
ทรงทอดพระเนตรของที่ระลึกภายในงาน
โดยงานในครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานในพิธี โดยมี ศ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณเทวินทร์ วงษ์วานิช นายกสมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ คุณสมชัย สัจจพงษ์ ประธานคณะกรรมการการดำเนินงาน เฝ้ารับเสด็จและทูลเกล้าฯ ถวายรายงานการจัดงาน ในการนี้ทรงนำจุดเทียนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และนำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนพระราชทานพระราชดำรัสแก่เหล่าศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในงานนับหมื่นคน ใจความว่า

“การที่เราจัดงานในวันนี้ ก็เป็นการจัดงานอำลาศตวรรษที่แล้วของจุฬาฯ และต้อนรับศตวรรษใหม่ของจุฬาฯ เราได้เห็นได้ทราบ ได้ศึกษามาว่าในศตวรรษแรกของจุฬานั้น เราได้ทำอะไรกันบ้างที่ชวนให้ชื่นชมและมีกำลังใจที่จะเดินก้าวต่อไปในศตวรรษต่อมา จะได้เห็นว่ามีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ กว่า 40 วิทยาลัยมาร่วมงานของเรา และได้ยินจากอธิการบดีว่าได้มีการปรึษาหารือว่าในศตวรรษที่สองของจุฬาฯ นั้น มหาวิทยาลัยเครือข่ายจะพยายามทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ นอกจากประโยชน์ของชาวไทยแล้วยังเป็นประโยชน์ที่ทำร่วมกันทั้งนานาชาตินี้ “ หลังจากรับประทานอาหารกลางวันในวันนี้ได้กลับไปอ่านหนังสือที่พูดถึงในยุคต่อไปไม่ใช่ในเฉพาะประเทศไทย การศึกษาทั่วโลก ทั้งสถาบันอุดมศึกษา การศึกษาระดับสูง จะเป็นเสมือนทูตที่เชื่อมบุคคลเข้าด้วยกัน ทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะปรึกษาหารือกันว่า จะทำอะไรเพื่อกันและกัน มีมิตรภาพ มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น อีกอย่างที่ได้เห็นในวันี้คือนิสิตเก่าได้จัดกิจกรรมเพื่อที่จะหาทุนทรัพย์มาบำรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้เลี้ยงดูนิสิตรุ่นปัจจุบันและในอนาคตให้สามารถที่จะผลิดอกออกผลได้อย่างงดงาม

ทรงร่วมกิจกรรมฉายพระรูปในฐานะศิษย์เก่าจุฬาฯ
“ ก่อนที่จะมีงานนี้ ได้ไปงานจุฬาเอ็กซ์โปร 2017 ในงานให้เห็นว่าเรามีนวตกรรมต่างๆ อย่างมากมาย และมีวิสัยทัศน์ว่าถ้าไม่สามารถที่จะนำนวัตกรรมเหล่านั้นมาแปรให้เป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อบุคคลต่อไป ก็ยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ พอกลับจากงานนั้นจึงได้ชักชวนเพื่อนทั้งที่จุฬาฯ และไม่จุฬาฯ ที่มีหน่วยงาน มีบริษัท ให้มาติดต่อทางจุฬาเพื่อที่จะพูดคุยดูว่ามีสิ่งใดที่เราทำไว้ในมหาวิทยาลัย และทางมหาวิทยลัยยังไม่สามารถมี่จัดสร้างบริษัทแบบแปรสิ่งเล่านั้นเป็นโปรดักส์ หรือเป็นสิ่งที่ยังอำนวยประโยชน์ต่างๆ ได้ครบถ้วน ก็จะอยู่ที่พวกเราเป็นศิษย์เก่าที่มารวมตัวกันชักชวนกันที่จะทำในส่วนนี้ ตั้งแต่วันนั้นได้ชวนมาหลายรายแล้วรู้สึกว่ามีผู้สนใจกันมาดูว่าเราจะมาทำอะไรที่เป็นประโยชน์ หรือว่าจะมีอะไรที่เขาต้องการแล้วนำมาให้มหาวิทยาลัยขบคิด โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นแกน เป็นศูนย์รวมผู้มีความรู้และความสามารถในการที่จะคิดอออกมา มีอุปกรณ์ ต่างๆ ที่จะสามารถทำงานทั้งหลายให้บรรลุจุดประสงค์ได้ “ มีวิธีอีกหลายอย่างที่เราจะช่วยกันคิดช่วยกันทำ ที่จะเกิดประโยชน์ต่อไป การที่เราอยากรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ หรือสนองพระคุณนั้นก็ทำได้ด้วยเรื่องเหล่านี้ คือเราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น หวังว่าชาวจุฬาฯ ทุกคนจะมีกำลังกาย กำลังใจที่เข้มแข็งที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุขความเจริญต่อไป ให้เห็นจุฬาฯ ก้าวหน้า ให้ได้นานที่สุดเท่าที่ชีวิตคนจะอยู่ได้” ทรงรับสั่งถึงทิศทางก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ของชาวจุฬาฯ

การแสดงของเหล่าศิษย์เก่าศิลปิน-ดารา
นอกจากนี้ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ เทศน์มหาชาติ จำหน่ายเหรียญที่ระลึกครองราชย์ 60 ปี เหรียญกษาปณ์ “100 ปีจุฬาฯ” การขับร้องบทเพลงพิเศษ “100 ปีจุฬาฯ” ส่วนกิจกรรมไฮไลท์ คือ การนำเสนอสื่อผสมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณชุด “จุฬาฯ 100 ปี : ศตวรรษแห่งความภูมิใจ” ที่มีเหล่าศิษย์เก่าศิลปิน-ดาราดังมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงสุดงดงาม