Home > Watches & Jewellery > ศิรพัฒน์ เลิศกังวาลไกล เจ้าของ Art Piece 1 ใน 8 เรือนของโลก !

ความรักในนาฬิกาของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไรเจ้าตัวก็ไม่ทราบเหมือนกันทราบเพียงว่าคุณศิรพัฒน์เลิศกังวาลไกลผู้อำนวยการบริษัทกนกเฟอร์นิเจอร์แอนด์เดคคอเรชั่นจำกัดมีความสุขกับการได้อ่านนิตยสารเกี่ยวกับนาฬิกาและการได้เดินดูวินโดว์ร้านนาฬิกายามติดตามคุณพ่อไปดูงานที่เมืองนอกยามค่ำคืนกระทั่งโตขึ้นหลังจากคว้าปริญญามาหมาดๆและเก็บหอมรอมริบมาได้หนึ่งก้อนถึงได้เดินตัวลีบเข้าร้านต๊อกกวงเพื่อซื้อนาฬิกาเรือนแรกให้ตัวเองจากนั้นความรักในนาฬิกาก็ยังเติบโตก่อตัวขึ้นในจิตใจเขาเสมอมาแม้จะมีลูกสาวน่ารักถึง 3 คนแล้วก็ตาม

“ผมไม่ใช่คอลเลกเตอร์ที่ซื้อมาเพื่อเก็บผมมีความสุขกับการได้ใส่ไม่ว่าใส่แล้วจะมีรอยอะไรผมก็อยากให้เป็นประวัติศาสตร์ของเรา”เขาบอกกับเราว่าอย่างนั้นก่อนจะพูดถึงนาฬิกาเรือนแรกที่เขาตกหลุมรักว่า“Patek Philippe 5059R เรือนนี้เป็น Perpetual Calendar ที่ผมชอบที่สุดเพราะเป็นรุ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากที่สุดแม้ว่าตัวนี้จะเป็นตัวใหม่แต่ปัจจุบันกลายเป็นรุ่นที่เขาไม่ได้ผลิตแล้วเพราะผมเป็นคนที่ชอบcomplicated watchมาก“และที่ชอบอีกอย่างคือความเนี้ยบเรื่องมูฟเมนต์และการทำตัวเรือนหน้าปัดเรือนนี้จะทำแบบนาฬิกาเดินเรือต่างจากเรือนอื่นๆของ Patek Philippe ที่มักจะทำให้เกลี้ยงๆสะอาดๆเหมือนกันหมดส่วนฝาหลังเปิดได้แบบนาฬิกาพก”นาฬิกาเรือนที่รักต่อมาของเขาเป็นของ“ Breguet เรือนนี้ผมซื้อที่อเมริกาเมื่อประมาณ4-5ปีที่แล้ว Tourbillon3357 รุ่นนี้โชว์ความคลาสสิกของเขาเลยเพราะเปิดให้เห็นทั้งหมดรวมถึงสะพานของ balance wheel ด้วยอับราฮัมหลุยส์บริเกต์เป็นคนคิดค้นทูร์บิญองขึ้นมาในยุคศตวรรษที่18รุ่นนี้เป็นรุ่นคลาสสิกที่ทุกวันนี้บริเกต์ก็ยังทำอยู่พูดง่ายๆว่าเป็นรุ่นสร้างชื่อเพราะแม้บริเกต์จะมีทูร์บิญองตั้งหลายรุ่นแต่รุ่นที่เป็นรุ่นคลาสสิกสร้างชื่อก็คือรุ่นนี้แหละและทุกวันนี้ก็ยังผลิตอยู่“เรือนนี้ผมชอบเพราะหลังจากเก็บนาฬิกาปฏิทินมาได้สักพักเราก็เริ่มมองว่าเดี๋ยวนี้ใครๆก็ทำได้เราก็ต้องเลือกงานที่มีงานฝีมือเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะและถ้าเป็นงานทูร์บิญองจะเป็นงานฝีมือมนุษย์เสียเป็นส่วนใหญ่ทำให้พักหลังๆผมค่อยๆเบนเข็มจากการเก็บสะสมงานพวกcomplicated watchเพราะรู้สึกว่ามันเกิดจากเครื่องมากกว่าไม่ใช่ฝีมือมนุษย์“เรือนที่ผมเพิ่งได้มาไม่กี่เดือนนี้เองก็คือInfintie Moments The World Enamel ของ Ulysse Nardin ที่ใช้เทคนิคที่เขาเรียกกันว่า Cloisonné (โคลโซเน่) ในการทำหน้าปัดเป็นการเอาเส้นทองดัดขึ้นรูปตามแพตเทิร์นที่เราต้องการแล้วก็ผสมดินให้ได้ตามสีที่ต้องการไปหยอดในบล็อกแล้วนำไปอบจนได้สีที่ออกแบบไว้ซึ่งงานศิลปะแขนงนี้หาคนทำได้น้อยมากมีเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำงานนี้ได้สวย“เผอิญเพื่อนผมได้รับเชิญให้ไปชมโรงงานเล็กๆของUlysseNardinแล้วประทับใจก็เลยอยากทำลิมิเต็ดเอดิชั่นกับUlysseNardinเลยกลายเป็นที่มาของ Infintie Moments The World Enamelตัวนี้ซึ่งมีจำนวนจำกัดแค่8เรือนในโลกเท่านั้นของผมเป็นเรือนที่2/8ซึ่งต้องใช้เวลารอนานประมาณปีเศษๆ“สิ่งเดียวที่ทำให้เรามีความภาคภูมิใจและอยากเก็บไว้นานๆคือต้องมีcraftsmanshipอยู่ในนั้นด้วย”

