Home > Royalty > International > เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3

เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ราชวงศ์อังกฤษ (Coronation Regalia) หรือ The heart of the Crown Jewels ซึ่งตามปกติถูกเก็บและจัดแสดงในลอนดอน ทาวเวอร์ ถูกนำกลับมาอยู่บนหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้งใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีคามิลล่า ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ วันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 ประกอบไปด้วย พระมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St Edward’s Crown), พระมงกุฎอิมพีเรียลสเตต(Imperial State Crown), พระคฑากางเขนแห่งกษัตริย์ (Sovereign’s Sceptre with Cross), ลูกแก้วแห่งกษัตริย์ (Sovereign’s Orb), ช้อนและแอมพูลลาทองคำ (Coronation Spoon & Ampulla) และพระมงกุฎสมเด็จพระราชินีแมรี

เครื่องราชกกุธภัณฑ์
St Edward’s Crown

St Edward’s Crown

พระมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด ทำจากทองคำเนื้อแข็ง มีน้ำหนักราว 2.07 กิโลกรัม ประดับด้วยทับทิม อเมทิสต์ และแซฟไฟร์ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1661 เพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่  2 ทดแทนพระมงกุฎเดิมที่ถูกทำลายหลังการสวรรคตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 โดยพระมงกุฎเดิมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 หรือช่วงยุคกลาง เป็นพระมงกุฎของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ส่วนพระมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดถูกใช้เป็นครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1953 ครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก่อนถูกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ค.ศ. 2023

เครื่องราชกกุธภัณฑ์
Imperial State Crown

Imperial State Crown

พระมงกุฎอิมพีเรียลสเตต ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 6 ค.ศ. 1937 แทนพระมงกุฎสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย พระมงกุฎประกอบไปด้วยเพชรและอัญมณีล้ำค่ามากมายกว่า 2,868 ชิ้น รวมถึงเซนต์เอ็ดเวิร์ด แซฟไฟร์และ เพชรคัลลินัน 2 (Cullinan II diamond) ซึ่งเป็นเพชรคุณภาพอัญมณีดิบ (rough gem-quality) ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ โดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์จะทรงพระมงกุฎอิมพีเรียลสเตต ก่อนเสด็จออกจากมหาเวสต์มินสเตอร์

เครื่องราชกกุธภัณฑ์
Sovereign’s Sceptre with Cross

Sovereign’s Sceptre with Cross

พระคฑากางเขนแห่งกษัตริย์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระเจ้าชาร์ลส์ที่  2 เช่นกัน และถูกประดับด้วยเพชรคัลลินัน 2 เช่นเดียวกับพระมงกุฎอิมพีเรียลสเตต ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1911 มีการบูรณะพระคฑาเพื่อรับน้ำหนักเพชรขนาดใหญ่

เครื่องราชกกุธภัณฑ์
Sovereign’s Orb

Sovereign’s Orb

ลูกแก้วแห่งกษัตริย์ สื่อถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยไม้กางเขนบนลูกแก้วเป็นสัญลักษณ์ของโลกคริสเตียน ลูกแก้วซึ่งทำจากทองคำมีน้ำหนัก 1.32 กก. ประดับด้วยมรกต ทับทิม และแซฟไฟร์ ล้อมรอบด้วยเพชรและไข่มุก ในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ลูกแก้วจะอยู่ในพระหัตถ์ขวาของพระมหากษัตริย์ จากนั้นลูกแก้วจะถูกวางไว้บนแท่นพิธี ก่อนพระมหากษัตริย์จะทรงพระมงกุฎ

เครื่องราชกกุธภัณฑ์
Coronation Spoon & Ampulla

Coronation Spoon & Ampulla

ช้อนทองคำเป็น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่มีเก่าแก่ที่สุด สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 เป็นงานทองของช่างหลวงเพียงชิ้นเดียวที่ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนแอมพูลลา (Ampulla) ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อปี ค.ศ. 1661 ใช้สำหรับบรรจุ ‘น้ำมันศักดิ์สิทธิ์’ (Chrism oil) ทำจากทองคำเป็นรูปนกอินทรี โดยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จะถูกเทผ่านช่องในจะงอยปาก ลงบนช้อนทองคำ เพื่อถวายเจิมแด่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลล่า แอมพูลลาดังกล่าวมีต้นแบบมาจากตำนานในศตวรรษที่ 14 ที่พระแม่มารีได้มอบนกอินทรีทองคำและขวดน้ำมันแก่เซนต์โธมัส เบ็คเก็ต (St. Thomas Becket) เพื่อใช้สำหรับเจิมให้กับกษัตริย์แห่งอังกฤษ

Queen Mary’s Crown

Queen Mary’s Crown

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีคามิลล่า จะทรงพระมงกุฎสมเด็จพระราชินีแมรี่ ทำมาจากทองคำ และเงินแท้ ประกอบไปด้วยเพชรน้ำงามกว่า 2,200 เม็ด รวมถึงเพชรโคอินัวร์ และเพชรคูลลิแนน 3 และคูลลิแนน 4 โดยด้านในของมงกุฎกรุด้วยผ้ากำมะหยี่สีม่วงเข้มสวยงาม และกรุขอบด้วยขนเออร์มิน ตัวเรือนประกอบด้วยส่วนโค้ง จำนวน 4 โค้ง ซึ่งแล่นไปรวมอยู่บนยอด ซึ่งประดับด้วยลูกโลกฝังเพชร เป็นฐานของกางเขน ประดับตรงกลางด้วยเพชรคูลลิแนน 3 ทรงหยดน้ำ โดยส่วนโค้ง และส่วนยอดนี้นั้น สามารถถอดประกอบส่วนโค้ง เพื่อสามารถสวมเป็นมงกุฎแบบไม่มียอดได้

READ: เผยรายละเอียด มงกุฎของพระราชินีแมรี มงกุฏที่ราชินีคามิลล่าทรงสวมใส่ ในพระราชพิธีราชาภิเษก

Courtesy Photo of The Royal Family/ The Royal Collection Trust

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.