บุโรพุทโธ (Borobudur)
ศูนย์รวมจิตใจอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนิกชน ในวันวิสาขบูชาของทุกปี
ประเทศอินโดนีเซียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือศาสนาพุทธไม่ถึง 1% (ที่เหลือ คือศาสนาคริสต์ ฮินดู ลัทธิขงจื๊อ และอื่นๆ) แต่มี พุทธสถานใหญ่ที่สุดของโลกคือ ‘บุโรพุทโธ’ (Borobudur)ตั้งตระหง่าน ที่แม้แต่ชาวชวายังภาคภูมิใจ แวะเวียนมาชื่นชมเขต โบราณสถานในแง่ของสถาปัตยกรรม ศิลปะ และ ทัศนียภาพอันเพลิดเพลินใจ นัยว่าประวัติศาสตร์อัน ยาวนานเต็มไปด้วยความหลากหลายทั้งทางธรรมชาติ อารยธรรม และศิลปะ เอาเข้าจริง ในช่วงแห่งการสร้างบุโรพุทโธราวศตวรรษที่ 8 – 9 ศาสนาพุทธมิได้ลงหลักฝังรากมั่นคงในดินแดนชวา หากเป็นห้วงเวลาที่อุดมไปด้วยกิจกรรมทางปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลายพากันเผยแพร่ทฤษฎี วิธี การตีความ ทางศาสนาพุทธที่นำเข้าจากอินเดียมาประยุกต์แนวคิด เดิม เมื่อนักประวัติศาสตร์ในยุคหลังมาตีความพุทธสถาน แห่งนี้ก็พบว่ามีเรื่องราวมากกว่าคำสอนและปรัชญาทางพุทธ แต่บอกเล่าวิถีชีวิต อารยธรรม ความคิด และ ค่านิยมของชวาโบราณไว้มากมาย
พระสงฆ์ชม ความอลังการของพุทธศิลป์ในยุคอดีตที่พุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองในแผ่นดินนี้
แม้ไม่มีบันทึกคนแรกสร้าง แต่มีหลักฐานขุดค้นเป็น ประติมากรรมนูนสลักช่วงเวลาในกลางศตวรรษที่ 9 อัน เป็นช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Sailendra dynasty) ปกครอง ชวา ภายหลังบุโรพุทโธถูกทิ้งร้างเป็นเวลาหลายร้อยปี จะมีเพียงชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถวนั้นที่รู้ว่ามีโบราณสถาน ตั้งอยู่ ในปี ค.ศ. 1814 ผู้ว่าการอังกฤษแห่งเกาะชวา เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ตั้งทีมสำรวจพื้นที่ นำโดย คอร์เนเลียส ที่นำความสนใจจากชาวโลกพุ่งเป้า มาสู่บุโรพุทโธที่เพิ่งค้นพบ และนักขุดค้นสามารถเคลียร์ พื้นที่ทั้งหมดได้ในปี ค.ศ. 1835 การที่พุทธสถานจมอยู่ใต้ เถ้าภูเขาไฟของภูเขาไฟเมราปี (Merapi) กลายเป็นข้อดีที่ รักษาสภาพดั้งเดิมไว้ แม้เมื่อเผยสู่ภายนอกอีกครั้งต้อง เผชิญกับอากาศและความชื้นจนทำให้เกิดเชื้อราเกาะ ซากโบราณสถาน แต่การบูรณะหลายครั้งจนมาถึง การปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงปี ค.ศ. 1968 – 1983 ที่ รัฐบาลอินโดนีเซียยื่นเรื่องให้องค์การยูเนสโกสนับสนุนด้านเงินทุนและองค์ความรู้ โดยได้รับเงินอุดหนุนจาก หลายประเทศที่นับถือพุทธศาสนา รวมถึงประเทศไทย ก็ทำให้พุทธสถานแห่งนี้หวนคืนสู่ความงดงามยิ่งใหญ่อีก ครั้ง และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ ‘กลุ่มวัดบรมพุทโธ’ (Borobudur Temple Compounds) เมื่อปี ค.ศ. 1991
พระพุทธรูปหินแกะสลักหนึ่งใน 504 องค์ ประทับในสถูปแบบมหายาน สะท้อนถึงคติความเชื่อของพุทธศาสนา