คุณศิรพัฒน์บอกกับเรา Skeleton Tourbillon ของ Roger Dubuis ไวท์โกลด์เรือนนี้จึงเป็นอีกเรือนที่อยู่ในความทรงจำของเขา“ถ้าลองส่องกล้องดูนาฬิกาเรือนนี้เล่นๆดูนะครับจะเห็นว่าทุกมุมของเครื่องผ่านการขัดแต่งแทบทุกอย่างไม่ว่าจะมองเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่คำว่า‘ศิลปะ’มันอยู่ตรงนี้เพราะเวลาเขาทำนี่เขาจะทำเป็นไมโครมิลลิเมตรเลยจะมีการแกะทุกมุม“ลองเอาแว่นขยายทาบกับตาดูจะเห็นว่ามีการขัดแต่งทุกอย่างแล้วความมีคุณภาพกับความไม่มีคุณภาพวัดกันตรงนี้แหละว่าคุณทำอะไรกับมันบ้างสำหรับนาฬิการาคาไม่กี่หมื่นบาทเขาไม่ทำอะไรกับมันไม่ขัดไม่ทำอะไรกับมันทั้งนั้นกระทั่งแพงมากๆอย่างเรือนละสองล้านก็เพราะว่าทุกมุมผ่านการขัดเกลามาแล้วทุกแง่มุมเพราะเดี๋ยวนี้เขาไม่ได้วัดกันที่complicationแล้วแต่วัดกันที่คุณภาพในการทำตัวเครื่องคิดว่าพอใจแล้วชอบแล้วถึงตัดสินใจซื้อ“ขอพูดถึงอีกเรือนหนึ่งซึ่งเป็นของ Daniel Roth แบรนด์ที่เป็นแรงบันดาลใจตั้งแต่สมัยผมเรียนหนังสือช่างนาฬิกาคนนี้เป็นคนที่ผมเคยเจอตั้งแต่แกมาเปิดช็อปที่ตึกไทม์สแควร์สุขุมวิทต้องยอมรับว่ายุคนั้นนาฬิกาสวิสเพิ่งเริ่มตั้งไข่หลังจากเจอนาฬิกาญี่ปุ่นถล่มเล่นเอาอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสแทบแย่ตอนนั้นประมาณปลายยุค80ต้น90เมื่อก่อน Daniel Roth เคยทำทูร์บิญองให้บริเกต์ก่อนจะออกมาเปิดแบรนด์ของตัวเองในปี1990ดูแล้วจะเห็นว่าทูร์บิญองของเขามีเอกลักษณ์แบบเดียวกับบริเกต์ก็คือกรงของเขาจะเปิดให้เห็นทั้งหมดรวมทั้งสะพานจักรด้วย“แล้วนาฬิกาที่อาจารย์ผมใส่ก็คือนาฬิกาของเขาซึ่งผมเห็นแล้วชอบมากฝังใจมาตั้งแต่ตอนนั้นเขาเรียกทรงนี้ว่า Ellipso Curvexซึ่งเป็นทรงที่คลาสสิกทรงหนึ่งและไม่มีใครทำได้ต้องเป็น Daniel Roth เท่านั้น

