Home > Events > รู้จักกับ ๔ เรือสำคัญในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ๒๕๖๒
5A797CAD-A545-4E28-9B69-0DB0B7384EB0
Events

รู้จักกับ ๔ เรือสำคัญในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ๒๕๖๒

Dec 12, 2019

ความสำคัญของ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค คือขบวนเรือพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยที่หมายความถึงการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำโดยการยกกองทัพไปทางเรือ คือสัญลักษณ์แห่งแสนยานุภาพอันยิ่งใหญ่เกรียงไกร การแสดงถึงบุญญาธิการพระราชอำนาจและพระบารมีอันสูงส่งให้ปรากฏไปพร้อม กัน ในริ้วขบวนเรือจะประกอบไปด้วยการแห่หน้าหลังอัญเชิญธงสามชายผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นทองขวางเป็นลวดลาย ปลายธงมี แฉก เป็น ชายลดหลั่นกัน เครื่องยศหรือเครื่องราชอิสริยยศ ศาสตราวุธ เครื่องราชูปโภค ฯลฯ ใช้สำหรับประกอบการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระสำคัญของบ้านเมืองการอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญเข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง การเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีพิเศษ พระราชพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนาและบ้านเมืองเช่น การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีพระบรมศพตลอดจนใช้สำหรับเสด็จแปรพระราชฐานเพื่อทรงงาน พักผ่อนพระราชอิริยาบถเพื่อไปประทับแรมยังสถานที่ต่าง และใช้สำหรับต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ เป็นต้น

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำท้องเรือทาสีแดง

ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน โดยคนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ

ซึ่งเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535

ซึ่งในงานพระราชพิธีครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ จะประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ(แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา)

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 – 2411) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 – 2468) และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2457 หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน

พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ ภาพจากหนังสือ พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง

ในการพระราชพิธีครั้งนี้เจ้าพนักงานจะอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 ไปประดิษฐานบนพระราชยานถม

 

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394) หัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ บ่งบอกอิทธิพลศาสนาฮินดูตามคัมภีร์ปุราณะจากอินเดียที่มีต่อประเพณีนิยมและศิลปกรรมไทย พระวิษณุเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญที่สุด 3 องค์ อีก 2 องค์ คือพระพรหมและพระศิวะ พระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์รักษา พระองค์ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ในรูปร่างต่างๆ เรียกว่า อวตาร เชื่อกันว่าทรงแบ่งภาคลงมากำเนิดเป็นพระราชาได้ในทุกสถานที่และทุกกาลเวลา

เรือนารายณ์ทรงสุบรรณสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2539 ดำเนินการโดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ

 

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

ปิดท้ายด้วย เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช2411 – 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ

และในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปประทับเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

 

Cr. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช๒๕๖๒, http://www.phralan.in.th/coronation/ , Royal Thai Navy
Tags
H.M. King Maha Vajiralongkorn Phra Vajiraklaochaoyuhua การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กําหนดการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทางชลมารค ท่าน้ำวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ท่าวัดอรุณฯ พระราชพิธีทางชลมารค พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 พิธีทางชลมารค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) และสวนเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สวนนาคราภิรมย์ (ท่าเตียน) สวนสันติชัยปราการ (ถนนพระอาทิตย์) หอประชุมกองทัพเรือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระราชพิธี ใต้สะพานพระราม ๘
Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.