หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์แล้ว อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติอย่างตามโบราณราชประเพณีก็คือ การเสด็จฯ เลียบพระนครไปยังวัดสำคัญ อย่าง วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ด้วยการประทับบนพระราชยานพุดตานทองพร้อมด้วยขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ซึ่งแต่ละสถานที่ล้วนเป็นสถานที่ที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์จักรี แต่จะมีความสำคัญอย่างไร ตามมาได้เลยค่ะ
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร
นอกจากวัดบวรนิเวศจะเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชแล้ว ยังเป็นวัดที่และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร. ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ มาทรงเททองหล่อเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508 พระพุทธรูปมีหน้าตัก 9 นิ้ว รมดำ ประดิษฐานบนพระแท่นฐานสิงห์ พระองค์เป็นโลหะสัมฤทธิ์เปียกทองคำ ประดับฉัตรทองคำ 5 ชั้น น้ำหนัก 3 กิโลกรัม
วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 7 โดยใน พ.ศ. 2412พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น ภายในอุโบสถประดิษฐาน ‘พระพุทธอังคีรส’ เป็นพระพุทธรูปทองคำปางสมาธิทรงผ้ากลีบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ และภายในวัดยังเป็นสุสานหลวง และที่ประดิษฐานพระอัฐิของ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
วัดพระเชตุพน
วัดพระเชตุพน หรือวัดโพธ์ เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาขึ้นมา เป็นวัดสุดท้ายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาถวายราชสักการะพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถที่ใต้พระประธานประดิษฐานพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 1