นอกจากนี้ยังเป็นทูร์บิญองรุ่นพิเศษของเขาเลยคือสามารถเปิดได้สองหน้าด้านหน้าบอกเวลาด้านหลังบอกวันที่สามารถเดินได้นาน8วันโดยไม่ต้องไขลานพอมีโอกาสเก็บก็เลยอยากเก็บซึ่งผมประมูลเรือนนี้มาจาก Sotheby’s” สำหรับนาฬิกาChronographอีกสองเรือนต่อไปนี้คุณศิรพัฒน์บอกเราว่าเขาชื่นชอบ Chronograph ของ A.Lange&Söhne รุ่น The Lange Datograph ด้วย“เพราะเครื่องสวยมากตัวเรือนเป็นแพลตินัมและเป็น Flyback Chronographและแน่นอนยังมีลักษณะเฉพาะคือ big date วันที่ที่สามารถดูได้อย่างง่ายดายและที่แน่นอนกว่าคือการขัดแต่งเครื่องของเขาที่ถือเป็นที่สุดแล้วและคงความป็นเอกลักษณ์เช่นนี้เรื่อยมาจนเพิ่งมาminorchangeเมื่อสองปีก่อนนี้เอง“Chronographเครื่องสุดท้ายที่คงความเป็นอมตะสร้างชื่อให้กับChronographของ Patek Philippe ก็คือรุ่น 5070G ถ้าดู complicated watch ของแบรนด์อื่นเขาจะปิดหน้าหมดแต่รุ่นนี้เขาเจาะให้เห็นการทำงานข้างในชัดเจนเพื่อให้เห็นเครื่องของ Patek Philippe ซึ่งมีการขัดแต่งที่สวยงามมากเพราะเขาใช้ฐานเครื่องที่ผลิตโดยโรงงานในเครือของบริเกต์เพียงแต่มารื้อและขัดใหม่ทำใหม่เลยกลายเป็นรุ่นที่สร้างชื่อให้กับ Patek Philippe เหมือนกันและหยุดผลิตไปแล้วแต่ก่อนนักเลงนาฬิกาไทยชอบกันมากผมก็เลยหนีไปซื้อที่อเมริกา”เขาให้เหตุผลเบื้องหลังความรักในนาฬิกาของตนว่า“เวลาไปเมืองนอกสิ่งที่อยากดูกลับกลายเป็นตู้นาฬิกาของร้านนาฬิกาต่างๆตอนกลางคืนแต่จะเก็บอะไรเราถามใจตัวเองเป็นหลักมากกว่าและแน่นอนว่าเราก็ต้องใช้เหตุและผลไม่ใช่ love at first sight แล้วคว้าขึ้นมาเหมือนเป็นสินค้าแฟชั่นแต่จะต้องตั้งใจเลือกเสมือนเป็น art piece ที่อยู่ไปได้ตลอดกาลต่างหากฉะนั้นเราต้องรู้ประวัตินาฬิกามีความสุขกับมันทว่าสิ่งที่ผมได้กลับคืนมากลับไม่ใช่ตัวนาฬิกาแต่เป็นเพื่อนดีๆอีกหลายคนที่เรารู้จักผ่านการที่เราชอบนาฬิกาต่างหากครับ”

Never miss an update

Subscribe to our newsletter to get the latest updates.

No Thanks
You’re all set

Thank you for your subscription.