เนิ่นนานหลายทศวรรษ ที่เราได้เรียนรู้วิถีชีวิต เทคนิค วิทยาการทางการเกษตรภายในพื้นที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา จนถึงทุกวันนี้การพัฒนายังคงดำเนินต่อ รายล้อมด้วยความรู้ที่ยั่งยืนและทันสมัย ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่อยากพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เห็นพสกนิกรอยู่ดีมีสุข มีคุภาพชีวิตที่ดีด้วยพืชพรรณ และผลผลิตในไทยที่มีคุณภาพ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในวันพืชมงคล ประจำปี 2560 ที่ผ่านมา โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้จัดนิทรรศการเรื่อง “56 ปี ย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา” เผยภาพประทับใจตั้งแต่มีพระราชดำริก่อตั้งโครงการส่วนพระองค์ฯ ทรงเริ่มทดลอง ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจริงจัง ก่อเกิดประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ในปัจจุบัน
นิทรรศการ 56 ปี ย้อนรำลึกโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ร้อยเรียงระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการส่วนองค์ฯ ยังคงสืบสานแนวพระราชปณิธาน อย่างมั่นคง และยึดหลักการดำเนินงานตามแนว “พระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 6 ชุด ได้แก่
ทศวรรษที่ 1 (2504 – 2523 )
โครงการป่าไม้สาธิตโครงการนาข้าวทดลอง โรงโคนมสวนจิตรลดา บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล และโรงนมผงสวนดุสิต
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมการข้าวเริ่มจัดทำนาข้าวทดลองปลูกข้าวต่างๆ ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งทรงพระเยาว์ ทรงขับรถควายเหล็กและหว่านข้าวไปพร้อมกับพระราชบิดา
จากภาวะนมสดล้นตลาด เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพระราชทานขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “โรงนมผง สวนดุสิต” ถือเป็นโรงนมผงแห่งแรกในประเทศไทย สร้างเครื่องจักรโดยวิศวะกรคนไทย
ระหว่างดำเนินการทดลองปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ในโครงการส่วนพระองค์ ได้มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย โคนมพันธุ์เรดเดน จำนวน 6 ตัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดสร้างโรงโคนมเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนม รวมถึงการปรับปรุงพันธุ์โคนมที่เหมาะสม เป็นโครงการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ยังโรงโคนมสวนจิตรลดา ในปี พ.ศ. 2555 ทรงพระราชทานหญ้าให้แก่พันธุ์วัวเรดเดนด้วยทรงพระเกษมสำราญ
…………………………………………..
ทศวรรษที่ 2 (2504 -2523)
โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ฉางไม้แบบสหกรรณ์ ศูนย์รวมนม โรงบดแกลบ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างฉางข้าวไม้บรรจุ 400 เกวียน ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 314,000 บาท เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมฉางไม้เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2514 จากนั้นอีก 2 ปี ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงิน 695,356.28 บาทเพื่อสร้างโซโลเหล็กแบบนิวซีแลนด์ บรรจุข้าวเปลือกครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2518

สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม เสด็จฯ ทอดพระเนตรโรงอัดแกลบภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงอธิบายกระบวนการผลิตด้วยพระองค์เอง

ในปี พ.ศ. 2523 โรงบดแกลบได้ถูกจัดสร้างขึ้นในสวนจิตรลดา เพื่อดำเนินการตามพระราชดำริในการอัดแกลบให้เป็นแท่ง นำเก็บไว้ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงทดแทน
………………………………………………
ทศวรรษที่ 3 (2524 – 2533)
งานควบคุมคุณภาพ โรงนมอัดเม็ด สวนดุสิต โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ โรงผลิตภัณฑ์อบแห้ง โรงปุ๋ยอินทรีย์ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โรงหล่อเทียนหลวง โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา โรงน้ำดื่มสวนจิตรลดา งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์โรงเพาะเห็ด สวนจิตรลดา