เจดีย์ทรงระฆังคว่ำจำนวน 72 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน ตั้งเรียงราย โอบล้อมมหาเจดีย์อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
บุโรพุทโธเป็นสถูปแบบมหายาน สร้างขึ้นจากหิน ภูเขาไฟ บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปทรงพีระมิดที่มี ลานเป็นชั้นลดหลั่นขึ้นไป หากมองจากมุมสูงลงมา เหมือนภาพมันดาลา (Mandala) สัญลักษณ์แทนจักรวาล สูงสุดในลัทธิวัชรยาน อันเป็นคติพจน์หลักในการสร้าง บุโรพุทโธที่สอดแทรกด้วยปรัชญาทางพุทธศาสนา แต่ละด้านมีบันไดและซุ้มประตูขึ้นสู่มหาเจดีย์ 10 ชั้น แบ่งเป็น 4 ชั้นข้างล่าง ฐานวงกลม 3 ชั้นข้างบน และ ชั้นสูงสุดที่ตรงกลางมีสถูปใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.9 เมตร สูง 42 เมตรจากระดับพื้น แผ่ไปทั่วจักรวาล แบ่งเป็น 3 ระดับ ชั้นล่างสุดอันเป็นส่วนฐานของบุโรพุทโธ คือ กามธาตุ (Kamadhatu) หรือระดับของโลกมนุษย์ที่ วนเวียนอยู่ในความปรารถนา ถัดไปคือ รูปธาตุ (Rupadhatu) ผนังระเบียงสลักภาพพุทธประวัติและชาดก เปรียบชั้นนี้ เสมือนมนุษย์เริ่มหลุดพ้นจากกิเลสส่วนหนึ่ง ไปจนถึง ชั้นบนสุดคือ อรูปธาตุ (Arupadhatu) ส่วนของฐานกลม มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ 72 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐาน พระพุทธรูปไว้ภายใน ตั้งเรียงรายโอบล้อมมหาเจดีย์ องค์ใหญ่ อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า อาทิ พระพุทธเจ้าผู้สร้างโลกในคตินิกายมหายานแบบวัชรยาน ฐานมหาเจดีย์เป็นดอกบัวผลิบาน สื่อความถึงการตื่นรู้ และเบิกบาน ภายในมหาเจดีย์ไม่มีสิ่งใดบรรจุไว้ แสดง ถึงความว่างอันเป็นที่สุดของนิพพาน ที่มนุษย์ไม่ผูกพัน กับทางโลกอีกแล้ว องค์ประกอบสำคัญของบุโรพุทโธคือพระพุทธรูป ทั้งหมด 504 องค์ แบ่งเป็นพระพุทธรูปในเจดีย์รายชั้น และงานประติมากรรม นูนต่ำแกะสลักเรื่องราวประดับอยู่ตลอด ผนังระเบียง โดยที่ฐานชั้นแรกมีภาพสลัก ทั้งหมด 160 ภาพ ว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรม บาป บุญ คุณ โทษ อีกทั้งสะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของชาวชวาโบราณ ซึ่งภาพสลัก เหล่านี้เคยถูกทับถมใต้ดินจนนักโบราณคดี มาค้นพบและได้ทำการถ่ายรูปภาพสลัก ทั้งหมดนี้ไว้ ความที่บางภาพสลักอยู่ผนัง ด้านในบนระเบียงซึ่งมีความสูงร่วมสาม เมตร ยากต่อการมองเห็นได้ครบถ้วน จึงมีการนำรูปถ่ายของภาพสลักทั้ง 160 ภาพ จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์บุโรพุทโธ (Borobudur Museum) ภายในเขตโบราณ สถานบุโรพุทโธนี่เอง
ภาพสลักนูนต่ำว่าด้วยเรื่องกฎแห่งกรรม และสะท้อนวิถีชีวิตชาวชวาโบราณ
