หลังเสร็จ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยมี การเสด็จฮันนีมูน อันเปี่ยมสุขราวสัปดาห์หนึ่งผ่านพ้นไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์เสด็จฯ กลับพระนคร เพื่อเตรียมพระองค์สำหรับพระราชพิธีที่สำคัญยิ่งอีกครั้ง คือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยมี ขั้นตอนพระราชพิธีต่อเนื่องหลายวัน ระหว่างวันที่ 4 – 8 พฤษภาคม โดยวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์สำคัญแห่งรัชสมัย ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีของไทย


พระราชพิธีนี้หมายความถึง กษัตริย์พระองค์นั้นทรงเจริญพระชนมพรรษาพร้อมที่จะรับพระราชภาระในการปกครองแผ่นดินได้อย่างเต็มสมบูรณ์แล้ว ซึ่งหากกษัตริย์พระองค์ใดยังไม่ทรงผ่านพระราชพิธีนี้อาจถือได้ว่ายังไม่เป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการ พระนามก็ยังคงเรียกขานตามพระนามเดิม เป็นแต่เพิ่มคำว่า ‘ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน’ ต่อท้ายพระนาม เครื่องยศบางอย่างก็ต้องลด เช่น พระเศวตฉัตรมีเพียง 7 ชั้น มิใช่ 9 ชั้น คำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า ‘พระบรมราชโองการ’ จนกว่าจะได้ทรงรับการบรมราชาภิเษก จึงจะถวายพระเกียรติยศโดยสมบูรณ์
ในตอนหนึ่งของพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ พระราชครูวามเทพมุนีร่ายเวทย์สรรเสริญศิวาลัยไกรลาส จบแล้วกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวาย ‘เครื่องราชกกุธภัณฑ์’ เป็นภาษามคธ แล้วทูลเกล้าฯ ถวาย ‘พระสุพรรณบัฏ’ จารึกพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระปฐมบรมราชโองการพระราชทานอารักขาแก่พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายว่า… “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ให้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”