ในปี พ.ศ. 2529 ดครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้สร้างโรงหล่อเทียนหลวงขึ้น โดยใช้ไม้เก่าที่ยังมีอยู่ในพระบรมหาราชวังและจัดซื้อบางส่วนเพิ่มเติม คิดเป็นเงิน 254,116.00 บาท เพื่อผลิจเทียนขี้ผึ้งที่มีคุณภาพ ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ ของสำนักพระราชวัง


ในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการพัฒนาการผลิตนมผงอัดเม็ดเป็นผลสำเร็จ โดยเป็นการต่อยอดจากการผลิตนมผงสวนดุสิต นำมาแปรรูปเป็นนมอัดเม็ดที่ ปัจจุบันได้รับความนิยมจากชาวไทยและชาวต่างชาติมาก ด้วยเพราะมีรสชาติความกลมกล่อมจากนมคุณภาพดี และไม่หวานมากจนเกินไป
…………………………………………….
ทศวรรษที่ 4 (2534 – 2543 )
โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง สวนจิตรลดา โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง โรงกระดาษ งานทดลองผลิตภัณฑ์เชื่อเพลิง งานฝึกอบรม งานคลังผลิตภัณฑ์ หน่วยประกันคุณภาพ

โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งสวนจิตรลดา จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2534 โดยใช้การรับซื้อน้ำผึ้งบริสุทธิ์จากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือ มาบรรจุในหลดพลาสติกและแกลอน ง่ายต่อการนำไปบริโภคในชีวิตประจำวัน

หน่วยงานประกันคุณภาพถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 มีหน้าที่ตรวจสอบวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ สารปรุงแต่ง และสารเคมีที่จัดซื้อจากผู้จำหน่ายมาใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตามที่มารตรฐานกำหนด
……………………………………………..
ทศวรรษที่ 5 (2544 – 2553)
โรงงานยูเอชที สวนจิตรลดา หน่วยคบคุมและพัฒนาระบบคุณภาพไบโอดีเซล งานประชาสัมพันธ์และนำชมหน่วยประกันคุณภาพโรงงาน หน่วยสัตวบาล โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ

ปี พ.ศ. 2546 เกิดภาวะนมวัวล้นตลาดอีกครั้ง โรงนมยูเอชที สวนจิตรลดา จึงกำเนิดขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยรับซื้อนมจากเกษตรกร และทำการผลิตนมกล่องยูเอชทีคุณภาพ ให้แก่เด็กๆ ในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ห่างไกล

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้ขยายการเลี้ยงโคนมไปยังโครงการช่างหัวมันตามพระราชดำริ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และส่งเสริมการบริโภคนมให้กว้างขวางยิ้่งขึ้น
……………………………………..
ทศวรรษที่ 6 (2554 – ปัจจุบัน)
หลังจากขยายการเลี้ยงโคนม ไปยังโครงการช่างหัวมันตามพระราชดำริต่อมาได้มีการจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ โรงงานแปรรูปนม และ อาคารศูนย์ควบคุมและประกันคุณภาพ

ในปี พ.ศ. 2556 ได้ริเริ่มโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ สาธิตการเลี้ยงไก่ไขแบบกรงตับที่โครงการช่างหัวมันตามพระราชดำริ

ในปี พ.ศ. 2558 มีการสนับสนุนงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี ในการก่อสร้างอาคารและเครื่องจักร โรงงานแปรรูปนม โครงการช่งหัวมัน เพื่อสาธิตการผลิตพาสเจอร์ไรส์ และ สเตอรีไลส์ภายใต้ชื่อนม “โครงการช่างหัวมันตามพระราชดำริ”
ส่วนภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ยังมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ พืชพรรณ และสัตว์เลียงทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เป็นศูนย์ศึกษาวิทยาการใหม่ๆ ให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ ที่ทรงทุ่มเทหาวิธีการให้พสกนิกรมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนตลอดมา