Home > Royalty > Thailand > ‘ราชินีฯ’ ทรงทอผ้าไหมยกทอง ในงาน ‘อัตลักษณ์แห่งสยาม’ 

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการส่งเสริมหัตถกรรมไทย โดยเฉพาะการฉลองพระองค์ด้วยผ้าไทย และกระเป๋าทรงที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย ดังที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหราชอาณาจักร เพื่อทรงร่วม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่า เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2566 ล่าสุด ‘ราชินีฯ’ ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อเวลา 13.28 น. วันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พร้อมทั้งทรงร่วมทอผ้าไหมยกทอง ด้วยกี่ทอมือโบราณ ยังความปลื้มปีติแก่คณะผู้จัดงาน และผู้ร่วมงานที่มาร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ เป็นอย่างยิ่ง

‘ราชินีฯ’ อัตลักษณ์แห่งสยาม
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงตัดแถบแพรเปิดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงตัดแถบแพรเปิดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคม 2566 โดย สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิด “ภูมิใจ ภูมิปัญญา สืบสานงานหัตถศิลป์ล้ำค่าคู่พระบารมี” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ที่ทรงเป็นต้นแบบด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมไทยอันเป็นมรดกของแผ่นดิน 

ราชินีฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาทที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ณ งาน อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

ภายในงาน นอกจากมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปหัตถกรรมไทยแล้ว ยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยจากทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย 

ราชินีฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาทที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ณ งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

อีกทั้งมีกิจกรรมทดลองทำงานศิลปหัตถกรรมด้วยตนเอง ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย ซึ่งสอนโดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสืบสาน และสืบทอดภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมไทยแก่ช่างฝีมือและผู้สร้างสรรค์รุ่นใหม่สืบต่อไป

ราชินีฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาทที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ณ งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทอดพระเนตรนิทรรศการ ประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย, นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี  ซึ่งมีการจัดแสดงพระฉายาลักษณ์ ฉลองพระองค์ที่ตัดเย็บจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าพื้นถิ่นต่างๆ แต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อแสดงถึงพระราชกรณียกิจด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทย, นิทรรศการ “มรดกสยามอันล้ำค่า” จัดแสดงและสาธิตงานศิลปหัตถกรรมที่ล้ำค่า หาดูยาก โดยครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยตั้งแต่ปี 2552- 2565 

‘ราชินีฯ’ อัตลักษณ์แห่งสยาม
ราชินีฯ ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาทที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ณ งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14

จากนั้น ทอดพระเนตรกิจกรรมสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นการรักษามรดกภูมิปัญญาที่แสดงถึงทักษะฝีมือเชิงช่างของครูและทายาท, กิจกรรมสาธิตงานช่างศิลปาชีพนานาศิลปาชีพ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, บูธกิจกรรมหัตถศิลป์ทั่วถิ่นไทย, การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม และทอดพระนิทรรศการเชิดชูครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2566 

‘ราชินีฯ’ อัตลักษณ์แห่งสยาม
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมกิจกรรมทอผ้าไหมยกทองด้วยกี่ทอมือโบราณ พันห้าร้อยตะกอ จากหมู่บ้านท่าสว่างตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ที่งานอัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 14 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

หลังจากทอดพระเนตรนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความสนพระทัยยิ่ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ยังมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานกำลังใจแก่ช่างฝีมือในการสืบสานงานหัตถศิลป์ของแผ่นดินให้อยู่สืบไป และก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับทรงร่วมกิจกรรมทอผ้าไหมยกทองด้วยกี่ทอมือโบราณ พันห้าร้อยตะกอ จากหมู่บ้านท่าสว่างตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์วิธีการวิธีการทอผ้าไหมยกทองแบบโบราณ

‘ราชินีฯ’ อัตลักษณ์แห่งสยาม
รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงาน และถวายผอบคร่ำทอง ของที่ระลึกงานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 14 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

โอกาสนี้ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตรการจัดงาน และถวายผอบคร่ำทอง ของที่ระลึกงานอัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 14 แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีด้วย

‘ราชินีฯ’ อัตลักษณ์แห่งสยาม
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระสิริโฉมงดงามในฉลองพระองค์ผ้าไหมไทยสีน้ำเงิน พร้อมด้วย กระเป๋าทรงย่านลิเภา รองพระบาทสีแดงอมม่วง พระกุณฑลและสร้อยพระศอไข่มุก
Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.