ช่วงปฏิสังขรณ์ในตอนต้นศตวรรษ 20 นั้น มีการค้นพบวัดสองแห่งในภูมิภาคที่ พอศึกษาแล้ววางตัวในแนวเส้นตรงเดียว กับบุโรพุทโธ โดยวัดปาวน (Pawon Temple) อยู่ห่างจากบุโรพุทโธ 1.15 กิโลเมตร วัดเมนดุต (Mendut Temple) อยู่ห่างไป 3 กิโลเมตร จึงเชื่อกันว่าทั้งสามแห่งมีความ เกี่ยวข้องกัน เมื่อถึงพิธีกรรมสำคัญอย่าง วันวิสาขบูชา อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จึงมีการเดินแห่ จากวัดเมนดุตมายังวัดปาวน ไปสิ้นสุดที่ บุโรพุทโธ สถานที่จัดงานหลักที่รัฐบาล อินโดนีเซียให้ความสำคัญเป็นตัวแทน จัดงานวันวิสาขบูชาสามวันสามคืน ณ ที่ แห่งนี้ทุกปี และมีการจัดกิจกรรมเสริม เช่น งานสัมมนาทางพุทธศาสนานานาชาติ โดยพิธีสำคัญอยู่ที่วันวิสาขบูชาที่มีการ จุดเทียน พรมน้ำมนต์ สวดมนต์ นั่งสมาธิ ท่ามกลางความสว่างไสวที่ช่วยขับเด่นให้ พุทธสถานบุโรพุทโธเรืองรองทำเอาผู้ร่วม งานจากทั้งในอินโดนีเซียและชาวต่างชาติ ขนลุกซู่ด้วยความปีติในศรัทธาแห่ง พระพุทธเจ้า
อีกมุมหนึ่งของบุโรพุทโธที่จมอยู่ใต้เถ้าภูเขาไฟ และถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1814 โดย เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ผู้ว่าการอังกฤษแห่งเกาะชวา
*ข้อควรรู้ในบุโรพุทโธ*
๐ พุทธสถานบุโรพุทโธตั้งอยู่ทางภาค กลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่ง ขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากเมือง ยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ทางตะวันตก เฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชม ทุกวัน เวลา 6.00 – 17.00 น. หากตั้งใจไปชม วัดพรัมบานาน โบราณสถานใกล้เคียงกัน อยู่แล้ว สามารถซื้อตั๋วรวม (Borobudur – Prambanan Package) ตั๋วจะมีอายุใช้งาน 2 วัน คือวันที่ซื้อกับวันถัดไป แต่หากตั้งใจ ไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่บุโรพุทโธ ตั๋วรวม ไม่สามารถใช้ได้ เพราะเป็นตั๋วคนละแบบ โดยต้องใช้ตั๋ว Borobudur Sunrise / Sunset สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก ไปที่ www.borobudurpark.com
๐ การเดินชมที่นี่ต้องเดินในแบบพึงกระทำประทักษิณ เวียนขวาโดยให้ สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือ อยู่ทาง ขวาของผู้เวียน รอบบุโรพุทโธขึ้นไป แต่ละชั้นประหนึ่งการหลุดพ้นจากกามธาตุ สู่รูปธาตุ และอรูปธาตุตามลำดับ หรือ หากต้องการเดินชม ถ่ายรูปเพื่อความ เพลิดเพลิน ควรเดินเวียนขวาเข้าไว้
๐ สามารถเยี่ยมชมบุโรพุทโธได้ตลอดปี ช่วงเวลาของวันที่น่าชมคือ ตอนเช้าตรู่ แต่หากต้องการวาระพิเศษ อย่างช่วงวันวิสาขบูชาจะมีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ ดำเนินไปโดยพระภิกษุมหาเถระจากที่ ต่างๆ บรรยากาศงดงามเปี่ยมพลังศรัทธา มาก และผู้คนที่มาร่วมงานมหาศาล จึงต้องวางแผนการเดินทางล่วงหน้า
การปล่อยโคมลอย และจุดเทียนหน้ากลุ่มโบราณสถานบุโรพุทโธ ในวันวิสาขบูชา
……………………………
Cr.Gettyimages