กับประเทศไทย

ซึ่งปัจจุบัน ‘บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี’ อยู่ในโครงการ ‘Bangkok 1899’ หรือ พื้นที่สาธารณะ ที่เปิดกว้างเพื่อให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาเรียนรู้ประวัติศสตร์และซึมซับศิลปะแห่งความคิดสร้างสรรค์เพื่อชมชุมชน ทำให้ภายในโครงเป็นทั้งสวนสาธารณะ คาเฟ่เพื่อสังคม และเป็นสถานที่สำหรับจัดนิทรรศการ

ส่วน Na at Bangkok1899 คือ คาเฟ่เพื่อสังคม ที่ซ่อนตัวอยู่ใน คฤหาสน์หลังโต เปิดให้ผู้ที่สนใจสัมพัสบรรยากาศบ้านโบราณอายุกว่าร้อยปี ได้เข้ามาเยี่ยมชมความสวยงามเเละความทรงจำในอดีตอย่างใกล้ชิด พร้อมเสิร์ฟเมนูเครื่องเดิมและอาหารที่มาจากการสนับสนุนคนท้องถิ่นในไทย

